- 09 ม.ค. 2564
ดราม่าจนได้ อาจารย์ ม.ดัง จวก "พิมรี่พาย" หลังสานฝันให้เด็กดอย ลั่น คนเมืองแค่อยากโปรดสัตว์ชนชั้นล่างมากกว่า
จากกรณีที่ พิมรี่พาย แม่ค้าออนไลน์สุดแซ่บ ที่ชอบทำความดีช่วยเหลือสังคม ได้มีการปล่อยคลิปวีดิโอที่เจ้าตัวได้ขึ้นดอยไปยังหมู่บ้านแม่เกิบ ที่ตั้งอยู่ที่ ต.นาเกียน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่กว่า 300 กม. เพื่อสร้างโซล่าเซลล์ ซื้อทีวีติดตั้ง นำเครื่องอุปโภคบริโภค พร้อมอาสาสอนปลูกผักให้เด็กๆและคนในหมู่บ้าน เพื่อเป็นของขวัญในช่วงวันเด็ก
หลังจากที่คลิปวีดิโอดังกล่าวนี้เผยแพร่ออกไป ได้มีผู้เข้ามารับชมและแสดงความคิดเห็นชื่นชมเธอเป็นจำนวนมาก ที่เข้าช่วยเหลือเด็กๆและผู้คนในหมู่บ้านแห่งนี้ ขณะที่โลกออนไลน์อย่างในทวิตเตอร์ #พิมรี่พาย ก็ขึ้นอันดับ 1 Twitter Trend ของไทย อีกด้วยในชั่วข้ามคืน
ล่าสุด รศ.ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี อาจารย์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ออกมาโพสต์ถึงคลิปของ พิมรี่พาย ที่ไปช่วยเหลือเด็กๆบนดอยสูงเอาไว้ว่า "ความฝันมันสร้างกันง่ายๆด้วยการติดทีวีให้ดู ติดแผงโซล่าเซลล์ หาเกิบให้เด็กใส่ เอาไฟฉายติดให้บนหัว เลิก "ถางภูเขาเป็นลูกๆ" และ "สอน" ชาวบ้านให้หัดรู้จักปลูก "ผักสลัด"มันไม่ใช่ความฝันของเด็กดอยหรอกแบบนี้ มันความฝันอยากจะโปรดสัตว์ชนชั้นล่าง ของพวกชนชั้นกลางในเมืองที่ไม่เคยรู้/สนห่าเหวอะไรเลยเกี่ยวกับปัญหาความเหลื่อมล้ำ การเบียดขับชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อย และการตัดขาดพวกเขาออกจากการเข้าถึงทุกอย่างในสังคม ที่อย่าว่าแต่ทีวีเลย ลำพังแค่จะทำไร่ปลูกข้าวให้มันพอกินในที่ดินที่พวกป่าไม้ยึดครอง ยัง "ขัดตา"พวกชนชั้นกลางในเมืองเลย เศรษฐกิจการโปรดสัตว์ สนองตัณหาความฟีลกู๊ดของพวกคนในเมืองสร้างกำไรเสมอ โดยเฉพาะในวันเด็กแบบนี้"
โดยหลังจากอาจารย์ ม.ดัง ได้โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัว ก็มีผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก มีทั้งในส่วนที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย เช่น "จริงๆการติเพื่อก่อมันเป็นเรื่องที่ดีมากเลยนะคะ เเต่งงว่าในเนื้อโพสที่ไม่ได้แสดงถึงเเนวทางการแก้ไขปัญหาหรือยกงานวิจัยที่สามารถนำไปสู่ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้" , "ความฝันของคน มันต่างกัน ไปอยู่ในความฝันของเด็กๆบนดอยหรอ ถึงได้รู้ว่าความฝันของเด็กบนดอยไม่ใช่แบบนี้ เก่งแต่สร้างคำพูดสวยหรู แต่การกระทำล่ะ???" , "นางทำโฆษณาให้ตัวเองผ่านการผลิตซ้ำระบบอุปถัมภ์ค่ะ จริงๆเด็กๆเขาเรียนรู้ความฝันของการมีอาชีพมาจากการบอกต่อกันมาแล้วของคนเคลื่อนย้ายไปมา แต่ถ้าลงไปถึงปัญหาในแต่ละกลุ่มเด็กไม่สามารถเลือกอาชีพได้ตามฝัน"