อ.เจษฎา เฉลยแล้ว คลิปปรากฏการณ์ "เมฆาพิโรธ" สูบน้ำขึ้นท้องฟ้า เหมือนนาคเล่นน้ำ แท้จริงคืออะไร

อ.เจษฎา เฉลยแล้ว คลิปปรากฏการณ์ "เมฆาพิโรธ" สูบน้ำขึ้นท้องฟ้า เหมือนนาคเล่นน้ำ แท้จริงคืออะไร

จากกรณีโลกออนไลน์มีการแชร์คลิปจากผู้ใช้ TikTok รายหนึ่ง เผยภาพเหตุการณ์ขณะมีน้ำพุ่งเป็นเส้นระหว่างพื้นกับท้องฟ้าที่ จ.พัทลุง ซึ่งหลังจากนั้นก็มีฝนตกลงมาอย่างหนัก ทำให้คนสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้น ภาพที่เห็นคืออะไรกันแน่ เป็นปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติหรือไม่ บ้างก็แซวว่าเทวดาสูบน้ำขึ้นไปใช้บนสวรรค์

ลาซาด้าแจกคูปองส่วนลด
 

 

ล่าสุด รศ. ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายแล้วว่าคืออะไร ซึ่งไม่ใช้ปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติ หรือเมฆาพิโรธแต่อย่างใด แต่เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เรียกว่า "พายุงวงช้าง" แบบ "นาคเล่นน้ำ" ซึ่งในไทยมีพายุงวงช้างเกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ ทั้งที่เป็นข่าวและไม่เป็นข่าวบ้าง โดยระบุรายละเอียดดังนี้

มีการแชร์คลิปวีดีโอแปลกๆ ดูเหมือนกับมี "สายน้ำ" พุ่งจากพื้น ขึ้นไปสู่ท้องฟ้า โดยมีการเขียนแคปชั่นว่า "เมื่อวานที่พัทลุง หางฟินิกซ์ ดึงน้ำขึ้นไปถล่มจีน ญี่ปุ่น ตุรกี" คลิปวีดีโอนี้เกิดขึ้นที่พัทลุงจริง แต่ไม่ได้เป็นปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติอะไร ไม่ได้ชื่อ "หางฟีนิกซ์" อย่างที่เขาตั้งให้ รวมทั้งไม่ได้ดูดน้ำไปลงในประเทศอื่นๆ ด้วยนะครับ แต่มันเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เรียกว่า "พายุงวงช้าง"แบบ "นาคเล่นน้ำ" นั่นเองครับ 

 

อ.เจษฎา เฉลยแล้ว คลิปปรากฏการณ์ "เมฆาพิโรธ" สูบน้ำขึ้นท้องฟ้า

 

- ในไทยเรามี "พายุงวงช้าง” เกิดขึ้นเป็นระยะๆ อยู่แล้ว มีทั้งที่เป็นข่าวบ้างและไม่เป็นข่าวบ้าง

-  พายุงวงช้าง เป็น "ทอร์นาโด" (tornado) ประเภทหนึ่ง มีลักษณะเป็นรูปกรวยหรืองวงยาว ปลายด้านบนมีเมฆก้อนขนาดใหญ่ ปลายด้านล่างแตะพื้นดินหรือผืนน้ำ แต่เกิดขึ้นโดยที่ไม่มีเมฆฝนฟ้าคะนองแบบ "ซุปเปอร์เซลล์" (supercell)
 จึงมีความรุนแรงน้อยกว่าทอร์นาโดทั่วไป

- การเกิดพายุงวงช้างนั้น เกิดจากลมเฉือน จากด้านข้างซ้าย-ขวา ในแนวระดับที่ผิวพื้นดิน ทำให้เกิดกระแสอากาศ ไหลวนขึ้นในแนวดิ่ง ... กระแสอากาศไหลวนนี้เรียกว่า "ไมโซไซโคลน (misocyclone)" ซึ่งหากหมุนเร็วขึ้น ก็จะแคบเข้าและยืดยาวออกไป จนด้านบนเคลื่อนเข้าสู่ฐานเมฆ ส่งผลให้เมฆเติบโตมีขนาดใหญ่ขึ้น 

 

อ.เจษฎา เฉลยแล้ว คลิปปรากฏการณ์ "เมฆาพิโรธ" สูบน้ำขึ้นท้องฟ้า

 

- พายุงวงช้าง ที่พบในประเทศไทยมักจะเป็นแบบที่เกิดเหนือผืนน้ำ เรียกว่า "วอเทอร์สเปาต์" (waterspout) หรือชื่อไทย คือ “นาคเล่นน้ำ” (หรือ “พวยน้ำ”)

- นาคเล่นน้ำ ส่วนใหญ่ยาวประมาณ 10-100 เมตร แต่ที่ยาวมากถึง 600 เมตรก็เคยพบ เส้นผ่านศูนย์กลาง มีตั้งแต่ที่เล็กแค่ 1 เมตร ไปจนถึงหลาย 10 เมตร

- นาคเล่นน้ำ อาจมีกระแสอากาศหมุนวนเพียงเส้นเดียว หรือหลายเส้นก็ได้ แต่ละเส้นหมุนเร็ว 20-80 เมตรต่อวินาที 

 

อ.เจษฎา เฉลยแล้ว คลิปปรากฏการณ์ "เมฆาพิโรธ" สูบน้ำขึ้นท้องฟ้า

 

- กระแสลมในนาคเล่นน้ำ มักเร็วในช่วง 100-190 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และอาจสูงถึง 225 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

- นาคเล่นน้ำ เคลื่อนที่เร็วในช่วง 3-130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ค่อนข้างช้า ประมาณ 18-28 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

- นาคเล่นน้ำ ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นประมาณ 2-20 นาที ก็จะสลายตัวไป แต่ที่นานถึง 30 นาที ก็เคยพบ

 

อ.เจษฎา

 

ชมคลิป


ลาซาด้าแจกคูปองส่วนลด