- 21 ธ.ค. 2564
"หมอธีระวัฒน์ เหมะจุฑา" เผย 4 ตัวแปร การประเมินความเสี่ยงและความรุนแรงของเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ "โอไมครอน"
เฟซบุ๊กธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ของหมอธีระวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เผยถึงตัวแปรในการประเมินความเสี่ยงและขความรุนแรงของโอไมครอน
ตัวแปรในโอไมครอน
21/12/64
มีความหลากหลายในการประเมินความเสี่ยงและความรุนแรงของโอไมครอน
1.อาจจะขึ้นอยู่กับลักษณะของภูมิที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อธรรมชาติหรือจากวัคซีน (ซึ่งทั้งหมดป้องกันการติดโอไมครอนได้ไม่ดี แต่ช่วยลดอาการ) ในแอฟริกาใต้เป็นสี่ระลอก และภูมิส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ โดยลักษณะของไวรัสน่าจะไม่เหมือนกับในอังกฤษ โดยที่ อังกฤษยังมีเดลต้าและโอไมครอนในขณะที่แอฟริกาใต้เป็นโอไมครอน แต่ความรุนแรงจนกระทั่งถึงวันที่ 20 ธันวาคม ทั้งสองประเทศคล้ายกัน แอฟริกาใต้ยังคงไม่รุนแรง อังกฤษ ติด 91,743 ต่อวัน (584,688 ใน 7วัน เพิ่มขึ้น 221,006 เทียบกับเจ็ดวันก่อนหน้านี้) ตาย 44 (786 ใน 7วัน ลดลง 45 รายเทียบกับเจ็ดวันก่อนหน้านี้) โอไมครอน 129 ราย ตาย 14
2.ประเทศไทยเป็นสามระลอกเช่นเดียวกัน และรอบสี่จะเป็นโอไมครอน แต่ทั้งนี้รอบสามของเดลต้าอ่อนกำลังลงมากขณะนี้ ตัวแปรอยู่ที่เดลต้าในประเทศไทยจะกลับรุนแรงขึ้นมาใหม่หรือไม่ และจะระบาดกับโอไมครอน ที่ติดง่ายแต่รุนแรงน้อยในขณะที่เดลต้าติดยากกว่าบ้างแต่จะแรงเหมือนเดิมหรือไม่ และทั่งสองจะกลายเป็นไฮบริดหรือไม่
3.แต่ไม่ว่าความรุนแรงของโอไมครอน จะ < เดลต้าก็ตามยังมีปัญหาในคนเปราะบางที่อาจจะมีความรุนแรงสูงและเข้ามาครองเตียงในโรงพยาบาลและถ้ามีการแพร่ในโรงพยาบาลจะทำให้สถานการณ์รุนแรงขึ้นแบบเดิมกับที่เจอในเดลต้า
4.โอไมครอนถึงแม้อาการอาจไม่รุนแรง แต่จะเกิดอาการแทรกซ้อนระยะยาวที่เรียกว่า long covid ได้หรือไม่ ซึ่งเป็นกลุ่มอาการทางสมองจิตอารมณ์กล้ามเนื้อและระบบประสาทอัตโนมัติรวมทั้งหัวใจแบบเดียวกับที่มีปัญหาทั่วโลกอยู่ในขณะนี้