จเรตำรวจแห่งชาติ รับเรื่องจริง ทุจริตเบิกงบฯเบี้ยเลี้ยงโควิด ตร.ชั้นผู้น้อย หลักร้อยล้านบาท  เร่งสอบหลายกองบัญชาการ

สืบเนื่องจากกรณีมีตำรวจหลายนาย แสดงความคิดเห็นผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ลักษณะพบความผิดปกติในการเบิกจ่ายเบี้ยเลี้ยงในการปฏิบัติหน้าที่ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 จนกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างหนักในโซเชียลมีเดีย

สืบเนื่องจากกรณีมีตำรวจหลายนาย แสดงความคิดเห็นผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ลักษณะพบความผิดปกติในการเบิกจ่ายเบี้ยเลี้ยงในการปฏิบัติหน้าที่ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 จนกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างหนักในโซเชียลมีเดีย

ล่าสุด พล.ต.อ.วิสนุ ปราสาททองโอสถ กรณีงบประมาณตำรวจจเรตำรวจแห่งชาติ ยอมรับ มีการทุจริตเงินตำรวจชั้นผู้น้อยจากงบโควิด-19 จริง พบบางกองบัญชาการเบิกงบหลัก 100 ล้านบาทอย่างไม่สมเหตุสมผล เชื่อไม่ใช่กระทำความผิดเป็นกระบวนการ ซึ่งภายหลังจากที่วานนี้มีการแถลงข่าว เรื่องที่มีตำรวจชั้นผู้น้อย โพสต์ข้อความลงในโซเชียลมีเดีย ระบายความรู้สึก หลังได้รับเงินเบี้ยเลี้ยง ไม่ตรงกับการทำงานจริง และยังมีการขอให้คืนเงินไปยังต้นสังกัดด้วย

 


โดย พล.ต.อ.วิสนุ ปราสาททองโอสถ จเรตำรวจแห่งชาติ ยอมรับว่า พบมีการทุจริตเงินเบี้ยเลี้ยงตำรวจชั้นผู้น้อยจากการปฎิบัติหน้าที่ช่วงสถานการณ์โควิด - 19 จริง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการให้ตำรวจแต่ละภาค เร่งตรวจสอบและรายงานข้อเท็จจริงขึ้นมา ขณะเดียสกันก็ได้สั่งตั้งชุดจเรตำรวจ เพื่อตรวจสอบเรื่องนี้คู่ขนานไปด้วย โดยกำหนดให้ได้ข้อสรุปภายใน 10 วัน นับตั้งแต่ที่ออกคำสั่งไปเมื่อวันที่ 6 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยเชื่อว่าเรื่องนี้ไม่ใช่การกระทำผิดแบบเป็นขบวนการ แต่เป็นความผิดรายบุคคล ส่วนจะมีใครเข้าข่ายกระทำผิด เป็นตำรวจชั้นใดบ้าง ยังตอบไม่ได้เพราะอยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูล แต่หากพบว่าใครเข้าข่ายการกระทำความผิด ก็จะทำเรื่องเสนอไปยัง คณะกรรมการป้องกันการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ต่อไป

 

จเรตำรวจแห่งชาติ รับเรื่องจริง ทุจริตเบิกงบฯเบี้ยเลี้ยงโควิด ตร.ชั้นผู้น้อย หลักร้อยล้านบาท  เร่งสอบหลายกองบัญชาการ

ส่วนกรณีที่มีตำรวจชั้นผู้น้อยให้ข้อมูลว่า เริ่มมีการสร้างพยานหลักฐานเท็จ โดยการขอให้ตำรวจชั้นผู้น้อยถอนเงินสดจากธนาคารมาคืนให้กับต้นสังกัด เช่นที่ สภ.เมืองลำปาง และมีการทำเอกสารระบุว่า เป็นการชดใช้เงินที่มีการกู้ยืมจากทางโรงพัก เรื่องนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบข้อเท็จจริง ซึ่งมองว่าการสร้างพยานหลักฐานด้วยวิธีดังกล่าว สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ไม่ยาก  ส่วนที่มีการแชร์เอกสารหลักฐานทางการเงิน หรือการโพสต์ร้องเรียนทางโซเชียลมีเดีย มีฝ่ายตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลดังกล่าว มาให้จเรตำรวจพิจารณา พร้อมกันนี้ยังพร้อมเปิดรับเรื่องราวร้องทุกข์ทางช่องทางต่างๆ ด้วย 


สำหรับงบประมาณเบี้ยเลี้ยงดังกล่าว พบว่ามีการตั้งงบเบิกจ่ายจำนวน 2,521 ล้านบาท แบ่งเป็นเบี้ยเลี้ยงข้าราชการตำรวจที่ปฎิบัติหน้าที่ในการตั้งด่านป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 คิดเป็นชั่วโมง ชั่วโมงละ 60-70 บาทต่อวัน วันละไม่เกิน 7 ชั่วโมง  , งบประมาณค่าเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ และงบเบิกจ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแต่ละกองบัญชาการมีการขอเบิกงบไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับเหตุผลความจำเป็น จำนวนการตั้งด่าน และตำรวจที่ปฎิบัติหน้าที่จริง ซึ่งงบประมาณส่วนนี้สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ส่งให้กองบัญชาการและกองบังคับการแต่ละภาคไปทั้งหมดแล้ว ส่วนแต่ละหน่วยจะนำไปเฉลี่ยจ่ายอย่างไรนั้น จะต้องมีเอกสารชี้แจงที่ชัดเจน โดยยืนยันว่าสำนักงานตำรวจแห่งชาติไม่มีนโยบายในการทอนเงินคืน 


ทั้งนี้ พบว่ากองบัญชาการที่มีสถานที่ท่องเที่ยว อยู่ในพื้นที่ความรับผิดชอบ มีการขอเบิกงบประมาณสูงถึงหลัก 200 ล้านบาท ขณะที่บางกองบัญชาการ มีการขอเบิกงบประมาณ หลัก 100 ล้านบาทอย่างไม่สมเหตุสมผล ซึ่งรายละเอียดเรื่องนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริง