- 23 มิ.ย. 2563
จากกรณี บ้านบอมเบย์ เบอร์มา ซึ่งเป็นบริษัทที่เข้ามาทำสัมปทานป่าไม้ ตั้งแต่ปี 2432 ซึ่งเป็นบ้านที่มีความสวยงาม มีอายุถึง 131 ปี บริเวณริมแม่น้ำยม ชุมชนเชตวัน อ.เมืองแพร่ ถูกผู้รับเหมาทุบทำลายอาคารพังเสียหายทั้งหมด สร้างความเสียดายให้กับประชาชนอย่างมาก ทาง ผอ.สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 ได้ออกมาชี้แจงว่า สาเหตุที่ทำไปนั้นเป็นเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ซึ่งในเวลาต่อมา นายศรีสุวรรณ จรรยา ก็ได้ออกมาตั้งข้อสังเกตว่า การรื้ออาคารในครั้งนี้อาจเกี่ยวข้องกับขบวนการค้าไม้เก่า โดยใช้เรื่องปรับปรุงอาคารมาบังหน้าหรือไม่ เนื่องจากพบพิรุธหลายจุด
จากกรณี บ้านบอมเบย์ เบอร์มา ซึ่งเป็นบริษัทที่เข้ามาทำสัมปทานป่าไม้ ตั้งแต่ปี 2432 ซึ่งเป็นบ้านที่มีความสวยงาม มีอายุถึง 131 ปี บริเวณริมแม่น้ำยม ชุมชนเชตวัน อ.เมืองแพร่ ถูกผู้รับเหมาทุบทำลายอาคารพังเสียหายทั้งหมด สร้างความเสียดายให้กับประชาชนอย่างมาก ทาง ผอ.สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 ได้ออกมาชี้แจงว่า สาเหตุที่ทำไปนั้นเป็นเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ซึ่งในเวลาต่อมา นายศรีสุวรรณ จรรยา ก็ได้ออกมาตั้งข้อสังเกตว่า การรื้ออาคารในครั้งนี้อาจเกี่ยวข้องกับขบวนการค้าไม้เก่า โดยใช้เรื่องปรับปรุงอาคารมาบังหน้าหรือไม่ เนื่องจากพบพิรุธหลายจุด
ภาพจาก สปริงนิวส์
ภาพจาก อมรินทร์ทีวี
ล่าสุด วันที่ 22 มิถุนายน 2563 อมรินทร์ ทีวี รายงานว่า ที่ประชุมวุฒิสภา นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา ได้ถามเรื่องการรื้อถอนโบราณสถาน บ้านบอมเบย์ เบอร์มา ว่า ขณะนี้เกิดการกระทำผิดกฎหมายชัดแจ้ง เป็นกฎหมายที่มีโทษทางอาญาด้วย เพราะอาคารแห่งนี้ถือเป็นโบราณสถาน ซึ่งอาจมีความเข้าใจผิดว่าโบราณสถานจะต้องขึ้นทะเบียนกับกรมศิลปากรเท่านั้น ตามมาตรา 4 พ.ร.บ.โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504
แต่แท้จริงแล้วนิยามคำว่าโบราณสถานหมายถึง อสังหาริมทรัพย์ ซึ่งโดยอายุหรือโดยลักษณะแห่งการก่อสร้าง หรือโดยหลักฐานเกี่ยวกับประวัติของอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น เป็นประโยชน์ในทางศิลปะ ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี ทั้งให้รวมถึงสถานที่ที่เป็นแหล่งโบราณคดี แหล่งประวัติศาสตร์และอุทยานประวัติศาสตร์ด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการเป็นโบราณสถานตามนิยามของกฎหมายไม่จำเป็นต้องขึ้นทะเบียนแต่อย่างใด
ภาพจาก อมรินทร์ทีวี
ดังนั้น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ทั้งการดำเนินการตามกฎหมายและการซ่อมแซมให้เหมือนเดิมมากที่สุด และใครจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ รวมทั้งจะต้องหาแนวทางในการดำเนินการเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้ขึ้นอีก
ขณะที่ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า เรื่องดังกล่าวตนต้องขอโทษที่เกิดเรื่องขึ้น โดยเรื่องดังกล่าวเป็นความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ที่ไม่เห็นหัวอกของประชาชน โดยขณะนี้ได้มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวน รวมถึงย้ายหัวหน้าสวนรุกขชาติเชตวันแล้ว และหากผลการตรวจสอบพบว่ามีความผิดก็จะดำเนินการอย่างเด็ดขาด ไม่มีการปกป้อง ส่วนความเสียหายที่เกิดขึ้น กรมอุทยานฯ จะขอรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเพื่อบูรณะให้อาคารดังกล่าวกลับมาเหมือนเดิมมากที่สุด ส่วนไม้ที่ถูกคัดแยกออกมา ทางกระทรวงจะเป็นผู้ดูแล หากประชาชนพบว่ามีการนำไม้ดังกล่าวไปขายขอให้รีบแจ้งมา ทางกระทรวงจะดำเนินการให้ถึงที่สุด