แฉ 4 กลโกงหวังรวยลัด ก.คลังย้ำฝืนเสี่ยงโทษถึงคุก

จากที่ก่อนหน้านี้ กระทรวงการคลัง ได้ดำเนินการเอาผิด 2 ร้านค้า ที่เข้าร่วมโครงการ คนละครึ่ง หลังพบมีพฤติกรรมทุจริต ด้วยวิธีการทำรายการซื้อขาย แต่ไม่ได้มีการจำหน่ายสินค้าออกไปจริง จึงสั่งระงับการใช้ระบบแอปพลิเคชันถุงเงิน และจัดการยึดเงินคืนกลับมาทั้งหมด พร้อมขึ้นบัญชีดำไม่ให้เข้าร่วมโครงการอีก พร้อมกันนี้ยังได้มีการเปิดเผยถึงวิธีการทุจริตที่ร้านค้ารวมหัวกับลูกค้าเพื่อดึงเงินจากรัฐมาใช้แบบฟรีๆ

จากที่ก่อนหน้านี้ กระทรวงการคลัง ได้ดำเนินการเอาผิด 2 ร้านค้า ที่เข้าร่วมโครงการ คนละครึ่ง หลังพบมีพฤติกรรมทุจริต ด้วยวิธีการทำรายการซื้อขาย แต่ไม่ได้มีการจำหน่ายสินค้าออกไปจริง จึงสั่งระงับการใช้ระบบแอปพลิเคชันถุงเงิน และจัดการยึดเงินคืนกลับมาทั้งหมด พร้อมขึ้นบัญชีดำไม่ให้เข้าร่วมโครงการอีก พร้อมกันนี้ยังได้มีการเปิดเผยถึงวิธีการทุจริตที่ร้านค้ารวมหัวกับลูกค้าเพื่อดึงเงินจากรัฐมาใช้แบบฟรีๆ

 

แฉ 4 กลโกงหวังรวยลัด ก.คลังย้ำฝืนเสี่ยงโทษถึงคุก

อ่านข่าว - แฉกลโกง ผู้ประกอบการรวมหัวลูกค้า ใช้สิทธิคนละครึ่ง หลอกดึงเงินรัฐไปใช้ฟรี ๆ

ล่าสุด ได้มีการเปิดเผยกลโกงในวิธีที่สามารถเกิดขึ้นจริงและมีความเป็นไปได้ ดังนี้
1. เบิกเป็นเงินสด
กลโกง: ร่วมกันโกงทั้ง 2 ฝ่าย ผู้ซื้อทำทีชำระเงินผ่าน G-Wallet เข้าร้านค้าโดยไม่ได้มีการซื้อขายของจริง จากนั้นร้านค้าคืนเป็นเงินสดให้ แล้วนำวงเงิน 150 บาท มาแบ่งกันแล้วแต่ตกลงหัวคิว วินทั้งคู่

การดำเนินการ: รัฐสามารถตรวจสอบผ่านการทำรายการได้ อาทิ การชำระเงินผิดปกติหรือไม่? ผู้ซื้อจ่ายเงินยอดซ้ำ ยอดเดิม ร้านเดียว หรือไม่?


2. จ่ายครึ่ง ก็รับของครึ่ง
กลโกง: ร้านค้าลดปริมาณสินค้าหรือบริการให้น้อยลง โดยอ้างว่าผู้ซื้อจ่ายราคาครึ่งเดียว ทั้งที่จริงแล้วอีกครึ่งนั้นรัฐจ่ายให้ร้านค้าได้รับเงินเต็มจำนวน ไม่ได้ถูกหักแต่อย่างใด

การดำเนินการ: ผู้ซื้อปกป้องสิทธิ์ตนเอง ด้วยการไม่สนับสนุน ไม่ซื้อสินค้าหรือบริการ และสามารถแจ้งตำรวจ หรือสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค เข้ามาตรวจสอบได้

 

แฉ 4 กลโกงหวังรวยลัด ก.คลังย้ำฝืนเสี่ยงโทษถึงคุก

3. ขึ้นราคา
ร้านค้าฉวยโอกาสขึ้นราคาสูงจากเดิม เพราะเห็นว่าลูกค้าเยอะขึ้น และจ่ายเงินเพียงครึ่งเดียว คงไม่มีใครว่าอะไร แต่ตัวร้านค้ากลับได้กำไรเท่าตัว
การดำเนินการ: ผู้ซื้อปกป้องสิทธิ์ตนเอง ด้วยการไม่สนับสนุน ไม่ซื้อสินค้าหรือบริการ และสามารถแจ้งตำรวจ หรือสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค เข้ามาตรวจสอบได้

4. ไม่มีร้านจริง
กลโกง: ลงทะเบียนร้านค้าปลอม ทั้งที่ไม่มีร้านค้าจริง ตั้งร้านค้าหลอก โดยปกติไม่ได้ขายสินค้าหรือบริการใดโดยตรง
การดำเนินการ: ในขั้นตอนการลงทะเบียนร้านค้า ธนาคารกรุงไทยจะเป็นผู้ลงพื้นที่ไปตรวจสอบว่าร้านค้ามีตัวตนจริงหรือไม่ ซึ่งแม้หากมีช่องว่างให้ตบตาได้ แต่ธุรกรรมการทำรายการต่างๆ จะเป็นตัวบ่งชี้ได้อยู่ดี
 

 

แฉ 4 กลโกงหวังรวยลัด ก.คลังย้ำฝืนเสี่ยงโทษถึงคุก

 

แฉ 4 กลโกงหวังรวยลัด ก.คลังย้ำฝืนเสี่ยงโทษถึงคุก >> Lazada ช้อปดีลเด็ดลดต่อเนื่องจาก 11.11 แจกส่วนลด 150฿ คลิกเลย <<