ประกาศราชกิจจาฯ เผยแนวปฏิบัติตามข้อกำหนดพ.ร.ก.ฉุกเฉิน รับมือ"โอไมครอน"

ประกาศราชกิจจาฯ แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดพ.ร.ก.ฉุกเฉิน รับมือโควิดสายพันธุ์"โอมิครอน" (โอไมครอน) ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ.2564 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19 ) แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (ข้อกำหนดพ.ร.ก.ฉุกเฉิน) รับมือโควิดสายพันธุ์โอไมครอน

โดยเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา ราชกิจจาฯประกาศ  คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ 25/2546 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 20 ) ระบุใจความสรุปว่า

ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2564 ให้ขยาย ระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2564 จนถึงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2565 โดยนายกรัฐมนตรีได้ออกข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 40 ) ลงวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ.2564 กำหนดประเภทของผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ระบาดและสอดรับนโยบายการเปิดประเทศเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของรัฐบาล และออกคำสั่งเพื่อกำหนดแนวปฏิบัติให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและพนักงาน เจ้าหน้าที่นำไปดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคโดยเคร่งครัด นั้น

บัดนี้ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กลายพันธุ์สายพันธุ์ โอมิครอน (Omicron) ในหลายประเทศทั่วโลกได้เริ่มทวีความรุนแรงขึ้น เนื่องจากเป็นสายพันธุ์ ที่สามารถแพร่กระจายและมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ และอาจมีผลต่อประสิทธิภาพ ในการป้องกันโรคของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 โดยที่ประเทศไทยเริ่มตรวจพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอนที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรผ่านระบบคัดกรองและป้องกันโรคเป็นระยะ ประกอบกับ จำนวนประชากรในประเทศที่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น (Booster Dose) มีสัดส่วนที่ยังไม่มากพอจนอาจมี ความเสี่ยงต่อความมั่นคงด้านสาธารณสุขหากเกิดการระบาดรุนแรงของไวรัสสายพันธุ์ดังกล่าว

 

ประกาศราชกิจจาฯ แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดพ.ร.ก.ฉุกเฉิน รับมือ"โอมิครอน"

เพื่อให้การดำเนินการตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและการขยายระยะเวลา การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว และตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 5/2563 เรื่อง การจัดตั้ง หน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ลงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และการปฏิบัติหน้าที่ ของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์

อาศัยอำนาจตามความ ในข้อ 4 ( 2 ) ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 4/2563 เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติม นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 จึงมีคำสั่งให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไป ตามมาตรการป้องกันโรค ดังต่อไปนี้

ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ.2564 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น

สั่ง ณ วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2564
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
ผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19

 

ประกาศราชกิจจาฯ แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดพ.ร.ก.ฉุกเฉิน รับมือ"โอมิครอน"

 

ประกาศราชกิจจาฯ แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดพ.ร.ก.ฉุกเฉิน รับมือ"โอมิครอน"

 

ประกาศราชกิจจาฯ แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดพ.ร.ก.ฉุกเฉิน รับมือ"โอมิครอน"

 

ขอบคุณ ราชกิจจานุเบกษา