- 14 ม.ค. 2564
ผู้ประกันตน ม. 33 เป็นกลุ่มที่ไม่ได้รับสิทธิเยียวยาจากรัฐบาลจำนวน 3,500 บาทต่อคน นาน 2 เดือน ในโครงการ เราชนะ
กรณีที่ทาง คณะรัฐมนตรี ได้มีมติไฟเขียวมาตรการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบโควิด-19 ในหลายๆด้าน อาทิ ลดค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา อนุมัติโครงการคนละครึ่งเปิดเพิ่ม 1 ล้านสิทธิ ในช่วงปลายเดือนมกราคมนี้ รวมทั้งโครงการ เราชนะ ที่จะได้รับเงินคนละ3,500บาทต่อ เป็นระยะเวลา 2 เดือน อย่างไรก็ตาม ผู้ประกันตนลูกจ้าง ม. 33 เป็นกลุ่มที่ไม่ได้รับสิทธิในโครงการ เราชนะ ส่วนผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และ 40 จะได้รับสิทธิ
โดยรายละเอียดของ โครงการเราชนะ ที่จะได้รับเงินเยียวยาคนละ 3,500 บาท ระยะเวลา 2 เดือน ทั้งนี้ข้อสรุปที่ชัดเจน จะต้องรอการผ่านอนุมัติจากครม. ในสัปดาห์หน้าวันที่ 19 ม.ค.นี้ สำหรับในเบื้องต้นนั้น ผู้ที่จะได้รับสิทธิ์ในโครงการนี้คือ ผู้ที่เป็นเกษตรกร ครอบคลุมอาชีพอิสระ เเรงงานนอกระบบ (ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ,ผู้ที่ลงทะเบียนคนละครึ่ง ถ้าเข้าเกณฑ์เงื่อนไข จะเข้าร่วมเเบบอัตโนมัติ ไม่ต้องลงทะเบียน) เเละผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และ 40 คาดว่าจะเริ่มใช้ได้อย่างเร็วที่สุด ปลายมกราคม หรือภายในต้นเดือนก.พ.นี้
สำหรับผู้ที่จะไม่ได้สิทธิรับเงินเยียวยาโควิด-19ระลอกใหม่ ในโครงการเราชนะ คือ
-ผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคม จำนวน 11 ล้านคน (ประกันสังคมตามมาตรา 33) ยกเว้นผู้ที่อยู่ในมาตรการ 39 และมาตรา 40
-ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐและพนักงานของรัฐวิสาหกิจ
-ผู้ที่มีรายได้สูง (อาจจะประเมินจากฐานเงินเดือนและบัญชีเงินฝาก)
-ผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี
ทั้งนี้ทางสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ได้มีมาตรการเยียวยาสำหรับผู้ประกันตน ม.33 ดังนี้ ...
1.การว่างงานจากเหตุสุดวิสัย ผู้ประกันตนที่ไม่ได้ทำงาน หรือนายจ้างไม่ให้ทำงาน เนื่องจากต้องกักตัว หรือเฝ้าระวังการระบาดของโรค หรือไม่ได้ทำงานเนื่องจากนายจ้าง ต้องหยุดประกอบกิจการไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน เนื่องจากทางราชการมีคำสั่งให้ปิดสถานที่เป็นการชั่วคราวเพื่อป้องกันการระบาดของโรคทำให้ไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ และลูกจ้างไม่ได้รับค่าจ้างในระหว่างนั้น ให้ลูกจ้างดังกล่าวมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงาน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวัน โดยให้ได้รับตลอดระยะเวลาที่มีการกักตัวหรือเฝ้าระวัง การระบาดของโรคหรือมีคำสั่งปิดสถานที่ดังกล่าว แล้วแต่กรณีแต่รวมกันไม่เกิน 90 วัน
2.กรณีว่างงานจากการถูกเลิกจ้าง ได้รับเงินชดเชยร้อยละ 70 ของค่าจ้าง ปีละไม่เกิน 200 วัน
3.ลดหย่อนเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ลูกจ้าง-นายจ้าง เหลือร้อยละ 3 ตั้งแต่ ม.ค.-มี.ค. 64
4. การว่างงานจากการลาออก ได้รับเงินชดเชย ร้อยละ 45 ของค่าจ้าง ปีละไม่เกิน 90 วัน
โดย ลูกจ้าง ผู้ประกันตน ตามมาตรา33 คือผู้ที่ทำงานในบริษัทเอกชนทั่วไป , ลูกจ้างที่ทำงานในสถานประกอบการที่มีนายจ้าง และเป็นผู้ส่งเงินสมทบ 5% ของเงินเดือน สูงสุดไม่เกิน 750 บาท เดือน
>>Lazada ดีลสุดพิเศษ สนใจคลิก<<