- 11 ต.ค. 2563
เจ้าของบ้านหลงดีใจ มีต้นตำลึงริมรั้วโตเองจากธรรมชาติ พอกินเข้าไปกลับท้องเสียทั้งวันทั้งคืน
เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจ เมื่อสมาชิกพันทิปรายหนึ่งตั้งกระทู้เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับ “ต้นตำลึงริมรั้วหลังบ้าน” โดยมีเนื้อหาระบุว่า…
ตอนที่ตำลึงเพิ่งจะงอก ริมรั้วหลังบ้าน จขกทก็คิดว่าจะเก็บไปไว้กิน ไม่ถอนทิ้ง ปล่อยให้เขาเติบโตเองตามธรรมชาติ ไม่ได้ดูแลอะไรเป็นพิเศษ ตำลึงงอกออกมาจากซอก รอยแตกของพื้นปูน จขกท ไม่ได้ปลูกนะคะ จนวันนี้ โคนตำลึงใหญ่ขึ้นกลายเป็นเถาที่แข็งแรง”
จขกท รู้ว่าเขาเป็นเถาตำลึง ผักพื้นบ้านที่เรารู้จักมาตั้งแต่เด็กๆ มีประโยชน์ นำยอดอ่อนและใบมาทำเป็นอาหารได้หลายอย่างพอตำลึงมียอดอ่อนๆ เยอะ ก็เก็บมาทำแกงเลียงกินบ้าง ต้มจืดหรือนำมาลวกจิ้มกับน้ำพริก ก็อร่อยดีแท้ ประหยัดด้วย ไม่ได้ไปหาซื้อ ให้เปลืองเงิน
ประเด็นของเรื่องก็คือ จขกท ท้องเสียค่ะ ถ้ากินแกงเลียงตำลึงมื้อเช้า อีกประมาณ 3 ชม.หลังจากนั้นจะปวดท้องต้องเข้าห้องน้ำของในท้องมีเท่าไรขับถ่ายออกมาหมดเลยค่ะ จะถ่ายอีก 2-3 ครั้ง ครั้งที่ 2และ3 ออกมาเป็นน้ำเลยค่ะ จนเกิดอาการเพลีย ช่วงแรกก็ไม่รู้ว่าเกิดจากสาเหตุอะไร เพราะใน 1 มื้อก็กินกับข้าวอย่างอื่นร่วมด้วย หลังจากนั้นก็พยายามสังเกต ปกติจะขับถ่ายเฉลี่ยวันละครั้งเท่านั้น
ถึงวันนี้มั่นใจว่า อาการท้องเสียเกิดจากตำลึงแน่นอน เพราะกินข้าวใข่เจียว กับต้มจืดตำลึง แค่ 2 อย่าง ใส่ใบอ่อนตำลึงเยอะด้วยเพราะเก็บมาจากต้นนี้ จขกท สงสัยมากว่าทำไมตำลึงทำให้ท้องเสีย จึงหาข้อมูลจากในเน็ต ก็เจอข้อความที่บอกว่า
“ใบตำลึงเพศผู้ ไม่นิยมนำมารับประทาน และสำหรับใครที่ธาตุไม่ดี หากเผลอรับกิน หรือกินมากเกินไป ทั้ง ใบหรือยอดตำลึงเพศผู้เข้าไป จะทำให้ท้องเสียได้ คือ ถ่ายไม่หยุด” หลังจากนั้นก็หาข้อมูลว่าตำลึงตัวผู้ มีลักษณะเป็นอย่างไร ก็ได้ข้อมูลจากในเน็ต ว่าลักษณะใบของตำลึงตัวผู้จะเป็นแบบนี้
จขกท ก็ไปดูที่เถาตำลึง ก็พบว่า ใบตำลึงมีลักษณะ ทั้งสองแบบ คือใบตัวผู้และตัวเมีย ในเถาเดียวกัน แต่ในวิกิพีเดีย บอกว่าต้นตำลึงจะแยกเพศ ใน 1 ต้นจะมีแค่เพศเดียว คือแยกเพศอยู่คนละต้น จขกทก็งง!!! ค่ะ ว่าทำไมตำลึงเถานี้ ถึงมีทั้งสองแบบ นี่ค่ะหลักฐานว่าเป็นต้นเพศเมียแน่นอน เขามีลูกด้วยค่ะ
อีกอย่างที่สังเกตเห็นคือ นกกระจอก เขาจะบินมาที่เถาตำลึงนี้ แล้วจิกยอดตำลึงกิน บางครั้งเจอนกมารุมพร้อมกันหลายตัว ก็ได้ความรู้อีกอย่างว่านกก็ชอบกินเหมือนกัน ถึงแม้ว่า ตำลึงตัวผู้จะทำให้ท้องเสียจริงๆ แต่พอหาข้อมูลไปเรื่อยๆ ก็พบว่า ตำลึงมีสรรพคุณหลายอย่าง เป็นสมุนไพรด้วย มีแคลเซียมสูงพอๆ กับแคลเซียมในนมวัว ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน บำรุง สายตาได้ดี เพราะมีวิตามินเอสูง
พอดีมีตำลึงอีกเถาอยู่ในกระถางนี้ รอให้โตกว่านี้ จะดูว่าจะเป็นเถาตัวผู้หรือตัวเมีย รอให้เขามีดอกก่อนค่ะ ถ้าเป็นต้นตัวเมีย จะเก็บยอดอ่อนมาทำต้มจืดเต้าหู้หมูสับกินดูอีก แล้วมาดูว่าจะท้องเสียเหมือนเถาเดิมรึเปล่านะ