โปรดทราบ คำศัพท์คอมพิวเตอร์ เหล่านี้ ไม่ใช่คำศัพท์ที่ ราชบัณฑิตฯ บัญญัติ

โปรดทราบ จิ๋วระทวย - แท่งภาระ - จุดอิทธิฤทธิ์ คำศัพท์คอมพิวเตอร์ เหล่านี้ ไม่ใช่คำศัพท์ที่ ราชบัณฑิตยสถาน บัญญัติ

หลายๆ คนอาจจะเคยเห็นคำศัพท์แปลกๆ ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในอินเทอร์เน็ต หรือแม้กระทั่งกลุ่มวัยรุ่นพูดใส่กันบ้างเป็นบางครั้ง ซึ่งเชื่อเลยว่าบางคำศัพท์นั้น อาจจะฟังดูแปลกไป แต่เมื่อเข้าไปค้นคำในราชบัณฑิตยสถาน ก็เห็นทั้งคำและความหมายครบเสร็จสรรพ แต่ก็มีบางคำที่ทาง ราชบัณฑิตยสถาน ไม่ได้บัญญัติไว้ 

ศัพท์คอมพิวเตอร์ เหล่านี้ ไม่ใช่คำศัพท์ที่ ราชบัณฑิตสถาน บัญญัติ

 

อย่างล่าสุด นางกาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิต และนายกสมาคมครูภาษาไทยแห่งประเทศไทย ได้ออกมาชี้แจงและอธิบายให้เข้าใจโดยทั่วกันเรื่อง คำศัพท์คอมพิวเตอร์ ที่บางคำถูกใช้อย่างแพร่หลาย และมีการอ้างว่า ราชบัณฑิตยสถาน บัญญัติ

นางกาญจนา นาคสกุล อธิบายว่า มี คำศัพท์คอมพิวเตอร์ ที่ลงในอินเตอร์เน็ต อ้างว่าเป็นคำศัพท์ที่ ราชบัณฑิตยสถาน บัญญัติ ทั้งที่ไม่เป็นความจริง สร้างความเข้าใจผิดให้แก่ประชาชนอย่างมาก ซึ่งคำศัพท์ดังกล่าวประกอบด้วย

ศัพท์คอมพิวเตอร์ เหล่านี้ ไม่ใช่คำศัพท์ที่ ราชบัณฑิตสถาน บัญญัติ

- ละมุนพรรณ หมายถึง ซอฟต์แวร์ (Software) 
- กระด้างพรรณ หมายถึง ฮาร์ดแวร์ (Hardware) 
- จิ๋วระทวย แปลมาจากคำว่า ไมโครซอฟต์ (Microsoft) โดย Micro แปลว่า เล็ก จิ๋ว และ soft แปลว่า อ่อนนุ่ม
- จุดอิทธิฤทธิ์ แปลจาก พาวเวอร์พอยท์ (Power Point) 
- ปฐมพิศ แปลจาก วิชวลเบสิก (Visual Basic) 
- พหุภาระ แปลจาก มัลติทาสก์กิ้ง (Multitasking)
- แท่งภาร  แปลจาก ทาสก์บาร์ (Taskbar)
‘ยืนเอกา’ แปลจากสแตนอโลน (Standalone)

ศัพท์คอมพิวเตอร์ เหล่านี้ ไม่ใช่คำศัพท์ที่ ราชบัณฑิตสถาน บัญญัติ

"ขอยืนยันว่าศัพท์ดังกล่าว ไม่ใช่การแปลความโดยราชบัณฑิต โดยการบัญญัติคำศัพท์คอมพิวเตอร์ของราชบัณฑิต มีคณะกรรมการบัญญัติศัพท์คอมพิวเตอร์ เป็นผู้ดูแลโดยเฉพาะ และการแปลความจะเน้นว่า ต้องไม่ใช้ภาษากำกวม หยาบคาย หรือสองแง่สองง่าม" นางกาญจนา นาคสกุลยืนยัน 


นางกาญจนา อธิบายต่อไปอีกว่า ตามหลักการ จะมีบางคำศัพท์ที่ต้องบัญญัติขึ้นใหม่ แต่ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการเรียกทับศัพท์ ขอเตือนผู้ที่โพสต์ข้อความในลักษณะดังกล่าวให้เลิกทำ และตนจะเสนอให้ราชบัณฑิตออกประกาศทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ‘คำศัพท์คอมพิวเตอร์’ เพื่อป้องกันความสับสนในการใช้ภาษาไทยของประชาชน

ศัพท์คอมพิวเตอร์ เหล่านี้ ไม่ใช่คำศัพท์ที่ ราชบัณฑิตสถาน บัญญัติ


ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์นิเทศศาสตร์ร่วมสมัย สำนักงานราชบัณฑิตยสภา บัญญัติศัพท์ ‘metaverse : จักรวาลนฤมิต’ หรือ ‘เมตาเวิร์ส’ ซึ่งมาจากคำว่า meta กับคำว่า universe เป็นการอธิบาย การเรียกสภาพแวดล้อมที่ถูกสร้างขึ้น ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล 


โดยการนำเอาบางส่วนของสื่อสังคม เกมออนไลน์ ภาพที่เกิดจากความเป็นจริงเสมือน (virtual reality-VR) ภาพที่เกิดจากความเป็นจริงเสริม (augmented reality-AR) มาบรรจบกับโลกแห่งความเป็นจริงแบบไร้รอยต่อ ด้วยอุปกรณ์ที่กระตุ้นประสาทสัมผัสให้มองเห็นเป็นภาพสามมิติ ได้ยินเสียง ได้กลิ่น ได้สัมผัส ตอบโต้ และรับรู้ได้ ผ่านทางอินเตอร์เน็ต เพื่อสร้างความรู้สึกของการมีอยู่เสมือนจริง 

 

ดังนั้น จักรวาลนฤมิตจึงเป็นการนำโลกแห่งความเป็นจริงมาใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน ผสานความเป็นจริงเสริม ผ่านอินเตอร์เน็ต ที่กำลังจะกลายเป็นการดำเนินชีวิตใหม่ของมนุษย์ในอนาคต

ศัพท์คอมพิวเตอร์ เหล่านี้ ไม่ใช่คำศัพท์ที่ ราชบัณฑิตสถาน บัญญัติ

ภาพจาก สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว