- 10 ก.ย. 2564
เปิดภาพพร้อมประสบการณ์จากคนเคยนั่ง รถไฟญี่ปุ่นมือ2บริจาคให้ไทย ถึงจะเก่าเเต่มาตรฐานอยู่ในระดับดีกว่าไทย คุ้มเสียเเค่42ล้าน
เกิดดราม่าในโลกออนไลน์ เรื่องของ รถไฟญี่ปุ่นมือ2บริจาคให้ไทย เพื่อเอาไปใช้งานเเบบฟรีๆ ร.ฟ.ท.ออกเงินเเค่ค่าขนย้ายเอง จนชาวเน็ตตั้งคำถามว่าไปเอาเศษเหล็กมาทำไม เนื่องจากรถดีเซลราง (DMU) รุ่น KiHa 183 (คีฮา 183) ของบริษัทรถไฟฮอกไกโด (JR Hokkaido)เริ่มให้บริการครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น ตั้งเเต่ปี 2524 จวบจนวันนี้ก็ผ่านมา40ปีเเล้ว อย่างไรก็ตามรถไฟที่ญี่ปุ่นส่งต่อให้ไทยนั้น เพิ่งปลดระวางไปเมื่อปี 2559
โดย การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้ออกประกาศจัดซื้อจัดจ้าง ขนย้ายรถดีเซลราง JR Hokkaido จากประเทศญี่ปุ่น จำนวน 17 คัน ได้เลือกให้ บริษัท ดอยโกร โพรเจค (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้ขนย้าย ต้องเสียค่าขนย้าย 42.5 ล้านบาท รวมค่าใช้จ่ายที่ท่าเรือประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย ค่าใช้จ่ายในการถอดโบกี้ออกจากรถไฟ และรวมค่าภาษีนำเข้าและค่าภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ตามสัญญาเลขที่ พด.025/2564
(อ่านข่าว - ยลโฉมรถไฟญี่ปุ่นมือ2 ส่งต่อให้ไทยใช้ฟรีๆ "รฟท."ออกค่าขนส่งเอง42ล้าน )
จากเรื่องของ ทางเพจ Thailand Transportation ได้ทำการอธิบายจากประสบการณ์ที่เเอดมินเพจเคยไปสัมผัสเเละเคยนั่งรถไฟขบวนนี้ ....บางท่านอาจจะเข้าใจว่า ภายในตู้โดยสารที่ไทยได้รับมานั่น จะล้าสมัย ไม่สวยเท่าที่ญี่ปุ่นใช้ในปัจจุบัน ต้องบอกตรงจุดนี้นั้น ไม่แตกต่างกันเลยครับอย่างในภาพนี้คือขบวนรถด่วนHokuto วิ่งจากSapporo - Hakodate ซึ่งแอดมินนั่งขบวนนี้ไปต่อรถไฟชิงกันเซ็น ถ่ายเมื่อต้นปี2563 ที่ผ่านมา (ก่อนโควิดระบาดที่ญี่ปุ่น) สังเกตว่า ภายในไม่แตกต่างกันมากนัก
ห้องน้ำเป็นระบบอัตโนมัติครับ วงกลมสีฟ้าตรงกลางภาพคือเซนเซอร์ปิด-เปิด แค่เอามือไปเคลื่อนผ่านอจุกนี้ ระบบชักโครก จะทำงานนำของเสีย ลงถังเก็บทันที ....ส่วนสายฉีดมาถึงไทย ฝ่ายช่างติดตั้งให้ได้ครับ
หลายๆคอมเมนท์ในเพจต่างๆ รวมถึงเพจสื่อหลัก (ที่ได้รับความนิยมในโลกออนไลน์) บอกว่ารถไฟดีเซลราง17คัน ที่การรถไฟฯ ได้รับมาจากJR Hokkaido ประเทศญี่ปุ่น และกำลังเปิดซองประมูลหาผู้ขนส่ง ลงเรือมาไทย มูลค่า 42 ล้านบาท นั้นเป็นของบริจาค เป็นเศษเหล็ก เป็นของทิ้ง
ขออธิบายในฐานะที่แอดมิน เคยนั่งรถไฟขบวนนี้..
มันคือเศษเหล็กตรงไหนครับ!! ก่อนที่มันจะส่งมาไทยมันคือยังวิ่งให้บริการอยู่ แต่ที่ต้องปลดระวาง เนื่องจากมีขบวนรถดีเซลรางรุ่นใหม่ๆ มาทดแทน
อย่าลืมญี่ปุ่นเขาเป็นเจ้าเทคโนโลยีรถไฟ,รถไฟความเร็วสูง การที่เขาจะสร้างรถไฟดีเซลรางใหม่ๆ มาสักรุ่น เพื่อให้เกิดกระบวนการจ้างงาน คนในประเทศเขามีงานทำ เขาก็ต้องทำครับ ส่วนของเก่าจะทำลาย ก็มีค่าใช่จ่ายสูงพอๆกับค่าขนส่งมาไทยนี้แหละ เขาจึงส่งต่อให้ไทย มาใช้
ในภาพคือผมถ่ายเอง ก่อนจะนั่งในขบวนรถนี้ (เมื่อ เม.ย.2559) ที่สถานีAsahikawa กำลังจะทำขบวนรถด่วนจาก Asahikawa ไป Sapporo (ระยะทางประมาณ140 km.)โดยวิ่งมาจากต้นทางคือสถานี Abashiri มีระยะทางรวมไปถึง Sapporo รวม300 กว่าkm. (ไม่มีเสียกลางทาง ถึงSapporo ตรงเวลาเป๊ะๆ) สภาพภายใน ทั้งตัวเบาะ เก้าอี้ที่นั่ง ห้องน้ำ ยังดูดี (เบาะสวยกว่ารถดีเซลรางแดวูของไทยมาก) มาตรฐานการดูแล-บำรุงรักษาของญี่ปุ่น ก็อยู่ในระดับที่ดีกว่าไทย
หลังจากนั้นประมาณ1 ปีก็หยุดให้บริการ จนลากมาจอดที่ท่าเรือ รอขนส่งมาไทย ผ่านไป4 ปี ก็ได้รับงบฯให้ค่าขนย้ายตามข่าวทีทราบๆกัน
ส่วนที่เห็นเป็นคราบสนิม มันก็ต้องมีบ้างจากการตากแดด ตากฝน มาถึงไทยปรับปรุงอีกเล็กน้อย ก็นำออกให้บริการได้
ของดีราคาถูกแบบนี้ ค่าขนย้าย42ล้านบาท คือถูกมาก ถ้าซื้อใหม่ในจำนวนเท่านี้ มือ1 มีงบไม่ต่ำกว่าคันล่ะ30-40 ล้าน (คูณ17คัน=510-560 ล้านบาท) ประหยัดได้เป็นร้อยๆล้านบาท ไม่ดีเหรอครับ
บางครั้งเราต้องมองในเชิงวิศวกรรมหรือเชิงช่างบ้างก็ได้ อย่ามองทุกเรื่องเป็นการเมืองเลยครับ!!
(เนื่องจากแอดมินหาภาพ ภายในของขบวนรถไม่เจอ จึงขอแบ่งปันรูปจาก "กลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน เศรษฐกิจ ตึก สิ่งก่อสร้าง เทคโนโลยี" และเพจกลุ่มคนรักรถไฟ มาเพิ่มเติมให้ชมกันครับ)
ขอบคุณ
Thailand Transportation
ที่มาภาพ Thank
Yosuke Imai