รวมธนาคาร "ปล่อยสินเชื่อเงินกู้โควิด" ช่วยเหลือผู้เดือดร้อน เช็กเงื่อนไขรายละเอียด

รวมธนาคาร "ปล่อยสินเชื่อเงินกู้โควิด" ช่วยเหลือผู้เดือดร้อนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอก เช็กเงื่อนไขรายละเอียดมีที่ไหนบ้าง

จากกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ประกาศมาตรการเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2564 สนับสนุนการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ได้อย่างยั่งยืน เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบให้กับลูกหนี้ได้มากขึ้นในสถานการณ์ที่ยังต้องเผชิญกับภาวะการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ นอกจากนี้ธนาคารต่างๆยังได้มีการปล่อยสินเชื่อ เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ประสบปัญหาด้านการเงินในช่วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ซึ่งวันนี้เรารวบรวมข้อมูลธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อโควิด-19 ซึ่งมีเงื่อนไขดังนี้ 

 

ธนาคาร ธ.ก.ส. ออกมาตรการ "สินเชื่อสู้ภัยโควิด-19"

ธนาคาร ธ.ก.ส.


คุณสมบัติผู้กู้ “สินเชื่อสู้ภัยโควิด-19” ต้องเป็นไปตามที่ “ธ.ก.ส.” กำหนด ได้แก่

- เป็นเกษตรกรรายย่อยหรือลูกจ้างภาคการเกษตร สัญชาติไทยอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินฉุกเฉิน
- เป็นผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
 

เงื่อนไขการพิจารณาสินเชื่อ ดังนี้

- ตรวจสอบข้อมูลเครดิตบูโร โดยใช้ผลคะแนนมาพิจารณาผ่อนปรนจากสินเชื่อปกติของธนาคาร
- ต้องไม่เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) หรือต้องมีสถานะปกติ
ทั้งนี้ ช่องทางแจ้งความประสงค์ขอสินเชื่อสู้ภัย ผ่าน Line Official BAAC Family

 

แจกโค้ดส่งฟรีลาซาด้า

ธนาคารกสิกรไทย


กสิกรไทย ออกโครงการพิเศษส่งความช่วยเหลือเร่งด่วน เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ร้านอาหารราย​เล็กและร้านค้ารายย่อย ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ให้เข้าถึงเงินทุนได้ง่าย ภายใต้โครงการพิเศษ “เงินกู้สู้ไปด้วยกัน” อนุมัติง่าย ดอกเบี้ย 3% พักชำระเงินต้น 3 เดือน วงเงินกู้สูงสุด 300,000 บาท ไม่ต้องมีหลักประกัน ฟรีค่าธรรมเนียมทุกประเภท ผลักดันให้ร้านอาหารและร้านรายย่อยมีเงินทุนในการทำธุรกิจให้ไปต่อได้ คาดหวังช่วยร้านค้ารายย่อยได้ 35,000 ราย วงเงินสินเชื่อ 3,500 ล้านบาท นอกจากนี้ ธนาคารฯ ยังออกมาตรการพักชำระหนี้ 2 เดือน ตั้งแต่งวดกรกฎาคม 2564 เพื่อช่วยลูกค้าเอสเอ็มอีและลูกค้ารายย่อยที่ต้องปิดกิจการตามมาตรการของทางการ

 

 

ธนาคารกรุงไทย    

ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยเพิ่มเติม 3 มาตรการ โดยคาดการณ์ช่วยเหลือลูกค้าสินเชื่อบุคคล 6 หมื่นล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และลดภาระทางการเงินให้กับลูกค้าสินเชื่อรายย่อยที่ได้รับผลกระทบของโควิด-19 ระลอกใหม่ ซึ่งมาตรการสำหรับลูกค้าสินเชื่อบุคคลที่มีสถานการณ์ชำระหนี้เป็นปกติ หรือ ไม่ค้างชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยเกินกว่า 90 วัน ประกอบด้วย

- สินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อ Home for Cash สินเชื่อกรุงไทยบ้านให้เงิน (Home Easy Cash) วงเงินกู้แบบมีกำหนดระยะเวลา (Term Loan) พักชำระเงินต้นและชำระดอกเบี้ยบางส่วน สูงสุด 12 เดือน หรือ ขยายระยะเวลาโดยลดอัตราผ่อนชำระ สูงสุด 12 เดือน หรือ พักชำระเงินต้น โดยชำระเฉพาะดอกเบี้ย สูงสุด 3 เดือน


- สินเชื่อส่วนบุคคล วงเงินกู้แบบมีกำหนดระยะเวลา (Term Loan) ลดการผ่อนชำระค่างวดลง 30% นานสูงสุด 6 เดือน


- สินเชื่อวงเงินกู้แบบหมุนเวียน (Revolving Loan) ได้แก่ สินเชื่อกรุงไทยธนวัฏ สินเชื่อกรุงไทยธนวัฏ  5 Plus ปรับเป็นวงเงินกู้แบบมีกำหนดระยะเวลา (Term Loan) ได้นาน 48 งวด หรือตามความสามารถในการชำระหนี้  นอกจากนี้ ธนาคารได้ออกมาตรการฟื้นฟูธุรกิจ 2 มาตรการ ประมาณการความช่วยเหลือรวมกว่า 3 หมื่นล้านบาท ดังนี้

 

มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู สินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 2% ต่อปี ใน 2 ปีแรก (อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 5 ปี ไม่เกิน 5% ต่อปี) ผ่อนชำระสูงสุดไม่เกิน 10 ปี ได้รับยกเว้นดอกเบี้ย 6 เดือนแรก รวมทั้งได้รับการค้ำประกันสินเชื่อจากบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) นานสูงสุด 10 ปี เปิดกว้างให้ลูกค้าเดิมและลูกค้าใหม่  ลูกค้าเดิมที่มีวงเงินไม่เกิน 500 ล้านบาท ณ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ขอกู้ได้ไม่เกิน 30% ของวงเงินเดิมที่มีอยู่กับธนาคาร สูงสุดไม่เกิน 150 ล้านบาท  ลูกค้าใหม่ที่ไม่เคยมีวงเงินสินเชื่อกับธนาคารและสถาบันการเงินอื่น ณ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ขอกู้ได้ไม่เกิน 20 ล้านบาท (นับรวมวงเงินสินเชื่อจากสถาบันการเงินทุกแห่ง) 


สำหรับลูกค้าบุคคลที่สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการได้จนถึง 31 ธันวาคม 2564 ผ่านเว็บไซต์ https://krungthai.com/link/retail-covid19 ส่วนลูกค้าธุรกิจที่ประสงค์เข้าร่วมโครงการ ศึกษารายละเอียดได้ที่ https://krungthai.com/link/business-covid19 หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา สำนักงานธุรกิจทั่วประเทศ หรือ Krungthai

ธนาคารออมสิน ออกมาตรการ "สินเชื่อสู้ภัยโควิด-19"

 

คุณสมบัติผู้ขอสินเชื่อที่ “สินเชื่อสู้ภัยโควิด-19” ได้แก่

- มีสัญชาติไทย อายุ 20 ปีขึ้นไป 
- เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ หรือ ผู้ประกอบการรายย่อย หรือเป็นผู้มีรายได้ประจําของหน่วยงานเอกชนที่ได้รับผลกระทบกระทบจากโควิด-19
- ไม่เป็นผู้มีรายได้ประจําจากภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ
- มีแอปพลิเคชั่น  “MyMo” ก่อนวันที่ 1 พ.ค. 64 เนื่องจาก สินเชื่อสู้ภัยโควิด–19 ของธนาคารออมสินจะต้องขอสินเชื่อผ่านแอปฯ MyMo เท่านั้น
 
ทั้งนี้ ผู้ที่เคยได้รับสินเชื่อฉุกเฉิน 10,000 บาท และสินเชื่อเสริมพลังฐานราก 50,000 บาท ก็สามารถขอสินเชื่อสู้ภัยโควิด-19 ได้

ธนาคารออมสิน ออกมาตรการ "สินเชื่อสู้ภัยโควิด-19"


 

ธนาคารกรุงเทพ

 
ออกมาตรการ "สินเชื่อบัวหลวงสุขใจ" เงินกู้อเนกประสงค์ ที่จะมาเติมเต็มช่วยเหลือผู้ที่ต้องการเงินไปปรับสภาพคล่อง โดยหากยืมเงินที่ 15,000 บาท เลือกผ่อนชำระเงินคืน 60 เดือน ก็ผ่อนเพียงเดือนละ 500 บาท หากยืม 50,000 บาท ผ่อนคืน 60 เดือน ก็เพียงเดือนละ 1,400 บาท แต่ถ้ากู้ที่ 150,000 บาท ต่อเดือนที่ต้องจ่ายก็ 4,000 บาท เท่านั้น

 

วงเงินอนุมัติ เบิกรับเต็มจำนวน เข้าบัญชีทันใจ

- วงเงินสูงสุด 5 เท่าของรายได้ประจำต่อเดือน ตั้งแต่ 15,000 - 1 ล้านบาท อนุมัติและรับเงินก้อนเข้าบัญชีเงินเดือนของคุณทันที
- ชำระคืน สบาย ๆ สูงสุด 60 เดือน

 

ผ่อนสบายแบบลดต้นลดดอก สูงสุด 60 เดือน เลือกระยะเวลาผ่อนชำระเองได้ และชำระคืนด้วยยอดเงินเท่า ๆ กันทุกเดือน
สะดวกสบาย สมัครง่าย ไม่ยุ่งยาก คล่องตัวยิ่งขึ้นโดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ หรือบุคคลค้ำประกัน

 

ค่าธรรมเนียม

- ฟรี ค่าธรรมเนียมดำเนินการ
- ค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงินกู้
- ค่าธรรมเนียมการชำระคืนก่อนกำหนด (ปีแรก) 2% ของเงินต้นคงเหลือ
- ค่าธรรมเนียมการขอใบแจ้งยอดบัญชีสินเชื่อ (ย้อนหลังเกิน 3 เดือน) 200 บาทต่อฉบับ
 

เอกสารประกอบการขอสินเชื่อ

- บัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน
- สลิปเงินเดือน (ต้นฉบับ) หรือหนังสือรับรองเงินเดือนจากบริษัท (ย้อนหลังไม่เกิน 2 เดือน นับจากปัจจุบัน)
- บัญชีธนาคารที่เงินเดือนเข้าย้อนหลัง 6 เดือนต่อเนื่องกัน นับจากปัจจุบัน
- สมุดบัญชีธนาคารหน้าแรกที่เงินเดือนเข้าเพื่อโอนเงินสินเชื่อบัวหลวงสุขใจเข้าบัญชี


ช่องทางการชำระเงิน

- ชำระโดยการหักบัญชีอัตโนมัติจากเงินฝากสะสมทรัพย์ (บัญชีเงินเดือน) ที่มีกับธนาคารกรุงเทพ
- ชำระเพิ่มเติมด้วยเงินสด หรือเช็ค ณ เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงเทพ ทุกสาขาทั่วประเทศ
 

อัตราดอกเบี้ย

- วงเงิน (บาท) ไม่เกิน 30,000 อัตราดอกเบี้ยกรณีปกติ (ต่อปี) 23%
- วงเงิน (บาท) 30,001 - 100,000 อัตราดอกเบี้ยกรณีปกติ (ต่อปี) 21%
- วงเงิน (บาท) 100,001 - 200,000 อัตราดอกเบี้ยกรณีปกติ (ต่อปี) 20%
- วงเงิน (บาท) 200,001 - 300,000 อัตราดอกเบี้ยกรณีปกติ (ต่อปี) 18%
- วงเงิน (บาท) 300,001 - 1,000,000 อัตราดอกเบี้ยกรณีปกติ (ต่อปี) 16%
 

- เพดานอัตราดอกเบี้ย รวมค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องสำหรับสินเชื่อที่ทำสัญญาก่อนวันที่ 1 สิงหาคม 2563 เท่ากับ 28% ต่อปี
- เพดานอัตราดอกเบี้ย รวมค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องสำหรับสินเชื่อที่ทำสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2563 เป็นต้นไป เท่ากับ 25% ต่อปี
- อัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ คิดจากอัตราดอกเบี้ยกรณีปกติสูงสุดตามสัญญาบวกเพิ่มไม่เกิน 3% ต่อปี ของยอดเงินต้นในค่างวดที่ผิดนัดชำระ ทั้งนี้ เมื่อรวมแล้วไม่เกินเพดานอัตราดอกเบี้ย รวมค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้อง โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 เป็นต้นไป
- ในการเรียกเก็บอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ข้างต้น มีระยะเวลาผ่อนผัน (Grace Period) 7 วัน นับจากวันครบกำหนดชำระคืน

 

ขอบคุณข้อมูล : ธนาคารกรุงไทย  , ธนาคารธ.ก.ส. , ธนาคารกสิกร , ธนาคารออมสิน , ธนาคารกรุงเทพ

 

แจกโค้ดส่งฟรีลาซาด้า