เปิดไทม์ไลน์ ผู้ป่วยรายแรกติด โอไมครอน ในประเทศไทย

กรมควบคุมโรค แถลงเปิดไทม์ไลน์ ผู้ป่วยรายแรกติด โอไมครอน ในประเทศไทย นับเป็นการติดเชื้อจากผู้เดินทางจากต่างประเทศ

ถึงขึ้นนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข ได้ให้นโยบายว่าให้มีการยกเลิกระบบเข้าประเทศในรูปแบบ Test and Go เพราะมีการระบาดเพิ่มขึ้น โดยจะเสนอศบค.เพื่อพิจารณาต่อไป เนื่องจาก ประเทศไทยพบผู้ติดโควิดสายพันธุ์โอมิครอนล่าสุด 63 รายแล้ว อยู่ในการดูแลควบคุมป้องกันโรค และยังรอยืนยันอีก 20 ราย 

อ่านข่าว - สธ.ชงยกเลิกเข้าประเทศ test and go หลังยืนยัน ไทยพบป่วยโอไมครอนแล้ว 63 ราย

รายแรกติด โอไมครอน ในประเทศไทย

ล่าสุด กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้อัพเดตสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิดสายพันธุ์โอมิครอนในไทย ว่า ข้อมูลถึงเมื่อวันที่ 19ธ.ค.ที่ผ่านมา พบการติดเชื้อโอมิครอนแพร่กระจายไป 89 ประเทศและอีก 36 รัฐในสหรัฐอเมริกา และมีแนวโน้มว่าอาจจะมีการขยายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งอาจจะมีมากกว่านี้ เนื่องจากบางประเทศไม่มีขีดความสามารถในการถอดรหัสพันธุกรรม  


ด้านข้อมูลโอไมครอนในไทยล่าสุด นั้น รายงานว่า การถอดรหัสพันธุกรรมในสัปดาห์ที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 11 - 19 ธ.ค. พบว่า เป็นเดลตา 1,541 ราย เบตา 1 ราย ขณะที่ สายพันธุ์โอมิครอน เป็น 63 ราย  สังเกตว่า ช่วงหลังโอมิครอนเพิ่มขึ้นค่อนข้างรวดเร็ว สัดส่วนที่ตรวจพบในไทยเพิ่มขึ้น 3% กว่าจากสัปดาห์ที่แล้วที่ไม่ถึง 1% ซึ่งยังเป็นการเดินทางเข้ามาจากต่างประเทศที่เราตรวจจับได้เช่น สนามบินสุวรรณภูมิ

รายแรกติด โอไมครอน ในประเทศไทย

ขณะเดียวกัน สัดส่วนการตรวจพบสายพันธุ์ของผู้เดินทางเข้าประเทศ พบเป็นโอมิครอน สัดส่วน 1 ใน 4 หรือ 25% ของคนที่เดินทางเข้ามา และผ่านการตรวจด้วย วิธี RT-PCR ทั้งนี้ การส่งตัวอย่างมาตรวจที่ห้องปฏิบัติการ(แล็บ) เราไม่ทราบภูมิลำเนาของตัวอย่างที่นำมาตรวจ ยกตัวอย่างเช่น ภูมิลำเนาอยู่ จ.นนทบุรี อ.ท่าอิฐ แต่เข้ามาอยู่ที่โรงพยาบาล และจุดที่ส่งตรวจหาเชื้อคือ รพ.ในกรุงเทพฯ เป็นต้น

 

นพ.ศุภกิจ กล่าวต่อไปโดยข้อสรุปซึ่งจำแนกได้เป็น 2 ข้อหลักๆ ได้แก่ 1.พบผู้ติดเชื้อโอมิครอนเพิ่มค่อนข้างเร็วในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ของโลก อย่างเช่น อังกฤษเพิ่มขึ้นวันละแสนราย และ 2.ขณะนี้ ทุกรายยังมีความเชื่อมโยงจากการเดินทางกลับมาจากต่างประเทศ ยังไม่มีผู้ติดเชื้อเริ่มต้นในประเทศไทยที่อยู่ดีๆ โผล่มา
 

รายแรกติด โอไมครอน ในประเทศไทย

เหมือนที่เจอ สายพันธุ์อัลฟาที่ทองหล่อ ช่วงเดือน เม.ย.2564 ซึ่งไม่มีประวัติเกี่ยวกับต่างประเทศ แต่อยู่ๆ ก็โผล่มา เป็นคลัสเตอร์ที่เกิดในประเทศ หรือ กรณีพบสายพันธุ์เดลตา 40 - 50 รายในแคมป์คนงานหลักสี่ ซึ่งก็ไม่ทราบว่ามาจากต่างประเทศหรือไม่ นั่นเป็นคลัสเตอร์ที่เกิดในไทย ทั้งนี้ผู้ติดเชื้อทั้งหมด 63 รายที่ตรวจพบ ก็ยังเป็นส่วนที่เชื่อมโยงจากการเดินทางมาจากต่างประเทศ


ทว่ากลับพบว่ามี 1 ราย ที่ตรวจด้วย RT-PCR  72 ชั่วโมงก่อนเดินมาและเมื่อถึงประเทศไทยตามระบบแซนด์บ็อกซ์ (Sand box) ให้ผลลบ ก่อนจะปล่อยเขาไป ต่อมาอีก 2-3 วัน เขาก็ป่วยแล้วก็เข้ามาตรวจซ้ำพบว่ามีผลบวก ดังนั้น ช่วงแรกที่ให้ผลลบ เป็นไปได้ในหลักการว่าอยู่ในระยะฟักตัว นั่นหมายความว่าอาจจะติดเชื้อตั้งแต่ประเทศต้นทางก่อนมาไทย 

รายแรกติด โอไมครอน ในประเทศไทย

ทั้งนี้ นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ได้แถลงเพิ่มเติมว่า  1 รายที่ถือเป็นผู้ติดเชื้อโอไมครอนในประเทศไทยรายแรก เป็นการติดเชื้อจากผู้เดินทางจากต่างประเทศ  คือ สามีเป็นนักบิน สัญชาติโคลัมเบีย ได้รับวัคซีนแอสตราเซนเนกา 2 เข็มจากประเทศไนจีเรีย และภรรยา เป็นคนไทย  พักอาศัยกับสามีที่เป็นผู้ติดโอมิครอนตั้งแต่วันที่ 3 ธ.ค.2564 ประวัติได้รับแอสตราเซนเนกา 2 เข็ม 


รายละเอียดไทม์ไลน์ติดโควิดโอไมครอนคนแรกในประเทศ วันที่ 26 - 27 พ.ย.2564 เดินทางจากไนจีเรียถึงไทย ตรวจ RT-PCR ไม่พบเชื้อ และเข้าพักในโรงแรมแห่งหนึ่งกทม.ระบบแซด์บ็อกซ์

- 29 พ.ย.2564  ไปตรวจตาที่รพ.เอ สวมหน้ากากตลอด เช่ารถขับเอง ซื้อของร้านค้าใกล้โรงแรม  ขับรถทานข้าวเที่ยงที่ห้าง
- 30พ.ย.2564 อยู่โรงแรมตลอด
- 1 ธ.ค.2564 ไปฉีดวัคซีนไฟเซอร์ เข็ม 3 ที่รพ.บี ขับรถเช่าเอง หลังจากฉีดมีไข้ ตัวร้อน

- 2 ธ.ค.2564 ตรวจATK เป็นลบ ที่โรงแรม เนื่องจากยังมีไข้ ไปพบแพทย์ที่รพ.เอ ผลตรวจไข้เลือดออก และมาลเรีย ไม่พบเชื้อ เอ็กซเรย์ปอด เป็นปกติ
- 3 ธ.ค.2564  ออกจากโรงแรมที่กักตัว รถโรงแรมมาส่ง ห้าง แวะร้านสะดวกซื้อ และส่งกลับบ้าน ที่อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี  ขณะมีไข้ภรรยาดูแลตลอด
- 4-6 ธ.ค.2564 อยู่บ้าน มีไข้ ไอ เจ็บคอ อ่อนเพลีย ภรรยาดูแลคนเดียว

รายแรกติด โอไมครอน ในประเทศไทย

- 6 ธ.ค.2564 ตรวต ATK ผลเป็นลบ
- 7 ธ.ค.2564 อาการไม่ดีขึ้น ไข้ เหนื่อย ภรรยาพาไป รพ.บี นั่ง แท็กซี่ไป ผลตรวจ พบเชื้อ แพทย์สงสัยโอมิครอน จึงส่งตรวจสายพันธุ์ ตัวผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในรพ. ภรรยานั่งรถกลับบ้านกักตัวที่บ้าน 

- 10 ธ.ค.2564  ภรรยาไปรับการตรวจโควิดที่รพ.ซี ผลพบเชื้อ ผลตรวจสายพันธุ์สามีเป็นโอมิครอน
- 12-19 ภรรยารับการรักษาที่รพ.ซี ต่อมาผลตรวจสายพันธุ์เป็นโอมิครอน เป็นรายแรกของประเทศที่ติดเชื้อจากผู้เดินทางเข้าประเทศ

อย่างไรก็ตาม การติดตามผู้สัมผัส เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 1 ราย คือคนขับรถแท็กซี่  ผลตรวจครั้งแรกเป็นลบ เข้าสู่ระบบการกักตัว จะตรวจอีกครั้งเมื่อครบกักตัว 14 วันในวันที่ 22 ม.ค.2564  มีผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ 89 รายทั้งพนักงานโรงแรม ห้าง และร้านสะดวกซื้อ  ติดตามอาการครบ 14 วัน ไม่พบผู้ที่มีอาการป่วย

รายแรกติด โอไมครอน ในประเทศไทย