- 17 ก.ค. 2563
จากกรณีการเสียชีวิตของน้องชมพู่ ที่หมู่บ้านกกกอก ด้าน พล.ต.อ.อชิรวิทย์ สุพรรณเภสัช อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ออกมาเปิด ต่อกรณีข้อสมมติฐานการเสียชีวิตของน้องชมพู่ ที่เมื่อ 1 เดือนที่แล้วตนได้ออกมาระบุว่า น้องชมพู่อาจจะเดินหลงเข้าไปในป่าและเสียชีวิตว่า จนถึงตอนนี้ที่คดีสืบสวนสอบสวนมา 60 กว่าวันแล้วนั้น ก็มีสื่อจากทุกช่องให้ความสนใจในการทำข่าวกันอย่างมากมาย
จากกรณีการเสียชีวิตของน้องชมพู่ ที่หมู่บ้านกกกอก ด้าน พล.ต.อ.อชิรวิทย์ สุพรรณเภสัช อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ออกมาเปิด ต่อกรณีข้อสมมติฐานการเสียชีวิตของน้องชมพู่ ที่เมื่อ 1 เดือนที่แล้วตนได้ออกมาระบุว่า น้องชมพู่อาจจะเดินหลงเข้าไปในป่าและเสียชีวิตว่า จนถึงตอนนี้ที่คดีสืบสวนสอบสวนมา 60 กว่าวันแล้วนั้น ก็มีสื่อจากทุกช่องให้ความสนใจในการทำข่าวกันอย่างมากมาย
แต่แล้วล่าสุด ด้าน นายสิระ เจนจาคะ ประธานกรรมาธิการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร แถลงว่า จากการเชิญรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและแพทย์ในคดีน้องชมพู่ เข้าชี้แจงต่อการทำคดีในที่ประชุมกรรมาธิการฯ โดยกรรมาธิการฯ พบว่า มีประเด็นที่เป็นการละเมิดสิทธิที่ประชาชนร้องเรียนและขอให้ลงพื้นที่ตรวจสอบ ทั้งการทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจและสื่อมวลชน
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีมติจะลงพื้นที่ไปตรวจสอบวันที่ 21 ก.ค. นี้ จากนั้นจะเชิญตัวแทนสถานีโทรทัศน์ 2 ช่อง ได้แก่ ไทยรัฐทีวี และอัมรินทร์ทีวี เข้าชี้แจงต่อกรรมาธิการฯ ในวันพุธ ที่ 22 ก.ค. ถึงการลงพื้นที่ทำข่าวที่อาจเป็นการละเมิดสิทธิประชาชนในพื้นที่หรือไม่ เพราะมีการสัมภาษณ์ประชาชนและเปิดภาพประชาชน ที่ถูกตรวจสอบ รวมถึงมีการนำเสนอในประเด็นไสยศาสตร์ที่อาจเป็นการสร้างความเสียหายและก่อให้เกิดความแตกแยก รวมถึงจะมีการเชิญตัวแทนจากสมาคมสื่อ เพื่อมาให้ข้อมูลว่าสื่อจะรับผิดชอบต่อกรณีนี้อย่างไร
ส่วนการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจและแพทย์ชี้แจงเมื่อวานนี้ (15 ก.ค.) นายสิระ กล่าวว่า ประเด็นความขัดแย้งเรื่องการชันสูตรได้จบแล้ว เพราะแพทย์ที่ชันสูตรครั้งที่ 2 ได้ยอมรับแล้วว่าร่องรอยที่พบบริเวณอวัยวะแพทย์ไม่เกี่ยวข้องกับการถูกล่วงละเมิดทางเพศ
ดังนั้น ถือว่าผลชันสูตรทั้ง 2 ครั้งสอดคล้องกัน เพียงแต่ปัญหาที่เกิดขึ้นเพราะแพทย์ที่ชันสูตรไม่ได้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์หรือพูดแทนคนตายเลยว่า เจออะไรบ้าง แต่กลับชันสูตรให้ตีความกันเองจนเกิดเป็นความขัดแย้ง ไม่ขยายความให้ชัดเจนแต่แรกว่า ร่องรอยที่พบเกิดจากอะไร
สำหรับการทำหน้าที่สืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจยังมีปัญหาในเรื่องตรวจดีเอ็นเอ ที่มีการตรวจประชาชนในพื้นที่ไปกว่า 160 คน รวมถึงตรวจสื่อมวลชนที่ลงไปทำข่าวทั้งที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ดังนั้นกรรมาธิการจะตรวจสอบด้วยว่ามีการใช้งบประมาณเกินความจำเป็นหรือไม่ เพราะการตรวจดีเอ็นเอแต่ละครั้ง ต้องใช้เงินกว่า 5,000 บาทต่อหัว