นักธรณีศาสตร์ ม.มหิดล เปิดข้อมูลภูมิภาคใดของประเทศไทย เสี่ยงเกิดแผ่นดินไหว

ดร.ปริญญา พุทธาภิบาล อาจารย์ประจำสาขาวิชาธรณีศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดข้อมูลพื้นที่ภูมิภาคไหนของไทย เสี่ยงเกิดแผ่นดินไหว

ดร.ปริญญา พุทธาภิบาล อาจารย์ประจำสาขาวิชาธรณีศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี  อาจารย์ผู้คร่ำหวอดในแวดวงวิชาการด้านธรณีศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย ได้กล่าวถึงกรณีเกิดเหตุแผ่นดินไหวว่า ประเทศไทยโชคดีที่มีสภาพธรณีสัณฐานที่ค่อนข้างเสถียร ในภาพรวมพบการเคลื่อนที่ของแผ่นดินน้อยมาก เพียงปีละ 1 - 2 มิลลิเมตร เมื่อเทียบกับประเทศที่อยู่ด้านตะวันตกของรอยเลื่อนสกาย (Sagaing fault) ที่มีระนาบรอยเลื่อนเอียงเทไปทางตะวันตกใต้ทะเลอันดามัน ซึ่งพบการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกประมาณ 6 - 8 มิลลิเมตรต่อปี ดังนั้น ตราบใดที่ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพทางธรณีสัณฐานในภูมิภาค โอกาสการเกิดแผ่นดินไหวที่รุนแรงในประเทศไทยน้อยมากๆ โดยเฉพาะพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก

 

นักธรณีศาสตร์ ม.มหิดล เปิดข้อมูลภูมิภาคใดของประเทศไทย เสี่ยงเกิดแผ่นดินไหว

 

ลาซาด้า

 

นอกจากนี้ อาจารย์ ดร.ปริญญา ยังกล่าวอีกว่า ไม่ต้องวิตกจนเกินเหตุแต่ก็ไม่ควรประมาท และได้สะท้อนให้เห็นถึงความเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทยตามลำดับ คือ ภาคเหนือ ภาคใต้ ตามด้วยภาคตะวันตก และภาคกลาง โดยการถอดรหัสจากข้อมูลแหล่งน้ำพุร้อนในประเทศไทย จำนวน 90 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันตก และภาคใต้ ซึ่งทั้งหมดเกิดสัมพันธ์กับแนว "รอยเลื่อนมีพลัง" (Active fault) หรือรอยเลื่อนที่มีการเคลื่อนไหวในช่วง 10,000 ปีที่ผ่านมา และความร้อนใต้พิภพ จากระดับลึกที่เคลื่อนขึ้นมาตามระนาบรอยแตกนั้นๆ พบว่าอุณหภูมิของน้ำพุร้อนส่วนใหญ่ในแหล่งภาคเหนือ และภาคใต้ คือ 80 - 100 องศาเซลเซียส และ 60 - 79 องศาเซลเซียส ตามลำดับ ส่วนอุณหภูมิของน้ำพุร้อนในแหล่งภาคกลางและภาคตะวันตก ต่ำกว่ามากเพียง 37 - 59 องศาเซลเซียส

 

นักธรณีศาสตร์ ม.มหิดล เปิดข้อมูลภูมิภาคใดของประเทศไทย เสี่ยงเกิดแผ่นดินไหว

กรณีศึกษาเมื่อปี 2547 ที่เกิดแผ่นดินไหวขนาด 9.1 - 9.3 แมกนิจูด และเกิดเหตุสึนามิครั้งใหญ่ พบอุณหภูมิน้ำพุร้อนสูงขึ้นตลอดแนวรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ ตั้งแต่น้ำพุร้อนหินดาด อำเภอทองผาภูมิ ตามแนววางตัวลำน้ำแควน้อย ต่อเนื่องไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านบ้านวังมะนาว อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี และพาดลงไปทางปากอ่าวไทย โดยมีการพบว่าบ่อน้ำผิวดินของชาวบ้านที่อยู่เหนือแนวรอยเลื่อนบ่อหนึ่ง น้ำในบ่อมีอุณหภูมิสูงขึ้นถึง 48 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2547 หลังจากแผ่นดินไหวสุมาตราได้ 2 วัน (ก่อนหน้านั้นไม่มีการใช้น้ำ) และจากนั้นอุณหภูมิน้ำค่อยๆ ลดลงวันละ 2 องศาเซลเซียส

 

นักธรณีศาสตร์ ม.มหิดล เปิดข้อมูลภูมิภาคใดของประเทศไทย เสี่ยงเกิดแผ่นดินไหว


การเปลี่ยนแปลงใดๆ ในโลกที่เราอาศัยอยู่ ย่อมส่งผลกระทบต่างๆ ให้เกิดขึ้นได้ ไม่ทางตรง ก็ทางอ้อม ยิ่งเรามีความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของโลกมากขึ้นเท่าใด โลกของเราก็จะปลอดภัยมากขึ้นเท่านั้น

 

ลาซาด้า