"ควายป่า" ฝูงสุดท้ายในไทย กำลังเผชิญหน้ากับความเปราะบาง เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์

เพจเฟซบุ๊ก ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โพสต์ภาพ "ควายป่า" ฝูงสุดท้ายในประเทศไทย ที่อาศัยอยู่บริเวณห้วยขาแข้ง กำลังสุ่มเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ หลังจากการเข้ามาของโรคระบาด "ลัมปี สกิน" ที่ปัจจุบันยังคงต้องเฝ้าระวังกันอย่างเข้มข้น

เพจเฟซบุ๊ก ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โพสต์ภาพ "ควายป่า" ฝูงสุดท้ายในประเทศไทย ที่อาศัยอยู่บริเวณห้วยขาแข้ง กำลังสุ่มเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ หลังจากการเข้ามาของโรคระบาด "ลัมปี สกิน" ที่ปัจจุบันยังคงต้องเฝ้าระวังกันอย่างเข้มข้น

เพจเฟซบุ๊กโพสต์ข้อความระบุว่า.. ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง นอกจากจะมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างหลากหลายแล้ว หนึ่งในนั้นก็มีสัตว์ป่าสำคัญอาศัยอยู่ด้วย นั่นก็คือ "ควายป่า" ซึ่งจากรายงานพบที่นี่เพียงแห่งเดียวเท่านั้น จึงต้องให้ความสำคัญและเฝ้าระวังโรคลัมปี สกินเป็นพิเศษนอกจากนี้พื้นที่ยังคาบเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก จังหวัดกาญจนบุรี เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันออก และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้งผาง จังหวัดตาก ซึ่งควรมีการเฝ้าระวังโรค สร้างแนวกันชน และประสานหน่วยงานของกรมปศุสัตว์ในพื้นที่ให้มีการฉีดวัคซีน กำจัดแมลงพาหะ เพื่อป้องกันและควบคุมโรคลัมปี สกิน อย่างเข้มงวด

ควายป่า

ลาซาด้าลดหนัก
 

นายธนิตย์ หนูยิ้ม ผอ. สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12(นครสวรรค์) ได้เปิดเผยถึงสถานการณ์ และการเฝ้าระวังว่า เจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้เฝ้าระวังมาตั้งแต่ทราบว่าเริ่มมีการระบาดของโรคนี้ โดยให้เจ้าหน้าที่ออกประสานงานกับสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดอุทัยธานี อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง พร้อมขอความร่วมมือราษฎรในพื้นที่ ไม่นำสัตว์เข้ามาเลี้ยงใกล้แนวเขตอย่างเด็ดขาด และได้จัดเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า ลาดตระเวนเฝ้าระวัง จำนวน 20 นาย เฝ้าระวังเป็นจุด ๆ เพื่อป้องกันการลักลอบนำสัตว์มาเลี้ยงในพื้นที่ และผลักดันไม่ให้สัตว์ป่าออกนอกพื้นที่ป่าอนุรักษ มาอย่างต่อเนื่อง ได้ก่อสร้างห้างนั่งดูสัตว์ชั่วคราว บริเวณแนวเขตของพื้นที่รับผิดชอบ หอสูง 9 เมตร ขนาดกว้าง 1.20 เมตร ยาว 1.20 เมตร  เพื่อให้เจ้าหน้าที่ใช้นั่งเฝ้าสัตว์ ไม่ให้สัตว์ป่าออกนอกป่าอนุรักษ์ และไม่ให้สัตว์เลี้ยงของราษฎรเข้าไปในป่าโดยที่ผ่านมา มีการจับกุมผู้ฝ่าฝืนนำสัตว์มาเลี้ยง 1 ราย

สำหรับจุดที่พบสัตว์เลี้ยงในจังหวัดอุทัยธานี ที่ตาย อยู่ห่างจากแนวเขตเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ประมาณ 15 - 20 กิโลเมตร ซึ่งโรคนี้สาเหตุหลักติดต่อทางแมลงดูดเลือด ดังนั้นในทางปฎิบัติการเฝ้าระวังป้องกันโรค โดยเฉพาะกับสัตว์ป่า เป็นเรื่องที่ยาก แต่จากนี้ไป จะให้เจ้าหน้าที่ฉีดน้ำส้มควันไม้ที่ได้รับมาจากวัดท่าซุงรอบ ๆ บริเวณ และปฎิบัติตามแนวทางป้องกันโรคที่อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ให้แนวทางปฎิบัติไว้อย่างเคร่งครัดต่อไป

ควายป่า

สำหรับควายป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า ได้เผยแพร่ใน BIG 7 หรือ 7 สัตว์ป่าผู้ยิ่งใหญ่ แห่งป่าห้วยขาแข้ง ในตอน  'ควายป่า' ผู้ดุดันแห่งพงไพร ไว้ว่า ควายป่า หรือ มหิงสา (wild buffalo) ชื่อที่ไม่ค่อยคุ้นหูนัก เห็นจะคุ้นแต่ชื่อ "ควายบ้าน" เสียมากกว่า อันที่จริง ควายบ้าน ก็สืบเชื้อสายมากจาก ควายป่า เนื่องจากคนรู้จักนำควายป่ามาเลี้ยงเพื่อประโยชน์ใช้งานมานานนมแล้ว

ลักษณะโดยทั่วไปนั้น คล้ายคลึงกันอย่างมาก นั่นก็เพราะสืบมาจากเผ่าพันธุ์เดียวกัน แต่หากมองลึกลงไปในรายละเอียด ก็พบว่า ทั้งคู่ช่างต่างกันเหลือเกิน ทั้งลักษณะ พฤติกรรม และนิสัย ลำตัวของควายป่า บึกบึน แข็งแรง ใหญ่โตกว่าควายบ้านอยู่หลายขุม น้ำหนักควายป่า จะอยู่ที่ 800 - 1,200 กก. ขณะควายบ้าน มีน้ำหนักตัวไม่เกิน 500 กก. ควายป่า มีเขาโค้งเป็นวงเสี้ยวพระจันทร์ ยาวได้ถึง 150-180 ซม. ซึ่งควายจะมีเขาที่สั้นกว่า

สีผิวของควายป่า มีสีเทาหรือน้ำตาลดำ ช่วงอกมีขนสีขาว รูปตัว V ใส่ถุงเท้าขาวหม่น ๆ ทั้ง 4 ข้าง ส่วนควายบ้าน มีผิวสีเทาจนถึงดำ ควายป่า มีนิสัยดุร้ายกว่าควายบ้าน ไม่กลัวคน แม้จะตัวใหญ่แต่กลับปราดเปรียว ว่องไว ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง ตัวผู้ชอบฉายเดี่ยวแต่ก็กลับมารวมฝูงในช่วงผสมพันธุ์

 

ควายป่าในผืนป่าไทย มีรายงานพบเพียงแห่งเดียว คือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง แถบ ๆ ริมลำห้วยขาแข้ง ทางตอนใต้ของผืนป่า เหลืออยู่ราว ๆ  50 ตัว จำนวนประชากรขยุ้มมือนี้ จึงเปราะบางเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยอย่างยิ่ง

ควายป่า ชอบอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นปลักโคลน ดินเลน ชายน้ำ กีบเท้าของพวกเขาจึงมีลักษณะกลมและแป้น ช่วยในการย่ำปลักได้ดี ในขณะที่ควายป่า และกระทิง กีบเท้าจะเรียวแหลมกว่า

ควายป่า

อาหารส่วนใหญ่เป็นยอดไม้ ใบไม้อ่อน ๆ หญ้า ไปจนถึงหน่อไม้ ชอบนอนจมปลัก เรียกได้ว่า มุดหายไปในปลักทั้งตัว โผล่ไว้แต่จมูกเพื่อหายใจ หวังเพื่อคลายร้อนในตัว และกันแมลงรบกวนไปด้วย

ด้วยแหล่งอาศัยของควายป่า ที่นิยมชมชอบวิวริมน้ำ จึงทำให้มีพื้นที่อาศัยทับซ้อนกับพื้นที่ของคน การขยายออกของสังคม การปลูกสร้างบ้านเรือนเพิ่มขึ้น และการแสวงหาแหล่งเกษตรกรรม สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อสวัสดิภาพและความเป็นอยู่ของควายป่า

นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงในเรื่องของควายป่าไปผสมพันธุ์กับควายบ้าน บางครั้งอาจติดโรคมาจากควายบ้าน ทำให้เกิดโรคระบาด ล้มตายไปตาม ๆ กันหมดป่าริมน้ำ อาจหมายถึง ควายป่าสูญพันธุ์

สถานภาพปัจจุบันของควายป่า เป็นสัตว์ป่าสงวน 1 ใน 19 ชนิดของไทย ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ไอยูซีเอ็น (IUCN) จัดให้อยู่ในประเภทใกล้สูญพันธุ์ (EN)

ควายป่า

ภาพ : เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
ข้อมูล : BIG 7 หรือ 7 สัตว์ป่าผู้ยิ่งใหญ่ แห่งป่าห้วยขาแข้ง โดย สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า

โค้ดส่วนลดลาซาด้า