- 23 ส.ค. 2564
ศูนย์จีโนมฯ รามา ระบุพบ "เดลตาสายพันธุ์ย่อย" ในประเทศไทย
เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา ทางเพจ Center for Medical Genomics ได้โพสต์ข้อความระบุว่า
เดลตาสายพันธุ์ย่อยปรากฏขึ้นแล้วในไทย! จะส่งผลกระทบต่อการระบาด การป้องกันด้วยวัคซีน หรือการรักษาด้วยยาต้านไวรัสหรือไม่ต้องเฝ้าติดตาม
จากการสุ่มถอดรหัสพันธุ์กรรมทั้งจีโนม (SARS-CoV-2 whole genome sequencing 30,000 bp) เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2564 จากตัวอย่างที่ส่งมาทั่วประเทศ อันเป็นการประสานงานกันระหว่างศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ. รามาธิบดี และ กลุ่มพันธมิตร COVID-19 Network Investigations (CONI) พบ
ข้อมูลรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของตัวอย่างทั้งหมดที่เราถอดได้จะถูกอัพโหลดขึ้นบนฐานข้อมูลโควิดโลก "GISAID" เพื่อให้นานาชาติได้ร่วมกันใช้ประโยชน์ในด้านการป้องกัน ดูแล และรักษาโรคโควิด-19
https://nextstrain.org/community/fai-k/coni/Thailand...
จากการวิเคราะห์สัดส่วนของโควิดกลายพันธุ์ในประเทศไทยด้วยแอพพลิเคชั่น "Nextstrain Thailand" https://www.facebook.com/CMGrama/posts/3568858013221953 พบว่า
B.1.1.7 (อัลฟา) 11%
B.1.351 (เบตา) 14%
B.1.617.2 (เดลตา) 71%
และสายพันธุ์ย่อยของเดลตา
AY.4 หรือ B.1.617.2.4 (สายพันธุ์ย่อยของเดลตา) 3% พบในเขตปทุมธานี
AY.6 หรือ B.1.617.2.6 (สายพันธุ์ย่อยของเดลตา) <1% พบในประเทศไทย
AY.10 หรือ B.1.617.2.10 (สายพันธุ์ย่อยของเดลตา) <1% พบในเขต กทม.
AY.12 หรือ B.1.617.2.15 (สายพันธุ์ย่อยของเดลตา) <1% พบในเขต กทม.
โควิด-19 สายพันธุ์เดลตานอกจากจะมีสายพันธุ์หลักเป็น “B.1.617.2” แล้วยังกระจายตัวแตกเป็นสายพันธุ์ย่อยอีกถึง 27 สายพันธุ์และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คือ B.1.617.2.1- B.1.617.2.22 หรือเรียกให้สั้นว่า AY.1-AY.22
https://www.facebook.com/CMGrama/posts/4229932240447857
สำหรับเดลตาสายพันธุ์ “DeltaPlus” หรือสายพันธุ์ “เนปาล” ที่เคยเป็นข่าว ปรากฏว่ามีการกระจายตัวติดต่อลดลง ปัจจุบันจัดอยู่ในกลุ่มสายพันธุ์ย่อย AY.1 และ AY.2 โดยมีลักษณะเด่นที่ต่างไปจาก B.1.617.2 สายพันธุ์หลักคือมีการเปลี่ยนแปลงของกรดอะมิโนที่ตำแหน่ง 417 จาก “K” เป็น “N” (K417N) เช่นเดียวกับสายพันธุ์เบตา
ที่มา Center for Medical Genomics