- 10 ส.ค. 2564
รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาโพสต์ข้อความสถานการณ์โควิด-19ในประเทศไทย ระบุว่า
รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาโพสต์ข้อความสถานการณ์โควิด-19ในประเทศไทย ระบุว่า
สถานการณ์ทั่วโลก 10 สิงหาคม 2564...
ทะลุ 204 ล้านไปแล้ว
เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 512,466 คน รวมแล้วตอนนี้ 204,078,220 คน ตายเพิ่มอีก 7,885 คน ยอดตายรวม 4,315,424 คน
5 อันดับแรกที่มีจำนวนติดเชื้อต่อวันสูงสุด คือ อเมริกา อิหร่าน อินเดีย สหราชอาณาจักร และตุรกี
อเมริกา ติดเชื้อเพิ่ม 93,316 คน รวม 36,760,993 คน ตายเพิ่ม 291 คน ยอดเสียชีวิตรวม 633,770 คน อัตราตาย 1.7%
อินเดีย ติดเพิ่ม 27,429 คน รวม 31,997,017 คน ตายเพิ่ม 376 คน ยอดเสียชีวิตรวม 428,715 คน อัตราตาย 1.3%
บราซิล ติดเพิ่ม 12,471 คน รวม 20,178,143 คน ตายเพิ่ม 237 คน ยอดเสียชีวิตรวม 563,707 คน อัตราตาย 2.8%
รัสเซีย ติดเพิ่ม 22,160 คน รวม 6,469,910 คน ตายเพิ่ม 769 คน ยอดเสียชีวิตรวม 165,650 คน อัตราตาย 2.6%
ฝรั่งเศส ติดเพิ่ม 5,775 คน ยอดรวม 6,310,933 คน ตายเพิ่ม 68 คน ยอดเสียชีวิตรวม 112,288 คน อัตราตาย 1.8%
อันดับ 6-10 เป็น สหราชอาณาจักร ตุรกี อาร์เจนติน่า โคลอมเบีย และสเปน ติดกันหลักพันถึงหลายหมื่น
แถบอเมริกาใต้ ยุโรป แอฟริกา เอเชีย หลายต่อหลายประเทศติดกันเพิ่มหลักพันถึงหลักหมื่น
หากรวมทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ พบว่ามีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 87.64 ของจำนวนติดเชื้อใหม่ทั้งหมดต่อวัน
ส่วนเกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ เมียนมาร์ เวียดนาม ล้วนติดหลักพันอย่างต่อเนื่อง
แถบสแกนดิเนเวีย บอลติก และยูเรเชีย ก็มีการติดเชื้อเพิ่มขึ้นหลักร้อยถึงหลักพัน
แถบตะวันออกกลางส่วนใหญ่ยังติดเพิ่มหลักร้อยถึงหลักพัน ยกเว้นอิหร่านติดเพิ่มหลักหมื่นอย่างต่อเนื่อง
กัมพูชา จีน ลาว และออสเตรเลีย ติดเพิ่มหลักร้อย ส่วนสิงคโปร์ติดเพิ่มหลักสิบ ในขณะที่ไต้หวัน ฮ่องกง และนิวซีแลนด์ ติดเพิ่มต่ำกว่าสิบ
...สำหรับสถานการณ์ของไทยเรา
จำนวนติดเชื้อใหม่เมื่อวานของเราสูงเป็น"อันดับที่ 8" ของโลก
ยอดติดเชื้อสะสมตอนนี้เราอยู่อันดับ 37 และจะแซงจอร์แดนขึ้นเป็นอันดับ 36 ได้หากรวมยอดวันนี้
ในขณะที่จำนวนผู้ป่วยรุนแรงและวิกฤตินั้น ยึดอันดับ 6 ของโลกอย่างต่อเนื่อง
ดังที่เคยบอกไว้ตั้งแต่ต้นว่า มาตรการควบคุมการระบาดที่ดำเนินมาตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันนั้นไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะตัดวงจรการระบาดได้ และจะส่งผลกระทบให้มีการติดเชื้อภายในประเทศกระจายไปอย่างต่อเนื่อง
ดังที่เคยบอกไว้ตั้งแต่ต้นเช่นกันเรื่องวัคซีน กาลเวลาเป็นตัวพิสูจน์ให้เห็นเสมอว่าอะไรเป็นอะไร และผลกระทบที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร อะไรคือสิ่งที่จำเป็นต้องปรับต้องแก้ไข
นโยบายและมาตรการที่ประกาศใช้กับทุกคนในสังคมนั้น จำเป็นต้องใช้ความรู้ที่ถูกต้อง ปราศจากกิเลสเจือปน เพื่อให้เห็นภาพจริงและตัดสินใจบนพื้นฐานความจริงที่ไม่มีอิทธิพลใดๆ มาครอบงำ กระบวนการดำเนินการตั้งแต่ระดมความคิดเห็นจำเป็นต้องเปิดเผยตัวตนและสาระที่เอื้อนเอ่ยทุกคำพูด บันทึกไว้อย่างละเอียด เปิดเผยโปร่งใสชัดเจน และให้สาธารณชนได้ติดตาม เรียนรู้ และตรวจสอบได้
จึงเป็นที่มาที่วันก่อนบอกว่า ไม่ว่าวิกฤติใด หากสังคมนั้นมีการเมืองที่สุจริต วงนโยบายที่ซื่อสัตย์ และวงวิชาการที่ใช้ความรู้ที่ถูกต้อง ไม่จมปลักกับกิเลส ยึดมั่นจริยธรรม ประชาชนในสังคมนั้นก็ย่อมที่จะอุ่นใจ มั่นใจ เกิดศรัทธา มีความเชื่อมั่นว่าจะเกิดนโยบายและมาตรการที่ดี อิงความรู้เชิงประจักษ์ ลดโอกาสผิดพลาด มีโอกาสสำเร็จ ทำให้ทุกคนรอดพ้นจากวิกฤติได้ มีสวัสดิภาพและความปลอดภัยในชีวิต
และไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตาม...ขอถามตรงๆ อีกครั้งว่า
ตามธรรมชาติของสังคมโลก หากทำ"ความชั่ว"แล้วไม่ต้องรับผิด ถือว่ายุติธรรมหรือไม่?
ตามหลักการแล้ว ผิดหรือถูกควรขึ้นกับกระบวนการยุติธรรม ไม่ใช่การออกนิรโทษกรรม หากทำถูกต้องตามหลักวิชาการและกระบวนการทุกอย่างชัดเจนโปร่งใสก็ไม่จำเป็นต้องกลัวการตรวจสอบ
นี่เป็นเรื่องสำคัญที่ควรยึดถือปฏิบัติ