- 03 ต.ค. 2564
รายจ่ายและรายรับ นักเรียน ทุกระดับการศึกษาภาคบังคับ รัฐบาลกู้ 2 แสนล้านเพื่ออะไร เมื่อนักเรียนไม่ได้ไปโรงเรียนเกือบ2ปี
นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สอบถามความคืบหน้าการจ่ายเงินเยียวยา โครงการให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 2,000 บาท ให้แก่นักเรียน นักศึกษา หรือผู้ปกครอง ทั้งในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และนอกสังกัด ศธ.ทุกคน ทั่วประเทศ จำนวน 10,952,960 คน รวมเป็นเงินประมาณ 21,905,920,000 บาท
ขณะนี้ในภาพรวม มีการจ่ายเงินเยียวยาไปแล้ว จำนวน 10,258,424 คน รวมเป็นเงิน 20,516,848,000 บาท คิดเป็น 93.66% ของนักเรียนที่มีสิทธิทั้งหมด โดยจำแนกเป็น
หน่วยงานในสังกัด ศธ. จ่ายเงินเยียวยาแล้ว จำนวน 9,569,466 คน เป็นเงินประมาณ 1.9 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 97.75% จากนักเรียนที่มีสิทธิทั้งหมด 9,709,019 คน
หน่วยงานนอกสังกัด ศธ. จ่ายเงินเยียวยาแล้ว จำนวน 688,958 คน เป็นเงินประมาณ 1.3 พันล้านบาท และคิดเป็น 59.24% จากนักเรียนที่มีสิทธิทั้งหมด 1,162,941 คน
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวด้วยว่า นายกรัฐมนตรีได้ชื่นชมทุกฝ่ายร่วมมือกันทำงานอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตาม ตนได้สั่งการให้ทุกหน่วยงาน ทุกสังกัด เร่งรัดดำเนินการจ่ายเงิน 2,000 บาท ให้เงินถึงมือนักเรียน นักศึกษา หรือผู้ปกครองที่เหลือโดยเร็ว ยืนยันว่านักเรียนที่มีสิทธิทุกคนจะได้รับเงิน และหากมีปัญหาให้ติดต่อที่สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) ในพื้นที่
เพื่อให้การดำเนินโครงการฯ และการเบิกจ่ายเงิน เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการและมติคณะรัฐมนตรี จึงได้เสนอขอขยายระยะเวลาดำเนินโครงการให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกระทรวงศึกษาธิการ จากเดือนสิงหาคม-กันยายน 2564 เป็นเดือนสิงหาคม-ธันวาคม 2564
ทั้งนี้ หากมาสำรวจรายจ่ายและรายรับของนักเรียน ทุกระดับ ในวัยการศึกษาภาคบังคับ โดยแต่ละปีรัฐไทยเทงบประมาณเพื่อจัดการศึกษาในระดับขั้นพื้นฐาน(อนุบาล-ม.6) เป็นอันดับ1 ของทุกกระทรวงในประเทศ ด้วยวงเงินกว่า 5 แสนล้านบาท รัฐบาลต้องกู้ 2 แสนล้านบาทเพื่ออะไร ทั้งๆที่นักเรียนเรียนออนไลน์ ไม่ได้ไปโรงเรียนเกือบ2ปี
ค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน(อนุบาล-ม.6) ที่รัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)จัดสรรให้กับ "นักเรียน" แต่ละคน ผ่านงบประมาณตามแผนงานยุทธศาสตร์สร้างความเสมอภาคทางการศึกษา โครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน กิจกรรมการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษา ขั้นพื้นฐานงบเงินอุดหนุน จำนวน 5 รายการ ดังนี้
1.ค่าจัดการเรียนการสอน
ค่าจัดการเรียนการสอน หมายถึง เงินงบประมาณ งบเงินอุดหนุน ประเภทเงินอุดหนุนทั่วไป เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ "นักเรียน" ได้แก่ เงินอุดหนุนรายหัว ปัจจัยพื้นฐานสาหรับนักเรียนยากจน โดยมีเกณฑ์และแนวทางการดาเนินการ ดังนี้
1.1 เงินอุดหนุนรายหัว สำหรับนักเรียนทั่วไป
1.1.1 เงินอุดหนุนรายหัว จัดสรรให้ "นักเรียน" ทุกคนตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีอัตราการจัดสรรจำแนกตามระดับ ดังนี้
ระดับก่อนประถมศึกษา 1,700 บาท/คน/ปี (ภาคเรียนละ 850 บาท/คน)
ระดับประถมศึกษา 1,900 บาท/คน/ปี (ภาคเรียนละ 950 บาท/คน)
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 3,500 บาท/คน/ปี (ภาคเรียนละ 1,750 บาท/คน)
1.1.2.2 ค่าปัจจัยพื้นฐานสาหรับนักเรียนยากจน มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2550 เห็นชอบให้ปรับอัตรา เงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจน ดังนี้
ระดับประถมศึกษา 1,000 บาท/คน/ปี (ภาคเรียนละ 500 บาท/คน)
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 3,000 บาท/คน/ปี (ภาคเรียนละ 1,500 บาท/คน)
2. ค่าหนังสือเรียน
2.1 งบประมาณค่าหนังสือเรียนที่ได้รับปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้รับงบประมาณปี พ.ศ. 2563 เป็นค่าหนังสือ เสริมประสบการณ์สาหรับระดับก่อนประถมศึกษา ค่าหนังสือเรียนทุกระดับชั้น และแบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน เฉพาะ ป.1 - ป.6 ใน 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ในการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อจัดสรรให้นักเรียนมีหนังสือใช้เรียน ครบทุกคน ดังนี้
มูลค่าหนังสือต่อชุด
ก่อนประถมศึกษา 200 บาท/คน/ปี
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 = 625 บาท/คน/ปี
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 = 619 บาท/คน/ปี
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 = 622 บาท/คน/ปี
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 = 670 บาท/คน/ปี
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 = 806 บาท/คน/ปี
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 = 818 บาท/คน/ปี
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 = 764 บาท/คน/ปี
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 = 877 บาท/คน/ปี
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 = 949 บาท/คน/ปี
3. ค่าอุปกรณ์การเรียน
3.1 งบประมาณค่าอุปกรณ์การเรียน ค่าอุปกรณ์การเรียน หมายถึง อุปกรณ์การเรียนที่จำเป็นและส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพ ผู้เรียน ได้แก่ สีเทียน สีน้า ดินน้ามันไร้สารพิษ กรรไกรสาหรับเด็กปฐมวัย กระดาษ สมุด ดินสอ ปากกา ยางลบ ไม้บรรทัด กระเป๋านักเรียน ฯลฯ ในอัตราดังนี้
ระดับก่อนประถมศึกษา 200 บาท/คน/ปี (ภาคเรียนละ 100 บาท/คน)
ระดับประถมศึกษา 390 บาท/คน/ปี (ภาคเรียนละ 195 บาท/คน)
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 420 บาท/คน/ปี (ภาคเรียนละ 210 บาท/คน)
4. ค่าเครื่องแบบนักเรียน
4.1 งบประมาณค่าเครื่องแบบนักเรียน ค่าเครื่องแบบนักเรียน ประกอบด้วย เสื้อ กางเกง กระโปรง ในอัตรา ดังนี้
ระดับก่อนประถมศึกษา 300 บาท/คน/ปี
ระดับประถมศึกษา 360 บาท/คน/ปี
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 450 บาท/คน/ปี
5. ค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
5.1 งบประมาณค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน งบประมาณพัฒนากิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนต่อนักเรียน 1 คน ดังนี้
ก่อนประถมศึกษา 430 บาท/คน/ปี (ภาคเรียนละ 215 บาท/คน)
ประถมศึกษา 480 บาท/คน/ปี (ภาคเรียนละ 240 บาท/คน)
มัธยมศึกษาตอนต้น 880 บาท/คน/ปี (ภาคเรียนละ 440 บาท/คน)
รวมแล้วใน 1 ปีการศึกษา "นักเรียน" ได้รับการจัดสรรงบประมาณ ตามรายหัวของแต่ละคน จำแนกตามลำดับชั้นที่ "นักเรียน" กำลังศึกษาได้ดังนี้
ระดับก่อนประถมศึกษา 2,830 บาท /คน /ปี
ระดับประถมศึกษา 4,830 บาท /คน /ปี
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 9,150 บาท /คน /ปี
"นักเรียน" ในระดับ ก่อนประถม กับประถมศึกษา ยังมีเพิ่มอีก 2 รายการ ดังนี้
อาหารเสริม(นม) หรือนมโรงเรียน คนละ 8 บาท จำนวน 260 วัน เป็นเงิน 2,080 บาท
อาหารกลางวัน คนละ 20 บาท จำนวน 200 วัน เป็นเงิน 4,000 บาท
สรุป ในระดับก่อนประถมศึกษา รัฐบาล จัดสรรงบประมาณ สำหรับตัวนักเรียน เป็นเงินประมาณ 8,910 บาท /คน / ปี ในระดับประถมศึกษา 10,910 บาท /คน /ปี และระดับมัธยมศึกษา 9,150 บาท /คน /ปี
ตามรายงานจัดสรรงบประมาณทั้งหมด ในเวลานี้ยังมีเงินค้างจ่ายให้กับ “นักเรียน” อยู่ที่โรงเรียน หลายรายการ เช่น กิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน งบอาหารกลางวัน ที่ไม่สามารถดำเนินการได้ในเวลานี้และยังมี เงินอุดหนุนรายหัว ที่โอนให้กับสถานศึกษาโดยตรง เพื่อใช้ในการดำเนินการจัดการเรียนการสอน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ของสถานศึกษา
เมื่อพิจารณา จากงบประมาณดังกล่าวที่รัฐจัดสรรให้ "นักเรียน" ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ แล้ว ยังพบว่ารัฐบาลลุงตู่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดย นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ได้ดำเนินการกู้เงินเพื่อใช้จ่ายในการเยียวยาผู้ปกครองนักเรียน หรือเงินเยียวยานักเรียน2,000 บาท ช่วยนักเรียนทุกสังกัดทั่วประเทศ
อย่าให้เด็กต้องออกมาถามว่า เงินหนูอยู่ไหน เนื่องจากมีการปิดเรียนในห้องเรียน หรือปิดสถานศึกษาเกือบ 2 ปี เนื่องจากสถานการณ์การแแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ดังนั้นกระทรวงศึกษาธิการ ควรจะปรับเปลี่ยนงบประมาณที่ยังไม่ได้เบิกจ่ายหรืออาจจะดำเนินการทั้ง 2 อย่างควบคู่กันไปก็ได้ เพื่อลดภาระผู้ปกครองนักเรียน ในภาวะที่ยากลำบากเช่นนี้
ขอบคุณ