หมอธีระวัฒน์ เตือน เด็ก-วัยรุ่น ฉีดไฟเซอร์ เสี่ยงหัวใจอักเสบเพิ่ม

นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา เตือน ในกลุ่มเด็กควรได้รับวัคซีนทั้งหมดครับ แต่มีข้อควรระวังอย่างสูงในกรณีของวัคซีนไฟเซอร์เกี่ยวข้องกับหัวใจอักเสบที่จะพบได้ในกลุ่มอายุเช่นนี้เพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ

จากกรณี พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ขณะนี้กรุงเทพมหานครกำลังเตรียมความพร้อมในการฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มแรกให้กับนักเรียนกลุ่มเสี่ยงสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยประชาสัมพันธ์แจ้งโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร ทั้ง 437 โรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 12 - 18 ปี (กลุ่มเสี่ยงที่มีโรคเรื้อรัง) เข้ารับการฉีดวัคซีนไฟเซอร์กับมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ตั้งแต่วันที่ 21 ก.ย. 64 โดยให้ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ผ่าน QR Code ตั้งแต่วันที่ 6 - 8 ก.ย. 64 ซึ่งนักเรียนที่จะได้รับการฉีดวัคซีนต้องได้รับการประเมินจากแพทย์ โดยมีเอกสารที่ระบุการเจ็บป่วย เช่นใบรับรองแพทย์ หรือใบนัดตรวจสถานพยาบาล หรือใบรับรองความพิการ หรือใบรับรองหรือเอกสารใด ๆ ที่ระบุว่ามีการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังตามเกณฑ์ที่กำหนด

โค้ดส่วนลดลาซาด้า

ทั้งนี้ กรุงเทพมหานคร ได้ทำการสำรวจข้อมูลนักเรียนในสังกัดที่มีอายุระหว่าง 12 - 18 ปี ตามคำแนะนำของราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนเกี่ยวกับการรับวัคซีนโดยสำรวจผู้ที่มีภาวะเสี่ยงและผู้ที่มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรค ดังนี้ ผู้ที่มีภาวะเสี่ยง กลุ่มอายุ 12 - 13 ปี น้ำหนัก 70 กิโลกรัม กลุ่มอายุ 13 - 15 ปี น้ำหนัก 80 กิโลกรัม กลุ่มอายุ 15 - 18 ปี น้ำหนัก 90 กิโลกรัม และผู้ที่มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรค ได้แก่ 1. โรคอ้วน ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น 2. โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง รวมทั้งหอบหืดที่มีอาการปานกลางหรือรุนแรง 3. โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง 4. โรคไตวายเรื้อรัง 5. โรคมะเร็งและภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ 6. โรคเบาหวาน  7. กลุ่มโรคพันธุกรรม รวมทั้งกลุ่มอาการดาวน์ เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางระบบประสาทอย่างรุนแรง และเด็กที่มีพัฒนาการช้า 

นอกจากนี้ กรุงเทพมหานครโดยสำนักอนามัยได้ดำเนินการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการวางแผนการให้บริการฉีดวัคซีนให้กับนักเรียนที่มีอายุระหว่าง 12 - 18 ปี ทุกสังกัดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยจะมีการประชุมหารือแนวทางร่วมกันในวันที่ 9 ก.ย. 64 ซึ่งคาดว่าจะมีการวางแผนร่วมกันตั้งแต่การสำรวจกลุ่มเป้าหมายนักเรียนและผู้ปกครองถึงความประสงค์ให้เข้ารับวัคซีนโควิด-19 การจัดหน่วยสาธารณสุขเพื่อให้บริการฉีดวัคซีน การติดตามอาการภายหลังได้รับวัคซีน และการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติและการเตรียมตัวเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในกลุ่มเด็กนักเรียนอายุระหว่าง 12-18 ปี เนื่องจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับนักเรียนจะต้องดำเนินการควบคู่กับมาตรการป้องกัน และเฝ้าระวังโรคในสถานศึกษาด้วย

สืบเนื่องจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มแรกให้เด็กและวัยรุ่นนั้น ทางด้านของ นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ระบุว่า ในกลุ่มเด็กควรได้รับวัคซีนทั้งหมดครับ แต่มีข้อควรระวังอย่างสูงในกรณีของวัคซีนไฟเซอร์เกี่ยวข้องกับหัวใจอักเสบที่จะพบได้ในกลุ่มอายุเช่นนี้เพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ

การฉีดวัคซีนเชื้อตายสองเข็ม น่าจะให้ความปลอดภัยได้มากกว่า และหลังจากนั้นจะฉีดกระตุ้นต่อด้วยวัคซีนอื่น โดยวิธีเข้าชั้นผิวหนัง ก็ทำได้โดยมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นในการควบคุมสายพันธุ์ต่าง ๆ และให้ความปลอดภัยด้วย
 

หมอธีระวัฒน์

โค้ดส่วนลดลาซาด้า