- 17 มิ.ย. 2563
เป็นหนึ่งเคสปัญหาทางสังคมที่สร้างความเดือดร้อนไปถึงวงการสงฆ์ จากกรณี พระราชธรรมนิเทศ หรือ พระพยอม กัลยาโณ เจ้าอาวาสวัดสวนแก้ว ออกมาเปิดเผยว่า จำเป็นต้องคืนที่ดิน จำนวน 1 ไร่ 1 งาน 55 ตารางวา ที่ซื้อมาในราคา 10 ล้านบาท จาก นางวันทนา สุขสำเริง ในฐานะผู้ครอบครองปรปักษ์ นานกว่า 30 ปี ภายในสิ้นเดือนมิถุนายน 2563 ให้กับทายาทของ นางทองอยู่ หิรัญประดิษฐ์ เจ้าของที่ดินจริง หลังจากแพ้คดีที่มีการฟ้องร้อง ว่าทางมูลนิธิวัดสวนแก้ว ได้ที่ดินผืนดังกล่าวโดยมิชอบ และมีการขอให้ศาลเพิกถอนสิทธิการครอบครองปรปักษ์ของนางวันทนา จนนำไปสู่คำพิพากษาศาลฎีกาในที่สุด
เป็นหนึ่งเคสปัญหาทางสังคมที่สร้างความเดือดร้อนไปถึงวงการสงฆ์ จากกรณี พระราชธรรมนิเทศ หรือ พระพยอม กัลยาโณ เจ้าอาวาสวัดสวนแก้ว ออกมาเปิดเผยว่า จำเป็นต้องคืนที่ดิน จำนวน 1 ไร่ 1 งาน 55 ตารางวา ที่ซื้อมาในราคา 10 ล้านบาท จาก นางวันทนา สุขสำเริง ในฐานะผู้ครอบครองปรปักษ์ นานกว่า 30 ปี ภายในสิ้นเดือนมิถุนายน 2563 ให้กับทายาทของ นางทองอยู่ หิรัญประดิษฐ์ เจ้าของที่ดินจริง หลังจากแพ้คดีที่มีการฟ้องร้อง ว่าทางมูลนิธิวัดสวนแก้ว ได้ที่ดินผืนดังกล่าวโดยมิชอบ และมีการขอให้ศาลเพิกถอนสิทธิการครอบครองปรปักษ์ของนางวันทนา จนนำไปสู่คำพิพากษาศาลฎีกาในที่สุด
อย่างไรก็ตามประเด็นดังกล่าว ทางด้าน นายปรเมศวร์ อินทรชุมนุม อธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญาธนบุรี ได้ให้ความเห็นว่า กรณีทายาทเจ้าของที่ดินร้องศาลขอเพิกถอนไม่ให้ นางวันทนา ครอบครองที่ดินปรปักษ์ พร้อมเรียกเอาที่ดินคืนจากวัดสวนแก้ว และมีการจะดำเนินการบังคับคดี โดยการให้วัดสวนแก้วย้ายสิ่งปลูกสร้างออกภายในสิ้นเดือนนี้ ว่า กรณีเรื่องที่ดินผืนดังกล่าว มีข้อพิจารณาถ้าเป็นชาวบ้านแล้ว ครอบครองที่ปรปักษ์จะแก้ปัญหายังไ ง คำตอบคือยังไม่จำเป็นต้องคืนที่ดิน จนกว่าจะรับชำระราคาเป็นไปตามประมวลกฎหมายพาณิชย์ 1332 ซึ่งบัญญัติว่า "บุคคลผู้ซื้อทรัพย์สินมาโดยสุจริตในการขายทอดตลาดหรือในท้องตลาด หรือจากพ่อค้าซึ่งขายของชนิดนั้น ไม่จําต้องคืนให้แก่เจ้าของแท้จริง เว้นแต่เจ้าของจะชดใช้ราคาที่ซื้อมา"
"ในความเห็นผม พระพยอมไม่ควรเอาโฉนดไปคืน ไม่ควรออกจากโฉนดให้เขาฟ้องขับไล่ จำไว้เลยนะ ฟ้องขับไล่ แล้วเราฟ้องแย้งไปว่ามูลนิธิซื้อมาโดยสุจริตเปิดเผย หรือถ้าจะเอาคืนต้องชดใช้ในราคา 10 ล้าน พูดง่ายๆ เหมือนนางวันทนา ไปรับของโจรมาขายให้กับเรา เราไม่รู้ เราซื้อโดยสุจริต ถ้าจะเอาที่ดินคืน เขาต้องใช้ราคาเพราะซื้อมาอย่างสุจริต" ดังนั้นในประเด็นที่เป็นปัญหาข้อกฎหมาย จึงมีข้อสรุปว่าถ้าเจ้าของจะเอาที่ดินคืน ก็ต้องใช้ราคาผู้ที่ซื้อโดยสุจริต และประเด็นทั้งหมดจะได้มีการชี้แจงรายละเอียดอีกครั้ง
ทั้งนี้ก่อนหน้านั้น พระพยอม กล่าวว่า ในส่วนของอาตมาเองปลงแล้ว หลังจากศาลตัดสินให้แพ้คดี แต่กับอาจารย์ปรเมศวร์ เขาไม่ยอม น่าจะสงสารทางวัด สงสารศาสนาและต้องการพิสูจน์ความเป็นธรรม หลังจากอาตมาต่อสู้มาหลายปี "อาตมาซื้อที่ดินมาสัญญาซื้อขายก็มี โฉนดก็มี แต่ไม่มีสิทธิ์ในที่ดินเป็นได้แค่ถุงกล้วยแขก อยากเตือนอย่าเชื่อเจ้าหน้าที่ 100 เปอร์เซ็นต์ ฝากสื่อให้ช่วยไปถามฝั่งเจ้าของที่ดิน อาตมาอยากฟังว่าจะว่าอย่างไร หลังจากเคยเข้ามาที่วัดสวนแก้ว แล้วอาตมาเสนอขอซื้อในราคา 3 ล้านบาท แต่ทางทายาทเรียกร้องต้องการ 15 ล้านบาท สุดท้ายศาลเรียกไปไกล่เกลี่ย ทางทายาทบอกต้องราคา 45 ล้าน ก็เลยไม่จบ แต่ไม่เคยเสียดายแต่เสียใจที่ไม่มีความเป็นธรรม ถึงขั้นเคยมีคนมาพูดข่มขู่คนที่นอนเฝ้าที่ดินบอกว่า ไม่อยากใช้ความรุนแรงกับคุณ"
"เมื่อปี 2547 โยมวันทนา ได้นำที่ดินแปลงดังกล่าวที่อยู่หน้าวัดมาเสนอขายให้กับมูลนิธิวัดสวนแก้ว ในราคา 10 ล้าน ทางอาตมาก็ได้ให้เจ้าหน้าที่ลงไปตรวจสอบโฉนด ที่ดินที่สำนักงานที่ดินอำเภอบางใหญ่ ว่า ถูกต้องตามกฎหมายหรือเปล่า มีการเอาไปจำนำ จำนอง หรือว่านำไปเข้าธนาคาร หรือเปล่า ซึ่งมีเจ้าหน้าที่บางคนยังบอกว่า หลวงพ่อไม่น่าจะเป็นพระที่ขี้ระแวงเลย โฉนดมีตัวแดงแบบนี้ ออกจากกรมที่ดินทำไมจะซื้อขายไม่ได้ แหมโบราณบอกว่าไม่รู้ไม่ชี้นะดี แต่ไม่รู้ดันชี้ ทางมูลนิธิจึงได้ตัดสินใจซื้อหลังจากนั้นเราก็เข้าไปพัฒนาที่ดินตรงนั้น มีการถมที่ดินโดยใช้เวลา 2 ปี กับ 7 เดือน ไม่เห็นมีใครมาคัดค้าน"
ขณะเดียวกันมีรายงานข่าวว่า ที่ผ่านมามีความพยายามจะรับฟังความเห็นจากทายาท นางทองอยู่ ต่อกรณีที่เกิดขึ้นแต่ไม่สามารถติดต่อได้ ส่วนนางวันทนา ผู้ครอบครองปรปักษ์ที่ดิน ผืนดังกล่าว หลังพ้นโทษจากเรือนจำในผิดฐานให้ข้อมูลเท็จ เกิดอาการป่วยจนกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง และโดยความตั้งใจของพระพยอมเอง ก็ไม่ได้มุ่งหวังดำเนินการฟ้องร้องเอาผิดกับนางวันทนาในทุกลักษณะแต่อย่างใด ด้วยมีข้อมูลว่ามีกลุ่มบุคคลไปเกลี้ยกล่อมให้นางวันทนาเซ็นยอมรับสภาพการไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินจริง
"คิดโดยสามัญชนทั่วไปนะ ทำอะไรต้องใช้เงินกันต่อก็แล้วแต่ แต่อาตมาขอตั้งข้อสังเกตว่านางวันทนายื่นเรื่องฟ้อง หมายศาลออกมาโฉนดได้เป็นของตัว ชนะมาร้อยเปอร์เซ็นต์แล้ว จู่ๆ ไปเซ็นยอมแพ้ คุณว่าเป็นปกติของมนุษย์ทั่วไปมั้ย ถ้าไม่ใช้วิธีเกลี้ยกล่อม เขาเกลี้ยกล่อมอย่างนี้ ตอนนางวันทนามาใหม่ๆ คืนนั้นอาตมาไปออกรายการกับสรยุทธ์ วันทนาเขาทนไม่ไหว ก็วิ่งมาหาอาตมาตีสี่ตีห้า แล้วเล่าให้ฟังว่าเขาเกลี้ยกล่อมว่าถ้าไม่เซ็นว่าฉันเช่า ยังเซ็นว่าสู้ปรปักษ์อยู่ เขาจะฟ้องพระพยอม ฟ้องวัดด้วย ถ้าหากเซ็นว่าเป็นเช่าเขาจะไม่มายุ่งกับทางวัด ด้วยความเป็นคนใส่บาตรกับอาตมาเป็นประจำ แกก็เซ็นลงไปเลย เพราะแกหวังดีกับพระ แต่ทีนี้พอเซ็นปั๊บ ทางโน้นยอม ทางวัดก็ต้องยอมด้วย"
กระนั้นในประเด็นข้อกฎหมายก็ยังมีแง่มุมความเห็นที่แตกต่างกัน ว่า วัดสวนแก้วจะดำเนินการให้เจ้าของที่ดินเดิม ต้องชดใช้เงินจำนวน 10 ล้านที่วัดสวนแก้วจ่ายเป็นค่าที่ดินได้หรือไม่ ปรากฎว่าทางด้าน ผศ. อุดม งามเมืองสกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ได้โพสต์แสดงความคิดทางวิชาการ ว่า กรณีการซื้อที่ดินของมูลนิธิสวนแก้ว ? มีข้อเท็จจริงปรากฏตามสื่อและมีนักข่าวและนักฎหมายให้ความเห็นในหลายมุมมอง...แต่ที่ผมฟังแล้วอยากนำมาแลกเปลี่ยนกันคือ ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับกฎหมายใน 2 ประเด็น
"นักข่าวบางช่องบอกว่า "ระวังอย่าอนุญาตให้ใครใช้ที่ดินเกิน 10 ปี จะถูกครอบครองปรปักษ์" และ นักกฎหมายบางท่านบอกว่า "มูลนิธิมีสิทธิได้เงิน 10 ล้านบาทค่าซื้อที่ดินคืนจากเจ้าของที่ดินที่แท้จริงได้เพราะซื้อมาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน"
ผิด : เพราะถ้าเป็นการครอบครองที่ดินโดยการได้รับอนุญาตจากเจ้าของที่ดิน จึงมิใช่การครอบครองเพื่อตน ตราบใดที่ไม่แสดงเจตนาจะแย่งการครอบครอง (เปลี่ยนจากการขออยู่อาศัย แล้วบอกเจ้าของว่าต่อไปนี้จะเอาเป็นของตัวเองแล้ว) แบบนี้ต่อให้ครอบครองนานเท่าใดก็ไม่สามารถอ้างการครอบครองปรปักษ์ได้ ปัญหานี้อยู่ที่การนำสืบพฤติการณ์ว่าครอบครองเพื่อจะเอามาเป็นของตน หรือ ได้รับอนุญาตให้อยู่ การทำสัญญาที่เป็นลายลักษณ์อักษรไว้จะทำให้ง่ายต่อการนำสืบว่าเจ้าของที่ดินรับรู้และผู้อยู่อาศัยก็รับรู้และอยู่เนื่องจากได้รับอนุญาต แบบนี้ก็ปลอดภัยสำหรับเจ้าของที่ดินกว่า แต่แม้ไม่มีสัญญาก็นำสืบลักษณะและพฤติการณ์การครอบรองได้ครับ...มิใช่ว่าใครอยูู่ในที่ดินคนอื่นครบ 10 ได้ครอบครองปรปักษ์แบบอัตโนมัติเหมือนที่นักข่าวอ้าง....
ผิด : เพราะเมื่อมูลนิธิฯซื้อมาจากคนที่อ้างการครอบครองปรปักษ์ และภายหลังศาลเพิกถอนการครอบครองปรปักษ์ เท่ากับมูลนิธิซื้อจากผู้ไม่มีกรรมสิทธิ์ (ผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิ์ดีกว่าผู้โอน) ทางเดียวคือเรียกเงินคืนจากคนครองปรปักษ์ (ซึ่งคงใช้เงินหมดแล้ว) ปัญหาว่า จะเรียกเงินจากเจ้าของที่ดินที่แท้จริงได้ไหม เพราะตามข่าวมีนักกฎหมายอ้างมาตรา 1330 เพราะเป็นการซื้อตามคำสั่งศาล ? และมาตรา 1332 เป็นการซื้อจากคนขายที่ในขณะนั้นมีกรรมสิทธิ และมูลนิธิเสียค่าตอบแทนและสุจริต ? อันนี้เลยต้องรีบเอามาแลกเปลี่ยนกันครับ
เพราะตามข่าวเป็นการอ้างกฎหมายที่คลาดเคลื่อนครับ เพราะจะอ้างมาตรา 1330 ต้องเป็นกรณีซื้อทรัพย์สินโดยสุจริตจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลหรือคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์(คดีล้มละลาย) แต่กรณีนี้มูลนิธิซื้อโดยตรงจากคนที่อ้างการครอบครองปรปักษ์จึงไม่ใช่มาตรา 1330 ครับ และอ้างมาตรา 1332 ยิ่่งไม่ถูกต้อง เพราะมูลนิธิไม่ได้ประมูลซื้อจากการขายทอดตลาด หรือไปซื้อที่ดินในท้องตลาด(แหล่งขายของชนิดนั้น ๆ) หรือจากผู้มีอาชีพีในการขายของชนิดนั้นๆ ตัวอย่างเช่น เราไปซื้อกล้องถ่ายรูปมือสองจากร้านขายกล้องที่มีคนขโมยมาขายให้ร้านอีกต่อหนึ่ง ถ้าเราสุจริตและจ่ายเงินค่ากล้องไป 10,000 บาท กรณีนี้เราจะได้รับการคุ้มครองตามมาตรา 1332 คือ เราไม่จำต้องคืนกล้องให้แก่เจ้าของแท้จริง เว้นแต่เจ้าของจะชดใช้ราคาที่เราซื้อมาก่อน
โดย ป.พ.พ.มาตรา 1330 "สิทธิของบุคคลผู้ซื้อทรัพย์สินโดยสุจริตในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล หรือคำสั่งเจ้าพนักงานรักษาทรัพย์ในคดีล้มละลายนั้น ท่านว่ามิเสียไป ถึงแม้ภายหลังจะพิสูจน์ได้ว่าทรัพย์สินนั้นมิใช่ของจำเลย หรือลูกหนี้โดยคำพิพากษา หรือผู้ล้มละลาย"
และ ป.พ.พ.มาตรา 1332 "บุคคลผู้ซื้อทรัพย์สินมาโดยสุจริตในการขายทอดตลาด หรือในท้องตลาด หรือจากพ่อค้าซึ่งขายของชนิดนั้น ไม่จำต้องคืนให้แก่เจ้าของแท้จริง เว้นแต่เจ้าของจะชดใช้ราคาที่ซื้อมา"
ล่าสุด นายปรเมศวร์ อินทรชุมนุม อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีอาญาธนบุรี แถลงเพิ่มเติมที่วัดสวนแก้ว โดยยืนยันว่า ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1332 ทายาทเจ้าของที่ดิน ต้องชดใช้ราคาที่ดินเป็นเงินจำนวน 10 ล้านบาท คืนให้แก่พระพยอมเสียก่อน ด้วยกฎหมายเเพ่งและพาณิชย์มีหลักว่าด้วยการคุ้มครองผู้ที่ซื้อขายโดยสุจริตในท้องตลาดเสมอ และในกรณีนี้พระพยอมได้ซื้อที่ดินดังกล่าวมาโดยสุจริตและถูกต้องตามกฏหมาย หากบุคคลดังกล่าวได้นำเอกสารมายืนยันบังคับให้คนงานออกจากพื้นที่นั้น จึงไม่สามารถทำได้ และตนแนะนำให้วัดสวนแก้วเก็บโฉนดดังกล่าวไว้ก่อน
"ที่ผิดไม่ใช่พระพยอมแต่เป็นเจ้าของที่ดินและผู้ที่อาศัยอยู่กว่า 18 ปี อีกทั้งตัวทายาทซึ่งป็นผู้ที่มีสิทธิ์ที่ดินดังกล่าว แต่กลับปล่อยให้รกร้างมานานกว่า 10 ปี จู่ๆ จะมานำที่ดินคืนจากคนที่ซื้อที่ดินดังกล่าวโดยสุจริตไม่ได้ เนื่องจากกฎหมายแพ่งและพาณิชย์คุ้มครองอยู่ หรือสามารถใช้สิทธิยึดหน่วงได้ ตามมาตรา 4 (2) หรือ ให้ใช้จารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นบังคับใช้ได้ด้วย หากไม่มีสามารถใช้กฎหมายที่ใกล้เคียงได้ ซึ่งในคดีนี้พระพยอมสามารถใช้ประมวลกฏหมายตามมาตรา 1332 ได้"
ทั้งนี้นายปรเมศวร์ ยังกล่าวด้วยมั่นใจว่า ทางวัดสวนแก้ว จะต้องได้เงินค่าที่ดิน 10 ล้านคืนอย่างแน่นอนเพียงแต่เป็น 10 ล้านที่ไม่มีดอกเบี้ย ยกเว้นทางทายาทมีการฟ้องร้องขับไล่ ทางวัดสวนแก้วก็จะสามารถใช้สิทธิ์ในการทวงถามเงินซึ่งตรงนี้จะทำให้เงินค่าที่ดิน 10 ล้านบาท มีดอกเบี้ยขึ้นมาทันที