สธ. เผย รื้อแผน "ฉีดวัคซีน" มุ่งเน้น 2 กลุ่มเสี่ยง ก่อน แจงซื้อ"ซิโนแวค" กว่า 10 ล้านโดส ช่วยลดป่วยรุนแรง กันตายได้อยู่

วันที่ 7 กรกฎาคม 2564 นายแพทย์ โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยความคืบหน้าการ "ฉีดวัคซีน" โควิด-19 ว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีการฉีดวัคซีนไปแล้วกว่า 11 ล้านโดส ขอย้ำว่า

วันที่ 7 กรกฎาคม 2564 นายแพทย์ โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยความคืบหน้าการ "ฉีดวัคซีน" โควิด-19 ว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีการฉีดวัคซีนไปแล้วกว่า 11 ล้านโดส ขอย้ำว่า การฉีดวัคซีนทำให้โอกาสที่จะเสียชีวิตจาก โควิด-19 ลดลง รวมถึงลดป่วยหนักลงด้วย โดยวัคซีนยังคงมีประสิทธิภาพในการลดการติดเชื้อลงได้ เพราะฉะนั้น จึงมีการปรับยุทธศาสตร์การฉีดวัคซีนใหม่ในพื้นที่สีแดงเข้ม หรือพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด เช่น กรุงเทพมหานคร (กทม.) กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ สํานักอนามัยกรุงเทพมหานคร ปรับการฉีดวัคซีน โควิด-19 ใน 2 กลุ่มเสี่ยง คือ กลุ่มผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง 7 โรค ให้ได้รับวัคซีนมากที่สุด และเร็วที่สุด ตั้งเป้าภายในกรกฎาคมนี้ หรือช้าสุด คือ สิงหาคม จ่อเซ็นสัญญาซื้อ ไฟเซอร์ (Pfizer) 20 ล้านโดส ในสัปดาห์นี้

 

สธ. เผย รื้อแผน \"ฉีดวัคซีน\" มุ่งเน้น 2 กลุ่มเสี่ยง ก่อน แจงซื้อ\"ซิโนแวค\" กว่า 10 ล้านโดส ช่วยลดป่วยรุนแรง กันตายได้อยู่

 

อย่างไรก็ตาม ข้อสรุปวันนี้ กรมควบคุมโรคได้ลงนามในสัญญารับบริจาควัคซีนไฟเซอร์ 1.5 ล้านโดส จากสหรัฐอเมริกา เป็นสัญญาฉบับแรก ส่วนสัญญาไฟเซอร์ ฉบับที่ 2 ที่เป็นการสั่งซื้อ 20 ล้านโดส นั้น จะนำข้อสังเกตของอัยการสูงสุดไปหารือกับบริษัทไฟเซอร์ และคาดว่าจะลงนามสัญญาได้ในสัปดาห์นี้

ทั้งนี้ หลักการพิจารณานำเข้าวัคซีนก็จะดูเรื่องของประสิทธิภาพ ลดการติดเชื้อ ลดการป่วยหนัก โดยวัคซีนจะต้องผ่านการรับรองจากองค์การอนามัยโลก และต้องได้รับการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ส่วนการวัดประสิทธิผลหรือความสามารถในการป้องกันควบคุมโรคของวัคซีน มีการวัดอยู่ 3 อย่าง คือ

1.ฉีดวัคซีนไปแล้วจะมีการเจาะเลือดเพื่อหาค่าภูมิคุ้มกัน

2.การทดสอบทดลองในมนุษย์กลุ่มเล็ก

3.รวมถึงการวัดประสิทธิผลวัคซีนหลังมีการใช้จริง

แจกโค้ดส่วนลดลาซาด้า

ประสิทธิผล แอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) จากการใช้จริง

- ประเทศอังกฤษ พบลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ 89% หลังฉีดครบ 2 เข็ม ลดการเสียชีวิตในผู้สูงอายุได้ 80 %

- ประเทศสกอตแลนด์ ลดความรุนแรงของโรคที่จะเข้าโรงพยาบาล 88%

- ประเทศอิตาลี พบลดการเสียชีวิตในทุกกลุ่มอายุได้ 95% หลังฉีดวัคซีนครบ 35 วัน

- ประเทศเกาหลีใต้ ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ 90% หลังฉีดวัคซีนเข็มแรก

- ประเทศไทย มีการฉีดวัคซีนไปแล้ว 4 ล้านโดส โดยพบอาการลิ่มเลือดอุดตัน 2 - 3 ราย ซึ่งอยู่ระหว่างการสอบสวน

สรุปวัคซีนแอสตร้าเซนาก้ามีทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลเมื่อใช้จริง

ประสิทธิผล ไฟเซอร์ (Pfizer) จากการใช้จริง

ป้องกันการติดเชื้อได้ 95% ป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรงได้ 97% ป้องกันการเสียชีวิตได้ 96%

สหรัฐฯ พบในกลุ่มวัยรุ่นมีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ หลังการฉีดวัคซีนประมาณ 8 ราย ซึ่งไทยได้จับตาดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

สรุปวัคซีน ไฟเซอร์ และ แอสตร้าเซนเนก้า ทั้งสองชนิดนี้ ประสิทธิผลการใช้จริงใกล้เคียงกัน โดยลดการติดเชื้อ 90 กว่าเปอร์เซ็นต์

ป้องกันการติดเชื้อได้ 95% ป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรงได้ 97% ป้องกันการเสียชีวิตได้ 96%

- สหรัฐฯ พบในกลุ่มวัยรุ่นมีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ หลังการฉีดวัคซีนประมาณ 8 ราย ซึ่งไทยได้จับตาดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

- สรุปวัคซีน ไฟเซอร์ และ แอสตร้าเซนเนก้า ทั้งสองชนิดนี้ ประสิทธิผลการใช้จริงใกล้เคียงกัน โดยลดการติดเชื้อ 90 กว่าเปอร์เซ็นต์

ประสิทธิผล ซิโนแวค (Sinovac) จากการใช้จริง

- ซิโนแวคที่ใช้มาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ประสิทธิภาพของวัคซีนอยู่ที่ 50.4%

- ประเทศอินโดนีเซีย หลังฉีดวัคซีนครบ 2 โดส พบป้องกันการป่วยได้ 94% ลดการเจ็บป่วยในโรงพยาบาลได้ 96% ป้องกันการเสียชีวิตได้ 98%

- ประเทศชิลี พบป้องกันอาการป่วยรุนแรงได้ 89%

- ประเทศบราซิล หลังฉีดวัคซีนครบ 2 โดส พบป้องกันการป่วยที่มีอาการได้ 80% ป้องกันป่วยที่ต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาลสูงถึง 80% และป้องกันการเสียชีวิตได้ 95 %

- ประเทศไทย ฉีดวัคซีนไปแล้ว 7 ล้านโดส ยังไม่มีรายงานผลข้างเคียงวัคซีนที่รุนแรง ยังถือว่ามีประสิทธิภาพ ลดการติดเชื้อ ลดการป่วยหนัก ลดการเสียชีวิตได้ใกล้เคียงกับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า

 

เมื่อถามถึงกรณีที่มีรายงาน วัคซีน ซิโนแวค มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรค ต่ำที่สุด ทำไมรัฐบาลจึงยังมีมติสั่งซื้อเข้ามาเพิ่ม นพ.โอกาส กล่าวว่า เรื่องการใช้วัคซีนต้องมอง 2 ส่วน คือเรื่องประสิทธิภาพ และความปลอดภัย ขณะนี้ประเทศไทยเรามีแผนการสั่งซื้อวัคซีน ทั้งซิโนแวค แอสตร้าเซนเนก้า และไฟเซอร์ ซึ่งทั้ง 3 ตัวที่ประเทศไทยใช้และมีแผนนำมาใช้นั้น ไม่มีตัวใดป้องกันการติดเชื้อได้ 100% แต่ยังมีประสิทธิภาพในการป้องกันได้อยู่ บางตัวกันได้ 80% 90% หรือ 60 % ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ แต่ยืนยันว่าทุกตัวที่เราเอามาใช้นั้นมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรค คนชอบพูดว่าวัคซีนไม่มีประสิทธิภาพนั้นไม่ใช่เลย ถ้าเทียบกับการไม่ฉีดวัคซีนเลยนั้นสามารถลดการติดเชื้อได้ ซึ่งได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลก และ อย. แต่สิ่งที่เหมือนกันของวัคซีนทั้ง 3 ชนิด คือลดการป่วยหนัก นอนรพ. ลดการใช้ไอซียู ป้องกันการเสียชีวิตได้เกือบ 90% ทุกตัว

แจกโค้ดส่วนลดลาซาด้า