เตือนภัย แมลงก้นกระดก พิษร้ายที่มาพร้อมหน้าฝน

เตือนภัย แมลงก้นกระดก พิษร้ายที่มาพร้อมหน้าฝน

"ด้วงก้นกระดก" มีชื่อเรียกอื่นๆว่า แมลงก้นกระดก ด้วงปีกสั้น ด้วงก้นงอน ด้วงกรด หรือแมลงเฟรชชี ในท้องของแมลงจะมีสารพิษชื่อว่า พีเดอริน (Paederin) โดยตัวเมียจะมีปริมาณสารพิษมากกว่าตัวผู้มาก ลักษณะส่วนท้องมีสีส้ม เคลื่อนไหวได้รวดเร็ว และมักจะงอส่วนท้องส่ายขึ้นลงเมื่อเกาะอยู่กับพื้น สำหรับชนิดที่พบได้ในประเทศไทย ด้วงชนิดนี้อาศัยบริเวณพงหญ้าที่มีความชื้น ชอบออกมาเล่นไฟ จะมีมากโดยเฉพาะในฤดูฝน

สาเหตุของผิวหนังที่อักเสบ

- เกิดจากการสัมผัสกับสาร พีเดอริน (ไม่ได้เกิดจากการกัด) มักเกิดจากการที่มีแมลงมาเกาะตามร่างกาย และเผลอปัด หรือบี้ ทำให้แมลงท้องแตก และสัมผัสกับสารพิษนั้น

อาการ

- ผิวหนังเป็นผิ่นแดง หรือเป็นรอยไหม้ เป็นทางยาว ผื่นมีขอบเขตชัดเจน ทิศทางตามรอยปัด อาจคันและแสบร้อน อาการจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณสารพิษที่สัมผัส พบมากบริเวณนอกร่มผ้า

10 วิธีป้องกันแมลงก้นกระดกช่วงหน้าฝน

1. ติดมุ้งลวดและกางมุ้งนอน
2. ปลูกดอกไพรีทรัมแซมกับต้นไม้ในสวนและผักสวนครัว กลิ่นจากดอกไม้ชนิดนี้มีคุณสมบัติออกฤทธิ์ทำลายระบบประสาทของแมลง ทำให้สลบและตายในที่สุด
3. ปิดประตู หน้าต่างให้สนิทก่อนฟ้ามืด เพื่อป้องกันแมลงก้นกระดกบินตามแสงไฟเข้ามาในบ้าน
4. ฉีดสเปรย์กำจัดแมลงสูตรไร้สารเคมีบริเวณหลอดไฟและพื้นที่รอบเตียงนอน
5.  เศษอาหารและเศษผักให้ใส่ถุงดำมัดปากให้แน่น นำไปทิ้งถังขยะนอกบ้าน เนื่องจากเศษอาหารเหล่านี้เป็นแหล่งอาหารของแมลงก้นกระดกเช่นกัน 
6. เปลี่ยนหลอดไฟเป็นสีเหลืองแทนสีขาว
7.  กำจัดแหล่งที่อยู่ของแมลงก้นกระดกด้วยการตัดหญ้ารอบบ้านให้สั้นอยู่เสมอ
8. หากพบแมลงชนิดนี้ชุกชุมบริเวณที่พักอาศัย ให้ตรวจหาและกำจัดแหล่งน้ำที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์
9. ล่อแมลงไม่ให้บินเข้ามาบ้านด้วยการติดไฟล่อแมลง โดยให้ติดไว้ในพื้นที่ที่ห่างจากตัวบ้าน
10. เมื่อพบเห็นหรือถูกแมลงชนิดนี้เกาะที่ร่างกาย ห้ามตีหรือขยี้ด้วยมือเปล่า ให้ใช้ผ้าหรือกระดาษเขี่ยแมลงนี้ออกไปและรีบล้างผิวหนังบริเวณที่สัมผัสกับแมลงด้วยน้ำและสบู่ให้เร็วที่สุด

การรักษาอาการที่เกิดจากแมลงก้นกระดก

1.หากแมลงก้นกระดกเกาะบนผิวหนัง ห้ามสัมผัสโดยการปัด ให้เป่าออกจากตัวเรา
2.หลังจากสัมผัสโดน ให้รีบล้างตรงบริเวณที่สัมผัสด้วยสบู่หลายๆรอบ
3.ทำการประคบด้วยผ้าชุบน้ำเย็บบริเวณที่สัมผัสประมาณ 10 – 15 นาที่
4.หากอาการไม่ดีขึ้นให้รีบพบแพทย์ทันที

พิษของแมลงก้นกระดก  สามารถปล่อยสารที่เรียกว่า พีเดอริน (Paederin) ออกมา สารชนิดนี้มีความเป็นพิษทำลายเนื้อเยื่อ ผู้ที่สัมผัสลำตัวด้วงชนิดนี้จะมีอาการปวดแสบปวดร้อน คัน ในรายที่เป็นมาก อาจมีไข้ปวดศีรษะ หากเข้าตาอาจทำให้ตาบอดได้ แผลจะมีลักษณะเป็นทางยาว อาจจะพบเป็นตุ่มใส (vesicle) อาการเหล่านี้จะหายเองได้ภายใน 7-10 วัน 

แผลจาก แมลงก้นกระดก ไม่ได้เกิดจากการกัด หรือถ้ากัดก็ไม่ได้เป็นอะไร เพราะพิษ (Paederin) จะอยู่ในช่องท้องของแมลง โดยสารชนิดนี้มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ซึ่งถ้าไม่บี้ หรือตบ จนทำให้ท้องของแมลงแตกก็จะไม่เป็นอะไร แต่หากทำให้ท้องแตก สารชนิดนี้หลุดออกมาก็จะทำให้เกิดอันตรายกับผิวหนังได้ เมื่อรู้แบบนี้แล้ว ควรป้องกันไว้แต่เนิ่นๆเพื่อไม่ให้เกิดขึ้นกับคุณ

 

 

เตือนภัย แมลงก้นกระดก พิษร้ายที่มาพร้อมหน้าฝน

 

 

เตือนภัย แมลงก้นกระดก พิษร้ายที่มาพร้อมหน้าฝน