- 13 ก.พ. 2564
เมื่อวันที่ 12 ก.พ. 64 ที่ผ่านมา รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว "Harirak Sutabutr"โดยระบุข้อความว่าได้ดูคลิปที่มีนักศึกษาธรรมศาสตร์ ทั้งหญิงและชาย รวม 4 คน พยายามนำธงแดงมีข้อความ ยกเลิก 112 ขึ้นบนเสาธงไตรรงค์หน้าอาคารโดมบริหารที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตแต่ไม่สำเร็จ
เมื่อวันที่ 12 ก.พ. 64 ที่ผ่านมา รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว "Harirak Sutabutr"โดยระบุข้อความว่าได้ดูคลิปที่มีนักศึกษาธรรมศาสตร์ ทั้งหญิงและชาย รวม 4 คน พยายามนำธงแดงมีข้อความ ยกเลิก 112 ขึ้นบนเสาธงไตรรงค์หน้าอาคารโดมบริหารที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตแต่ไม่สำเร็จ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ รปภ. หลายคนช่วยกันเจรจาห้ามปรามไว้ได้ แต่กว่านักศึกษาจะยอมก็ต้องถกเถียงกันอยู่นานพอควร เจ้าหน้าที่พยายามอธิบายว่า ยอมให้ทำไม่ได้ เพราะต้องเคารพธงชาติไทย และต้องให้เกียรติพระมหากษัตริย์
เหตุผลที่นักศึกษาอ้าง สรุปความได้ว่า "นักศึกษาธรรมศาสตร์คนหนึ่ง ต้องติดคุกเพราะมาตรา 112 นักศึกษาจึงต้องการแสดงออกเชิงสัญญลักษณ์ และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นดินแดนแห่งเสรีภาพ ดังนั้นต้องทำได้ หากทำไม่ได้ธรรมศาสตร์ก็ไม่มีเสรีภาพจริง ถ้าเอาธงแดงขึ้นแล้วประเทศจะล่มสลาย หรือจะมีใครต้องตายหรืออย่างไร " นักศึกษาหญิงที่เถียงกับเจ้าหน้าที่เป็นส่วนใหญ่ ดูเหมือนจะเป็นนักศึกษาหญิงคนเดียวกันกับที่ไปชูป้ายเรื่องวัคซีนที่ไอคอนสยามนั่นเองเหตุผลที่นักศึกษาใช้อ้าง เป็นเหตุผลที่แกนนำม็อบ 3 นิ้ว และผู้อยู่เบื้องหลังใช้กันอย่างฟุ่มเฟือย ซ้ำแล้วซ้ำเล่า นั่นคือคำว่า“เสรีภาพในการแสดงออก” ซึ่งดูเหมือนจะฝังแน่นอยู่ในสมองของคนกลุ่มนี้แบบที่ไม่มีใครจะโยกคลอนได้เลยว่า เสรีภาพคือการที่เราสามารถจะทำอะไรก็ได้ทั้งสิ้น ไม่เว้นแม้แต่การทำผิดกฎหมาย หากเราไม่เห็นด้วยกับกฎหมายนั้น
ไม่ว่าจะอธิบายกันกี่ครั้งว่า เสรีภาพต้องอยู่ในขอบเขตเสมอ ก็ไม่สามารถทำให้คนกลุ่มนี้เข้าใจได้เลย ไม่ต่างจากคำว่า “ภาษีกู” ที่พวกเขาเข้าใจว่า ทุกคนมีสิทธิ์จะทำอะไรก็ได้กับสิ่งของ หรือถาวรวัตถุที่มาจากเงินภาษีของประเทศ เป็นความเข้าใจที่เข้าข้างตัวเองอย่างถึงที่สุดเรามีเสรีภาพในการแสดงออกก็จริงแต่การแสดงออกนั้นต้องไม่ไปละเมิด หรือหมิ่นประมาท หรือทำให้ผู้อื่นเสียหาย ไม่รู้ว่าใครไปฝังชิพลงในสมองของพวกเขาได้แน่นหนาขนาดนี้ อยากรู้เหลือเกินว่าพ่อแม่ และครอบครัวของพวกเขาเหล่านี้ คิด อย่างไร เห็นอย่างไร หากคิดเหมือนกัน เห็นเหมือนกันทั้งครอบครัว ก็น่าเป็นห่วงอนาคตของประเทศมาก หากพ่อแม่หรือครอบครัว ไม่ได้เห็นแบบนี้ คิดแบบนี้ ก็น่าสงสารพ่อแม่และครอบครัวของพวกเขาเหล่านี้มาก ต้องกลัดกลุ้ม และไม่มีความสุขแน่ๆ
ต้องขอชมเจ้าหน้าที่ รปภ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่รับมือกับสถานการณ์นี้ได้โดยไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้น เจ้าหน้าที่คนแรกที่มาห้ามปราม เป็นเจ้าหน้าที่ที่ผมค่อนข้างจะคุ้นเคย ตั้งแต่ผมยังทำงานอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปัจจุบันเวลาไปประชุม เจ้าหน้าที่ผู้นี้ก็จะมาช่วยดูแลเรื่องที่จอดรถให้เสมอ เจอครั้งหน้า เห็นท่าจะต้องขอสัมภาษณ์ และให้รางวัลสักหน่อยเสียแล้วครับ