เลิกจ้างเพราะตั้งครรภ์ ผิดกฎหมาย นายจ้างเสี่ยงคุก

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานชี้แจงข้อสงสัยกรณีนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุมีครรภ์ ถือว่านายจ้างมีความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

วานนี้ (17 ก.ย.2564) นางโสภา เกียรตินิรชา โฆษกกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวว่า ตามที่มีข่าวกรณีลูกจ้างหญิงร้องเรียนว่า นายจ้างเลิกจ้างเพราะตั้งครรภ์ และนายจ้างไม่จ่ายค่าจ้าง ค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างเพราะตั้งครรภ์ไม่เป็นธรรม นั้น

เลิกจ้างเพราะตั้งครรภ์ ผิดกฎหมาย นายจ้างเสี่ยงคุก

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้มอบหมายให้สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนนทบุรี (สสค.นนทบุรี) ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงพบว่า ลูกจ้างได้ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 (สรพ.5) เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2564 ว่า บริษัทเลิกจ้างเพราะตั้งครรภ์ และลูกจ้างผู้ร้องมีความประสงค์เรียกร้องเงินตามกฎหมาย ได้แก่ ค่าจ้างจากการทำงาน ค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม 

เลิกจ้างเพราะตั้งครรภ์ ผิดกฎหมาย นายจ้างเสี่ยงคุก

โดย สรพ.5 ได้ส่งคำร้องให้ สสค.นนทบุรี ดำเนินการเนื่องจากเป็นที่ตั้งของสถานประกอบกิจการ โดยพนักงานตรวจแรงงานได้สอบข้อเท็จจริงในส่วนของลูกจ้างและรวบรวมหลักฐานเอกสารและจะเรียกนายจ้างมาให้ข้อเท็จจริงเพื่อดำเนินการต่อไป

โปรโมชั่นพิเศษลาซาด้า

ทั้งนี้ หากปรากฏว่านายจ้างเลิกจ้างเพราะตั้งครรภ์ ถือว่านายจ้างกระทำความผิดฐานฝ่าฝืนพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 43 ที่ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ซึ่งเป็นหญิงเพราะเหตุมีครรภ์ พนักงานตรวจแรงงานจะมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง ค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชย ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง 

ในกรณี นายจ้าง ไม่ปฏิบัติตามและไม่นำคดีขึ้นสู่ศาล ถือว่านายจ้างได้กระทำความผิดอาญา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และกรณีไม่ปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับอีกด้วย
 

โปรโมชั่นพิเศษลาซาด้า