เปิดรับ 1 ล้านตำแหน่ง ช่วยคนตกงาน

เปิดรับ 1 ล้านตำแหน่ง ช่วยคนตกงาน

วานนี้ (30/08/2563) นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน  กล่าวในตอนหนึ่ง ช่วงการบรรยายพิเศษ ในงานสัมนา การส่งเสริมความร่วมมือในการดำเนินการตามภารกิจขององค์กรระหว่าง คณะกรรมาธิการการแรงานกับกระทรวงแรงงาน เพื่อการเพิ่มผลิตภาพ และสร้างภาวะสันติสุขในสังคมอุตสาหกรรมของประเทศในทุกมิติในจังหวัดพื้นที่เสี่ยงและเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่ จ.นครนายก

นายสุชาติ  กล่าวว่า ผลกระทบจากโควิด-19 ต่อแรงงานในเวลานี้ คือ แรงงานมีความเสี่ยงต่อการถูกเลิกจ้างเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง  โดยตัวเลขผู้ประกันตนขอรับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานในช่วงวิกฤตที่ผ่านมา  จากฐานข้อมูลที่ชัดเจนมีตัวเลข จำนวน 933,367 คน  คิดเป็นเงิน 14,982.717 ล้านบาท ( ข้อมูล ณ 25 ส.ค.63)  และเมื่อวันที่ 27 สิงหาคมที่ผ่านมา ได้มอบนโยบายให้ผู้บริหาร  และหัวหน้าส่วนราชการกระทรวงแรงงานทุกหน่วย เร่งขับเคลื่อนภารกิจช่วยเหลือและเยียวยาแรงงานผู้ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะประเด็นเร่งด่วนที่ต้องทำให้สำเร็จภายในปีนี้ คือการจัดงาน Thailand Job Expo 2020 ที่จะจัดขึ้นในเดือนกันยายน 2563 มีตำแหน่งงาน 1 ล้านตำแหน่ง จากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน รัฐวิสาหกิจ ของทุกกระทรวงมารวมกันเพื่อ จับคู่กัน ระหว่างงานกับคน โดยมี Platform ไทยมีงานทำ.com เป็นแหล่งรวบรวมตำแหน่งงานว่างงานเหล่านี้

เปิดรับ 1 ล้านตำแหน่ง ช่วยคนตกงาน

 

นอกจากนี้ ยังมีมาตรการสนับสนุนการจ้างงานผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ และสนับสนุนการจ้างงานเพื่อคนว่างงานในช่วง โควิด – 19 โดยนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการจะต้องอยู่ในระบบประกันสังคม และนายจ้างต้องไม่เลิกจ้างลูกจ้างเดิม เกินกว่าร้อยละ 15 ภายใน 1 ปีมาตรการชดเชยรายได้แก่ลูกจ้างของสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ซึ่งยังไม่ได้รับการช่วยเหลือ เพื่อให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 สัญชาติไทย (ส่งเงินสมทบไม่ครบ 6 เดือน ภายใน 15 เดือน) ได้รับการช่วยเหลือ โดยมี เป้าหมาย 59,776 คน  //มาตรการลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคมให้นายจ้างและผู้ประกันตน จากเดิมฝ่ายละ ร้อยละ 5 เหลือร้อยละ 2 ของค่าจ้าง เป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่กันยายน – พฤศจิกายน 63 มาตรการนี้จะช่วยรักษาระดับการจ้างงานและเพิ่มกำลังซื้อของตลาดในประเทศรวมเป็นเงินที่ลดให้ทั้งผู้ประกันตนและนายจ้าง เป็นเงินประมาณ 23,000 ล้านบาท จาก 12.92 ล้านคน  //ช่วยเหลือผู้ประกอบกิจการที่กู้ยืมเงินกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยปลอดดอกเบี้ย (0%) ตลอดระยะเวลา 12 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 – 31 สิงหาคม 2564 ผู้ประกอบกิจการสามารถกู้ยืมเงินเพื่อใช้ในการพัฒนาฝีมือแรงงาน วงเงินกู้ยืมแห่งละไม่เกิน 1 ล้านบาท โดยในปี 2564 มีวงเงินให้กู้กว่า 100 ล้านบาท รวมทั้งยังได้ บูรณาการร่วมกันเฝ้าระวังสถานประกอบกิจการที่คาดว่าจะเลิกจ้าง เพื่อให้จ่ายสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานกฎหมายประกันสังคม ถูกต้อง ครบถ้วน และรวดเร็ว