- 31 ก.ค. 2563
หลังจากที่ โฆษก กมธ.ตำรวจ กล่าวถึงกรณีที่ไม่มีการแจ้งข้อหาพบโคเคนในร่างกายของ นายวรยุทธ อยู่วิทยา หรือ บอส โดยตำรวจชี้แจงว่า ที่ไม่แจ้งข้อกล่าวหา เพราะมีทันตแพทย์ ยืนยันว่า โคเคนที่ตรวจพบในร่างกายนายบอส อยู่ในยาที่ผู้ต้องหาใช้รักษาฟันอยู่ ทำให้ไม่สั่งฟ้องเรื่องยาเสพติดนั้น
หลังจากที่ โฆษก กมธ.ตำรวจ กล่าวถึงกรณีที่ไม่มีการแจ้งข้อหาพบโคเคนในร่างกายของ นายวรยุทธ อยู่วิทยา หรือ บอส โดยตำรวจชี้แจงว่า ที่ไม่แจ้งข้อกล่าวหา เพราะมีทันตแพทย์ ยืนยันว่า โคเคนที่ตรวจพบในร่างกายนายบอส อยู่ในยาที่ผู้ต้องหาใช้รักษาฟันอยู่ ทำให้ไม่สั่งฟ้องเรื่องยาเสพติดนั้น
เพจแรก "ใกล้หมอฟัน" ได้ระบุว่า "การรักษาทางทันตกรรมปัจจุบันเราไม่ใช้โคเคนแล้วครับ มีการใช้โคเคนเมื่อร้อยกว่าปีก่อน เพื่อใช้ระงับอาการปวดจากการทำฟันตัวแรกๆ แต่โคเคนได้เสื่อมความนิยมลงเพราะขนาดที่ใช้รักษาใกล้เคียงกับขนาดที่เป็นพิษและฤทธิ์เสพติด ซึ่งไม่มีการใช้แล้วในปัจจุบันสำหรับใช้เป็นยาชาเฉพาะที่ในงานทันตกรรม การรักษาทางทันตกรรมโดยเฉพาะการใช้ยาชาเฉพาะที่ ในปัจจุบัน จะใช้สารที่พัฒนาจากโคเคน ที่มีความปลอดภัย หรือมีพิษน้อยกว่า เช่น ลิโดเคน เมพิวาเคน อะทิเคน ซึ่งยาชาที่เราฉีด จะไม่ฉีดเข้าเส้นเลือด แต่จะฉีดเพื่อให้ยาซึมซับระงับอาการเจ็บปวดบริเวณฟัน หรือเส้นประสาทตรงบริเวณนั้น"
ด้านเพจคือ "ห้องทำฟันหมายเลข 10" ก็โพสต์ว่า "เรื่องนี้จะไม่แปลกถ้าเป็นเมื่อ ศตวรรษที่ 18 !!! หมอฟันคนนั้นต้องนั่งไทม์แมชชีนมาแน่นอน หนึ่งในยาที่ใช้มากที่สุดในทางทันตกรรม คือ ยาชา โดยยาชาตัวแรกที่นำมาใช้ทางการแพทย์คือโคเคน (cocaine) ในปี ค.ศ. 1859 (150 ปีมาแล้ว!!!) แต่ด้วยข้อเสียของโคเคนที่มีระยะเวลาการออกฤทธิ์สั้น และมีฤทธิ์เสพติด จึงมีการพัฒนายาที่มีสูตรโครงสร้างคล้ายโคเคน ชื่อ Procaine ขึ้นในปี ค.ศ.1904 แต่ในปีค.ศ. 1948 มีการนำยาชาที่มีสูตรโครงสร้างต่างไปจาก cocaine และ procaine ได้แก่ lidocaine และมียาชาที่พัฒนาต่อเนื่องตามมาได้แก่ mepivacaine (ค.ศ. 1965) prilocaine (ค.ศ. 1983; ยาชนิดนี้ไม่มีใช้ในประเทศไทย) และ articaine (ค.ศ. 2000) โดยยาชาทั้งสามกลุ่มนี้มีสูตรโครงสร้างคนละแบบกับโคเคน รวมทั้งกระบวนการขับยาออกจากร่างกายก็ได้สารเคมีคนละกลุ่มกับโคเคน
และยังได้โพสต์เพิ่มเติมอีกว่า "คนก็ยังอาจสงสัยยาชามันชื่อลงท้าย "เคน" เหมือนกัน (แต่จริงๆ มันก็คนละโครงสร้างหละนะ) ถ้าไปฉีดยาชา "ลิโดเคน" ทำฟันมาจริงแล้วไปตรวจ "โคเคน" มันจะขึ้นผลหลอกว่ามีโคเคนหรือปล่าว (false positive) จากการวิจัยก็บอกว่า ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ครับ แปลว่าตรวจเจอโคเคนก็คือโคเคน อย่ามาโบ้ยยาชาที่รักของหมอฟันนะ เอาเอกสารวิชาการมาให้ดูกัน ว่ากันด้วยหลักการและเหตุผลนะครับ"