- 13 ส.ค. 2563
เส้นผมของคนเรา นั้นประกอบไปด้วย เส้นผม เซลล์สร้างเนื้อผม เซลล์สร้างเม็ดสี ซึ่งจะคอยทำหน้าที่ป้อนเม็ดสีเข้าไปในเนื้อผม ทำให้เส้นผมไม่เกิดสีขาว เนื่องจากสาเหตุที่ผมมีสีขาวหรือที่เรียกกันว่า ผมหงอก นั้น
เส้นผมของคนเรา นั้นประกอบไปด้วย เส้นผม เซลล์สร้างเนื้อผม เซลล์สร้างเม็ดสี ซึ่งจะคอยทำหน้าที่ป้อนเม็ดสีเข้าไปในเนื้อผม ทำให้เส้นผมไม่เกิดสีขาว เนื่องจากสาเหตุที่ผมมีสีขาวหรือที่เรียกกันว่า ผมหงอก นั้นในทางการแพทย์ให้คำอธิบายกับเรื่องนี้ว่า เกิดจากเม็ดสีเมลานินของเส้นผม ทำงานลดลง หรือหยุดทำงาน จึงทำให้ผมเป็นสีขาว หยาบ และดูไม่เป็นประกาย สาเหตุเกิดขึ้นจากกรรมพันธุ์ รวมถึงความเครียด การดื่มเหล้า และการสูบบุหรี่นั้น ทำให้ผมหงอกไวขึ้นด้วย
นอกจากนี้สาเหตุของผมหงอก ก็สามารถเกิดจากโรคบางโรคได้ เช่น ผมร่วงเป็นหย่อม หรือโรคด่างขาว โรคที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันต่อร่างกาย โรคเรื้อรังที่ส่งผลทำให้เกิดความเครียดต่อร่างกาย ส่วนผมหงอกที่กลับมาดำได้นั้น เป็นผมหงอกที่เกิดจากโรคภายในร่างกาย
ถ้ารักษาโรคหายแล้ว ผมก็จะกลับมาดำได้ โรคที่ทำให้เกิดผมหงอก ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคโลหิตจาง โรคต่อมไทรอยด์ โรคด่างขาว รวมทั้งการบาดเจ็บและโรคของระบบประสาท ผมร่วงเป็นหย่อม การล้มป่วยบางอย่าง เช่น โรคมาลาเรีย และโรคไข้หวัดใหญ่ ส่วนอายุที่เริ่มมีผมหงอกขึ้นอยู่กับกรรมพันธุ์ ในชาวต่างชาติที่มีผิวขาว
ผมจะเริ่มหงอกครั้งแรกตั้งแต่อายุ 24-44 ปี ในคนผิวสีจะเริ่มหงอกเมื่ออายุ 34-54 ปี ส่วนชาวเอเชีย จะเริ่มมีผมหงอกตั้งแต่อายุ 30-40 ปี ผมที่เริ่มหงอกตามวัยนี้ไม่สามารถกลับมาดำได้อีก ส่วนผมที่หงอกก่อนวัย จะเริ่มหงอกก่อนอายุ 20 ปีในคนผิวดำ ส่วนคนเอเชียผมจะเริ่มหงอกก่อนอายุ 30 ปี ซึ่งเป็นเรื่องตามธรรมชาติ
ส่วนประเด็นที่ว่า ยิ่งถอนผมหงอก ผมหงอกก็จะยิ่งขึ้นนั้น อธิบายได้ว่า “ไม่เป็นความจริง” เพราะการขาดสารอาหารบางตัว เช่น วิตามินบี 12 อาจทำให้มีผมหงอกได้ ในบางกรณีความเครียดอาจทำให้ผมหงอกได้เช่นกัน
ซึ่งบางคนเชื่อว่า ความเครียดทำให้ร่างกายขาดวิตามินบี ถ้ากินวิตามินบีขนาดสูง อาจทำให้ผมหงอกกลับดำได้ การกินยาบางตัว เช่น คลอโรควิน อาจทำให้คนที่มีผมสีอ่อนหรือผมน้ำตาลแดงกลายเป็นสีขาวได้ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ผมหงอก ไม่สามารถรักษาได้ ทำได้เพียงเล็มออกหรือย้อมสีผมเพื่อปกปิดผมหงอกเท่านั้น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก อาจารย์ นายแพทย์ พูลเกียรติ สุชนวณิช หน่วยโรคผิวหนัง ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล