หมอธีรวัฒน์  ตีแผ่ 6 ข้อเท็จจริงในการตรวจหาเชื้อโควิด-19

เมื่อวันที่ 11 มิ.ย 63 นพ.ธีรวัฒน์ เหมาะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha" โดยระบุว่า....

เมื่อวันที่ 11 มิ.ย 63 นพ.ธีรวัฒน์ เหมาะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก  "ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha" โดยระบุว่า....

 

 

หมอธีรวัฒน์  ตีแผ่ 6 ข้อเท็จจริงในการตรวจหาเชื้อโควิด-19

1-แยงจมูกเป็น “การหาเชื้อ”
โดยการจะพบเชื้อ ขึ้นกับว่ามีเชื้อขณะที่ตรวจในตำแหน่งนั้น ในปริมาณที่สามารถตรวจพบได้ด้วยวิธี พีซีอาร์ แบบที่ใช้หรือไม่?
และขี้นกับกระบวนการเก็บ ระยะเวลาของโรค และความรุนแรงของโรคในขณะนั้นๆ

2-การตรวจเลือดเป็น “การหาหลักฐานการติดเชื้อ”
โดยตรวจแอนติบอดี หรือหาภูมิ เป็นการบอกว่า เพิ่งติดเชื้อเมื่อเร็วๆนี้ 4-6 วันมาแล้ว (IgM) หรือติดเชื้อมาตั้งแต่ 12 ถึง 14 วันมาแล้ว(IgG) (อาจนานมาเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน)และขึ้นอยู่กับวิธีที่ใช้ในการตรวจว่ามีมาตรฐานหรือไม่

3- การตรวจเลือดเมื่อได้ผลบวกไม่จำเป็นต้องพบเชื้อในเวลาเดียวกันเสมอไป (ไวรัสยังไม่มาให้ตรวจพบ ตรวจเชื้อไม่เจอ แม้มีเชื้อจริง หรือไวรัสหมดไปแล้ว)

4- การตรวจทั้งสองแบบต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับจุดประสงค์และความรวดเร็ว สะดวกและประหยัด โดยต้องทราบข้อจำกัดของการตรวจแต่ละอย่าง

5- ถ้าไม่พบเชื้อไม่ได้บอกว่าไม่มีเชื้อ ถ้าตรวจเลือดไม่พบ ไม่ได้บอกว่าไม่มีการติดเชื้อ  ทั้งนี้ อาจตรวจเร็วเกินไป เป็นเพราะเทคนิค (เช่นมีปัจจัยรบกวนผล) และเป็นเหตุผลที่ต้องมีการตรวจซ้ำ

6- ไม่มีวิธีใดแบบใดที่วิเศษ รับรองผล 100% ในการตรวจแต่ละครั้งแม้กระทั่งการกักตัว 14 วัน การติดเชื้อที่ไม่มีอากายังสามารถหลุดรอดไปได้


ดังนั้นการกักตัว ร่วมกับการตรวจแต่ละแบบ เป็น “การย้ำ” ให้มีความแม่นยำสูงสุด และลดภาระในการกักตัวไม่ต้องยาวนานมาก ประเมินความเสี่ยง และทราบสถานภาพของการควบคุมโรคในขณะนั้นในพื้นที่ว่าดีพอหรือไม่