- 31 ก.ค. 2564
"นพ.มานพ พิทักษ์ภากร" หัวหน้าศูนย์วิจัยการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซ Manop Pithukpakorn โดยระบุว่า
"นพ.มานพ พิทักษ์ภากร" หัวหน้าศูนย์วิจัยการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซ Manop Pithukpakorn โดยระบุว่า
รอการศึกษาแบบนี้มานาน ในที่สุดก็มีคนทำออกมาซะที แม้จะเป็นการศึกษาในอาสาสมัครจำนวนแค่ 30 กว่าคน ทีมนักวิจัยจากเนเธอร์แลนด์ ทดสอบการฉีด Moderna vaccine ใหม่ โดยแทนที่จะฉีดเข้ากล้าม (intramuscular injection: IM) 2 เข็มห่างกัน 4 สัปดาห์
เขาเปลี่ยนเป็นฉีดเข้าชั้นผิวหนัง (intradermal injection: ID) 2 เข็มห่างกัน 4 สัปดาห์เหมือนเดิม จากนั้นทำการวัดระดับ antibody เมื่อฉีดครบแล้ว 2 สัปดาห์ พบว่าระดับ anti-spike และ anti-RBD สูงเทียบเท่ากับการฉีดเข้ากล้ามเลยทีเดียว โดยที่ผลข้างเคียงแทบไม่ต่างจากการฉีดเข้ากล้าม
ข้อดีของการฉีดวัคซีนแบบนี้คือใช้วัคซีนน้อยกว่ามาก ถ้าฉีด 20 microgram จะแบ่งฉีดได้ 5 คน และถ้าใช้แค่ 10 microgram จะแบ่งฉีดได้ ถึง 10 คน ถ้าทำการศึกษาในกลุ่มคนจำนวนมากขึ้น แล้วผลยืนยันไปทางเดียวกัน เราจะแก้ปัญหาวัคซีนประสิทธิภาพสูงไม่พอได้เลย เช่น Pfizer vaccine 20 ล้าน doses แทนที่จะฉีดได้แค่ 10 ล้านคนจะกลายเป็น 50-100 ล้านคน การฉีดแบบนี้ฝึกไม่ยากด้วย เราฉีด intradermal กับยาและวัคซีนหลายชนิดมาก่อนหน้านี้อยู่แล้ว