เตือนภัยฉบับ 7 พายุโซนร้อนฮีโกส มีแนวโน้มกลายเป็นพายุดีเปรสชัน

เตือนภัยฉบับ 7 พายุโซนร้อนฮีโกส มีแนวโน้มกลายเป็นพายุดีเปรสชัน

เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยาเผยแพร่ ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุระดับ 3 (โซนร้อน) “ฮีโกส” ฉบับที่ 7 ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2563

เมื่อเวลา 16.00 น. วันนี้ (19 ส.ค. 63) พายุระดับ 3 (โซนร้อน) มีศูนย์กลางอยู่บริเวณเมืองจ้าวชิง มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน หรือที่ ละติจูด 23.5 องศาเหนือ ลองจิจูด 111.5 องศาตะวันออก กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือเล็กน้อย ด้วยความเร็วประมาณ 20 กม./ชม. มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 75 กม./ชม. คาดว่า ในช่วงวันที่ 19–20 สิงหาคม 2563 จะอ่อนกำลังลงเป็นพายุระดับ 2 (ดีเปรสชัน) และสลายตัวเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศจีนตอนใต้ โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย

สำหรับในช่วงวันที่ 20-23 สิงหาคม 2563 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือสายด่วนพยากรณ์อากาศ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ประกาศ ณ วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เวลา 17.00 น. กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไป ในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เวลา 23.00 น.

(ลงชื่อ) นาวาอากาศเอก สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา

 

เตือนภัยฉบับ 7 พายุโซนร้อนฮีโกส มีแนวโน้มกลายเป็นพายุดีเปรสชัน

 

สำหรับพยากรณ์อากาศประจำวัน เวลา 17.00 น. พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันตอนบน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก มีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณดังกล่าว ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 20-23 สิงหาคม 2563 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 17:00 วันนี้ ถึง 17:00 วันพรุ่งนี้.

ภาคเหนือเมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา น่าน อุตรดิตถ์
พิษณุโลก ตาก และเพชรบูรณ์
อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 26-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดเลย อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม
ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ มุกดาหาร บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคกลางเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี พระนครศรีอยุธยา
สระบุรี ลพบุรี ชัยนาท นครสวรรค์ และอุทัยธานี
อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)เมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)เมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

กรุงเทพมหานครและปริมณฑลเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 34-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

 

ขอบคุณ กรมอุตุนิยมวิทยา