- 26 พ.ย. 2563
ชาวเน็ตจวกแรง นพ. ทศพร เสรีรักษ์ หลังโพสต์ภาพก่อนเข้าผ่าตัด
หลังการยุติการชุมนุม เวลาประมาณ 22.10 น. บริเวณฝั่งตรงข้ามสำนักงานใหญ่ธนาคารไทยพานิชย์ (SCB) หน้าร้านแมคโดนัลด์ อเวนิว รัชโยธิน ได้เกิดเหตุชุลมุนขึ้นหลังมีเสียงดังขึ้นคล้ายระเบิด 1 ครั้ง ตามมาด้วยเสียงปืน 4 นัด
อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ >>> https://www.tnews.co.th/contents/539041
ต่อมาด้าน นพ. ทศพร เสรีรักษ์ ก็ได้ออกมาโพสต์ภาพพร้อมระบุข้อความผ่าน ทวิตเตอร์ ว่าเตรียมผ่าตัด
#หยุดความรุนแรง #หยุดทําร้ายประชาชน
หลังจากที่โพสต์ภาพและข้อความออกไปนั้นด้านชาวเน็ตต่างเข้ามาให้กำลังใจคุณหมอและผู้ได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก แต่มีชาวเน็ตท่านหนึ่งเข้ามาคอมเม้นต์ว่า “เข้าใจว่าเจตนาดีต้องการส่งข่าวและช่วยปลอบโยนมวลชนว่าคนเจ็บได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วแล้ว แต่ในฐานะแพทย์ ไม่สมควรลงรูปแบบนี้หรือเปล่าคะ ฝากพิจารณาทบทวนอีกครั้งด้วยค่ะ” และ"ไม่ถ่ายรูปในโรงพยาบาลนะคะ ปิดใบหน้าผู้ป่วย และทีมแพทย์ขณะปฏิบัติงานด้วยค่ะอย่าละเลยจุดนี้เองสิคะ"
อย่างไรก็ตามเคยเกิดเหตุการณ์แบบในกรณีดังกล่าวมาแล้ว ทำให้ คณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อส่งเสริมการใช้สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ ของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(คสช.)ได้มีการประชุมหารือถึงปัญหาดังกล่าว ที่สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) เมื่อไม่นานมานี้ โดย “นพ.อำพล จินดาวัฒนะ” เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เผยว่า ปัจจุบันเป็นยุคเทคโนโลยีการสื่อสาร โดยเข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตประชาชนมีสมาร์ทโฟน ที่สามารถถ่ายรูปและส่งรูปภาพหรือข้อความลงในสังคมออนไลน์มากมาย โดยข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลก็ถูกหยิบยกนำมาโพสต์ด้วย ปัญหาคือ การโพสต์ข้อมูลการรักษาพยาบาล หรือข้อมูลส่วนตัวของผู้ป่วยอาจเข้าข่ายละเมิดสิทธิ และยังผิดหลักมาตรา 7 ของพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550
“ปัญหาคือ การเผยแพร่ข้อมูลของผู้ป่วย ทั้งอาการเจ็บป่วย รูปภาพผู้ป่วยผ่านโลกอินเตอร์เน็ต อาจมาจากความไม่รู้ ซึ่งอาจหลุดมาจากประชาชนเอง หรือจากบุคลากรทางการแพทย์ ทั้งเจตนาและไม่เจตนา บ้างก็มีเจตนาดีต้องการช่วยเหลือผู้ป่วย อย่างกรณีการขอรับบริจาคเลือดหายาก แต่ทั้งหมดต้องพึงระวังในการโพสต์ข้อมูลเหล่านี้โดยที่ผู้ป่วยหรือญาติไม่อนุญาต เพราะสุ่มเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล และขัดต่อพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ตามมาตรา 7 ที่ระบุว่าข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล เป็นความลับส่วนบุคคล ผู้ใดจะนำไปเปิดเผยและอาจทำให้บุคคลนั้นเสียหายไม่ได้ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากบุคคลนั้นโดยตรง และไม่ว่าในกรณีใดๆ ผู้ใดจะอาศัยอำนาจหรือสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ เพื่อขอเอกสารเกี่ยวกับข้อมูลสุขภาพของบุคคลไม่ได้”
นพ.อำพล กล่าวอีกว่า ปัญหาที่ต้องยอมรับคือ แม้จะมีกฎหมายคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยตามมาตรา 7 แห่งพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 แต่ก็ยังมีบุคคลที่ไม่ทราบและยังมีการโพสต์รูปภาพ ข้อมูลลักษณะนี้อยู่ คณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อส่งเสริมการใช้สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ จึงได้ประชุมหารือถึงแนวทางแก้ปัญหา โดยสรุปว่า สช.ควรทำหน้าที่ในการให้ความรู้ประชาชน และสื่อมวลชนในรูปแบบต่างๆ ทั้งการให้ข่าว ให้ข้อมูล รวมไปถึงการให้ความรู้เรื่องนี้แทรกกับเวทีสัมมนาต่างๆของสช. แต่การจะทำหนังสือแจ้งไปยังเครือข่ายสุขภาพต่างๆ คงไม่ถึงขนาดนั้น เนื่องจากไม่มีอำนาจในการไปสั่ง แต่จะเป็นการประชาสัมพันธ์ แจ้งให้ทราบถึงกฎหมายนี้มากกว่า
อย่างไรก็ตาม กรณีที่มีเจตนาดีในการโพสต์ข้อมูลเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย ก็ต้องระมัดระวัง เนื่องจาก หากมีการโพสต์รูปภาพ หรือข้อมูลส่วนตัวของผู้ป่วย เช่น ผู้ป่วยรายหนึ่งเป็นเอดส์ ขาดแคลนเลือด ต้องการรับบริจาคด่วน หากไปโพสต์ลักษณะนี้ ถือว่าไม่เหมาะสมในการระบุโรค เข้าข่ายผิดมาตรา 7 ซึ่งหากญาติผู้ป่วย หรือผู้ป่วยต้องการฟ้องร้อง สามารถดำเนินการได้ โดยผู้ละเมิดจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สิ่งสำคัญคือ การโพสต์ข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ป่วย หรือญาติ และการนำข้อมูลการรักษาของผู้ป่วยมาเผยแพร่ต้องไม่ทำให้เกิดความเสียหาย ถูกดูถูกเกลียดชัง มิเช่นนั้นจะเข้าข่ายหมิ่นประมาทอีก ถ้าผู้ประกอบวิชาชีพ เช่น แพทย์ พยาบาล นำข้อมูลของผู้ป่วยมาเปิดเผยแล้วเกิดความเสียหาย จะมีความผิดฐานเปิดเผยความลับที่ตนได้มาจากการประกอบวิชาชีพ
นอกจากนี้ การโพสต์ที่มีลักษณะเป็นการนำข้อมูลปลอม เท็จ หรือไม่เหมาะสม เช่นลามกอนาจาร ทั้งเผยแพร่เนื้อหา การเผยแพร่ภาพจากการตัดต่อ ดัดแปลง ทำให้ผู้ป่วยหรือครอบครัวเสื่อมเสีย เป็ฯการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ว่าด้วยการกระทำความผิดจากคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 อีกทั้ง ในกรณีที่ผู้ป่วยหรือญาติไม่ต้องการให้เปิดเผยข้อมูล แต่หากว่าเป็นการเปิดเผยเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ เช่น ผู้ป่วยเกิดโรคติดต่อร้ายแรงที่อาจระบาดได้ อันนี้ยกเว้น แต่ต้องไม่เปิดเผยชื่อ หรือตัวตนของผู้ป่วยนั้นๆ
“ที่จะพบปัญหามากคือ บางกรณีมีบุคคลสำคัญที่มีสื่อมวลชนติดตามไปทำข่าว ต้องการไปเยี่ยมผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บ โดยสื่อมวลชนได้ตามบุคคลนั้นไปด้วย และได้ถ่ายภาพของผู้ป่วยลงไปและเผยแพร่ต่อสื่อสาธารณะ เรื่องนี้ก็ต้องระมัดระวัง เพราะจะเป็นการละเมิดสิทธิผู้ป่วยเช่นกัน ทั้งนี้ ทางที่ดีที่สุดทางโรงพยาบาลควรมีมาตรการห้ามสื่อมวลชนเข้าถ่ายภาพผู้ป่วยด้วย หรือหากจะถ่ายภาพอย่างไรต้องขออนุญาตก่อนเป็นสำคัญ ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่แค่ผิดตามกฎหมาย แต่ในเรื่องของจรรยาบรรณ ศีลธรรม ความเหมาะสมก็เป็นเรื่องที่ต้องคำนึงด้วย” นพ.อำพล กล่าวทิ้งท้าย
นอกจากนี้ เลขาธิการสช. ยังกล่าวว่า ไม่เพียงแต่มาตรา 7 ของพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติฯ เท่านั้น ยังมีร่างพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ของสำนักนายกรัฐมนตรี ที่จะเป็นอีกกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิของผู้ป่วยได้ โดยเนื้อหาจะคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล รวมถึงประวัติสุขภาพต่างๆ ซึ่งร่างกฎหมายดังกล่าวได้เสนอเข้ารัฐสภาเพื่อพิจารณาแล้ว แต่จากเหตุการณ์ทางการเมือง และมีการยุบสภา ส่งผลให้ร่างกฎหมายดังกล่าวตกไป
ระหว่างนี้คงต้องฝากคนที่ชอบโพสต์ ชอบแชร์พึงระมัดระวังในการเผยแพร่ข้อมูลผู้ป่วย เนื่องจากอาจถูกฟ้องร้องตามกฎหมายได้
>> Lazada ช้อปดีลเด็ดลดต่อเนื่องจาก 11.11 แจกส่วนลด 150฿ คลิกเลย <<