วช. แจ้งข่าวดี ผลทดลองวัคซีนโควิด 19 ได้ผลดีเกินคาด เล็งต้นปี 64 เริ่มใช้ได้

สืบเนื่องที่ทั่วโลกกำลังเผชิญไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019 หรือ ที่รู้จักกันดีในชื่อ โควิด - 19 ที่หลายประเทสต้องต่อสู้มานานเกินครึ่งปี ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไปแล้วกว่า 6 แสนราย และมีทีท่าว่า ในประเทศรอบๆ ไทยแลนด์นั้น จะเพิ่มจำนวนผู้ติดเชื้อมากขึ้นทุกนาที ซึ่งเรื่องนี้ต้องชื่นชมประเทศไทยที่ ประชาชนในประเทศให้ความร่วมมืออย่างดี จรนทำให้ควบคุมก่ารแพร่ระบาดได้เป็นอย่างดี

สืบเนื่องที่ทั่วโลกกำลังเผชิญไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019 หรือ ที่รู้จักกันดีในชื่อ โควิด - 19 ที่หลายประเทสต้องต่อสู้มานานเกินครึ่งปี ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไปแล้วกว่า 6 แสนราย และมีทีท่าว่า ในประเทศรอบๆ ไทยแลนด์นั้น จะเพิ่มจำนวนผู้ติดเชื้อมากขึ้นทุกนาที ซึ่งเรื่องนี้ต้องชื่นชมประเทศไทยที่ ประชาชนในประเทศให้ความร่วมมืออย่างดี จรนทำให้ควบคุมก่ารแพร่ระบาดได้เป็นอย่างดี 

เกี่ยวกับเรื่องนี้ ในหลายๆ ประเทศก็กำลังพยายามที่จะผลิตวัคซีน แต่ล่าสุด นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ระบุถึงการติดตามความคืบหน้าของการผลิตวัคซีน COVID-19 ในแต่ละประเทศทั่วโลกว่า ผลการทดสอบระยะที่ 1 และ 2 ใน มนุษย์ ให้ผลที่น่าพอใจ โดยเฉพาะวัคซีนที่พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ร่วมกับบริษัทแอสตราเซเนคา ประเทศอังกฤษ และวัคซีนที่พัฒนาโดยบริษัทแคนไซโน ประเทศจีน ซึ่งพบว่ากระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีในอาสาสมัคร และไม่พบผลข้างเคียงรุนแรง

 

วช. แจ้งข่าวดี ผลทดลองวัคซีนโควิด 19 ได้ผลดีเกินคาด เล็งต้นปี 64 เริ่มใช้ได้

ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล

 

 

สำหรับการทดสอบในช่วงที่ 3 นั้น จะทดสอบกับประชากรจำนวนมากเพื่อดูผลป้องกันการติดเชื้อ ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนจะได้รับการรับรองให้ใช้งานทั่วไป คาดว่าต้นปี 2564 จะเริ่มมีวัคซีนพร้อมใช้จำนวนหนึ่ง แต่ยังคงมีจำนวนจำกัด หลังจากนั้นจึงจะสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อให้มีวัคซีนจำนวนมากเพียงพอ

ทั้งนี้ นพ.สิริฤกษ์ ระบุว่า รูปแบบการใช้นั้น กำลังอยู่ระหว่างการทดสอบวัคซีนแต่ละแบบ ส่วนใหญ่จะเห็นผลว่ามีระดับภูมิคุ้นกันสูงเพียงพอหลังฉีดวัคซีนเข็มที่สอง ดังนั้นจึงคาดว่าจะต้องฉีดวัคซีนคนละ 2 ครั้ง ห่างกันหนึ่งเดือน ส่วนเรื่องแนวโน้มของราคานั้นรัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ตกลงสั่งซื้อวัคซีนที่พัฒนาโดยบริษัทไบออนเทค ประเทศเยอรมนี ร่วมกับบริษัทไฟเซอร์ ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นการจองซื้อวัคซีนล่วงหน้าหากวัคซีนประสบความสำเร็จโดยระบุราคาของวัคซีนไว้เลย ทั้งนี้ ได้สั่งซื้อวัคซีนจำนวน 100 ล้านเข็ม (สำหรับฉีดในคน 50 ล้านคน) ที่ราคา 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 632,560,000,000 บาท) เท่ากับเข็มละ 20 เหรียญสหรัฐ (ราว 632 บาท)

 

 

อย่างไรก็ตาม สำหรับประเทศไทย มีการดำเนินงานด้านวัคซีนอย่างคู่ขนานกันทั้งสามแนวทาง คือ การพัฒนาวัคซีนในประเทศ และการรับถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิควัคซีนที่ผ่านการทดสอบแล้วจากต่างประเทศเพื่อให้ผลิตได้เพียงพอสำหรับคนไทยทั้งประเทศ รวมทั้งการเตรียมจัดหาวัคซีนจากทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

 

วช. แจ้งข่าวดี ผลทดลองวัคซีนโควิด 19 ได้ผลดีเกินคาด เล็งต้นปี 64 เริ่มใช้ได้

ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล