"สนธิญา" ยื่นค้าน "ศรีสุวรรณ" ปมจี้สอบนายกครอบงำพลังประชารัฐ

"สนธิญา สวัสดี" ยื่นค้าน "ศรีสุวรรณ จรรยา" ปมจี้สอบนายกครอบงำพลังประชารัฐ

เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมามีรายงานว่า นายสนธิญา สวัสดี ที่ปรึกษากรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร เข้ายื่นหนังสือต่อกกต. เพื่อคัดค้านการร้องของ นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ที่ยื่นเรื่องต่อกกต.ให้วินิจฉัยส่งศาลรัฐธรรมนูญพิจารณายุบพรรคพลังประชารัฐ ในกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แทรกแซงพรรคการเมือง จากกรณีเรียก 6 รัฐมนตรีหารือ เมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2564 ว่าเข้าข่ายครอบงำหรือชี้นำพรรคการเมือง

 

\"สนธิญา\" ยื่นค้าน \"ศรีสุวรรณ\" ปมจี้สอบนายกครอบงำพลังประชารัฐ

โดยที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) นายสนธิญา สวัสดี ได้เดินทางไปยื่นหนังสือคัดค้านการร้องสอบนายกรัฐมนตรี ในประเด็นเข้าข่ายครอบงำหรือชี้นำพรรคพลังประชารัฐ

ซึ่งก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 27 ต.ค.2564 นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสามคมพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนถึง กกต. ให้วินิจฉัยกรณี นายกรัฐมนตรี ได้เรียก 6 รัฐมนตรีของพรรคพลังประชารัฐเข้าหารือ ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องภายในพรรคพลังประชารัฐ แม้โฆษกรัฐบาลจะออกมาแก้เกี้ยวว่าหารือกิจการบ้านเมืองธรรมดาทั่วไป แต่ตนเชื่อว่าโซเชียลมีเดียและสังคมไทยไม่เชื่อ เพราะหลังการหารือดังกล่าว นำมาสู่การวิพากษ์วิจารณ์เกิดการเปลี่ยนแปลงในพรรคมากมาย โดยเฉพาะการปรับรื้อโครงสร้างพรรค และยังนัดประชุมด่วนของกรรมการบริหารพรรคในวันที่ 28 ต.ค. มันเป็นผลสืบเนื่องจากการหารือของ 6 รัฐมนตรีกับนายกฯ

 

\"สนธิญา\" ยื่นค้าน \"ศรีสุวรรณ\" ปมจี้สอบนายกครอบงำพลังประชารัฐ

 

พฤติการณ์ดังกล่าวอาจเข้าข่ายบุคคลใด ที่อาจมิใช่สมาชิกของพรรคการเมืองเข้าไปครอบงำ หรือชี้แนะ ชี้นำการดำเนินกิจการของพรรคการเมืองได้ ซึ่งเป็นข้อห้ามตามพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง ในมาตรา 28 และมาตรา 29

มาตรา 28 ระบุเรื่องห้ามมิให้พรรคใดให้บุคคลภายนอก ซึ่งมิใช่กรรมการบริหาร มิใช่สมาชิกเข้ามาชี้นำหรือครอบงำกิจกรรมทางการเมืองได้ ส่วนมาตรา 29 ระบุชัดว่า ห้ามมิให้บุคคลใด ซึ่งมิใช่สมาชิกพรรค เข้ามาครอบงำ หรือชี้นำกิจกรรมทางการเมืองได้

นายสนธิญา กล่าวว่า การที่ตนยื่นต่อกกต.เพื่อคัดค้านคำร้องของนายศรีสุวรรณ เนื่องมาจากพล.อ.ประยุทธ์ มาตามกระบวนการปกครองระบอบประชาธิปไตย และบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา 88และมาตรา 89 (1)(2) จากการที่พรรคพลังประชารัฐเสนอพล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯเพียงคนเดียว ก็ถือได้ว่าเป็นตัวแทนพรรคพลังประชารัฐ อีกทั้งนายศรีสุวรรณ ได้เห็นใบลาอออกของกรรมการบริหารพรรคทั้ง 9 คนแล้วหรือยัง จึงจะถือได้ว่ามีหลักฐานจริง

 

ศรีสุวรรณ ร้องสอบนายก

 

นายกฯได้พูดคุยกับ 6 รัฐมนตรีของพรรคพลังประชารัฐ โดยใช้ห้องทำงานภายในทำเนียบรัฐบาล ซึ่งเป็นห้องเดียวกันกับเมื่อวันที่ 19 ต.ค. พล.อ.ประยุทธ์ ได้เชิญ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกฯ และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย เข้าหารือ

และหากเป็นเช่นนั้นก็ถามว่าพล.อ.ประยุทธ์ แทรกแซงหรือครอบงำการทำงานของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และหัวหน้าพรรคภูมิใจไทยได้หรือไม่ ซึ่งถ้าพล.อ.ประยุทธ์ ครอบงำพรรคได้จริง แล้วทำไมพรรคพลังประชารัฐยังคงเกิดความวุ่นวายอยู่

"วันนี้ผมมายื่นต่อกกต. คัดค้านข้อกล่าวหาของนายศรีสุวรรณว่านายกฯครอบงำพรรคพลังประชารัฐจริงหรือไม่ และขอให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงว่าไม่มีเหตุผลอันสมควรและเป็นกระบวนการที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่

ถ้าหากเป็นเท็จจะเข้าข่ายใส่ร้าย พล.อ.ประยุทธ์ และพรรคพลังประชารัฐหรือไม่ ซึ่งจะมีความผิดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 และขอเตือนว่ายังมีความผิดอาญา มาตรา 108 กรณีให้เอกสารเท็จกับเจ้าหน้าที่ราชการ"

 

 

\"สนธิญา\" ยื่นค้าน \"ศรีสุวรรณ\" ปมจี้สอบนายกครอบงำพลังประชารัฐ