อ.เจษฏา เผยข่าวดี "โอไมครอน" มีแววเป็นวัคซีนธรรมชาติ ยับยั้งโควิดเดลตาได้

ผศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ เผยข่าวดีอ้างอิงผลวิจัยจากประเทศแอฟริกาใต้ "โอไมครอน" มีแววเป็นวัคซีนธรรมชาติ ยับยั้ง-สร้างภูมิคุ้มกันเดลตาได้

เมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 64 ผศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อควาามผ่านเฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ "โอไมครอน" หรือ "โอมิครอน" (Omicron) ที่เริ่มส่งสัญญาณดี โดยโพสต์อ้างอิงถึงผลวิจัยจากแอฟริกาใต้ ระบุว่า ข่าวดีครับ ! โอไมครอน มีแววจะเป็น "วัคซีนธรรมชาติ" ในการยับยั้งโควิดสายพันธุ์เดลต้าได้

 

อ.เจษฏา เผยข่าวดี "โอไมครอน" มีแววเป็นวัคซีนธรรมชาติ ยับยั้งโควิดเดลตาได้ อ.เจษฏา เผยข่าวดี "โอไมครอน" มีแววเป็นวัคซีนธรรมชาติ ยับยั้งโควิดเดลตาได้

 

จากผลการวิจัยล่าสุดของประเทศแอฟริกาใต้ ที่ว่า "การติดเชื้อโอไมครอน จะช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ต่อเดลตาด้วย" จริงๆเรื่องนี้เป็นสมมติฐานที่ในกลุ่มนักวิชาการ (ฝั่งที่มองโลกในแง่ดี) กับการระบาดของ "โอไมครอน" พูดถึงกันมาประมาณสักเดือนนึงได้แล้ว เมื่อพิจารณาถึงการแพร่ระบาดสูง แต่ความรุนแรงต่ำกว่า "เดลตา" ของ "โอไมครอน" ที่เกิดขึ้นในประเทศแอฟริกาใต้ (รวมถึงผลที่คล้าย ๆ กันในประเทศอื่น เช่น สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และเดนมาร์ก) เพราะพฤติกรรมของ "โอไมครอน" ก็คล้าย ๆ กับสมัยเริ่มต้นของเดลตา ที่ระบาดไปที่ไหนก็ไปแทนที่สายพันธุ์เดิม ๆ ได้ เพราะความสามารถในการติดเชื้อ และเพิ่มจำนวนตัวในร่างกายผู้ป่วยนั้น ดีกว่าสายพันธุ์เดิมมาก (คือ ถึงคนๆเดียว ติดหลายสายพันธุ์พร้อมกัน สุดท้ายเดลตาก็ชนะ) ตอนนี้ "โอไมครอน" ก็มีแนวโน้มจะเข้าแทนที่ ขับไล่เดลตา (ซึ่งอาการรุนแรงมาก) ในแต่ละประเทศให้หายไปได้เช่นกัน 

 

เนื่องจากมันมักจะติดเชื้อและเพิ่มเติมตัวได้ดีกว่าที่เซลล์ของระบบทางเดินหายใจช่วงบนของร่างกายผู้ป่วย และความที่มันแพร่กระจายได้ง่าย ใครติดเชื้อก็แสดงอาการออกมาอย่างรวดเร็วใน 2-3 วัน อาการป่วยอยู่ในระดับใกล้เคียงกับไข้หวัดตามฤดูกาล และหายได้ในเวลาอันสั้นใน 7 วัน (ถ้าเป็นคนที่มีภูมิคุ้มกันอยู่แล้ว เช่น ได้รับการฉีดวัคซีน หรือเคยป่วยด้วยโควิด สายพันธุ์เดิมๆมาก่อน คลื่นการแพร่ระบาดของมันก็จะคล้ายกับการระดมฉีด "วัคซีนตามธรรมชาติ" อย่างรวดเร็วไปทั่วประเทศนั้น แถมเป็นวัคซีนที่มี IgA (immunoglobin A) ซึ่งไม่สามารถสร้างได้จากการผลิตวัคซีนตามปกติ เพิ่มขึ้นด้วย ดังนั้น ถ้าประเทศไทยเราเตรียมตัวรับมือได้ดี ระดมฉีดวัคซีนได้ทั่วถึงเพียงพอ (โดยเฉพาะในเด็กเล็ก และผู้สูงอายุ) กดความชันของกราฟการแพร่ระบาดเอาไว้ เราน่าจะผ่านคลื่น "โอไมครอน" ในเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ไปได้ และหวังว่า จะช่วยกวาดเอา "สายพันธุ์เดลตา" ที่รุนแรงกว่า ออกไปด้วย เหมือนในประเทศอื่นได้ (สาธุ)

 

อ.เจษฏา เผยข่าวดี "โอไมครอน" มีแววเป็นวัคซีนธรรมชาติ ยับยั้งโควิดเดลตาได้ อ.เจษฏา เผยข่าวดี "โอไมครอน" มีแววเป็นวัคซีนธรรมชาติ ยับยั้งโควิดเดลตาได้


นอกจากนี้ ดร.เจษฎา ยังได้ยกผลวิจัย จากผลการศึกษาที่ตีพิมพ์โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวแอฟริกาใต้พบว่า ผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ "โอไมครอน" อาจมีภูมิคุ้มกัน "สายพันธุ์เดลตา" ด้วย โดยการค้นพบอาจมีนัยสำคัญต่อประเทศต่าง ๆ เช่น สหรัฐอเมริกา ที่การติดเชื้อโอไมครอนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างของสายพันธุ์โอไมครอนกับเดลตาคือ อาการป่วยรุนแรงน้อยกว่า


การติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนจะช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันชนิดลบล้างฤทธิ์ (Neutralizing Antibody) ที่สามารถต้านไวรัสสายพันธุ์เดลตา เนื่องจากโอไมครอน สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ทำให้การติดเชื้อซ้ำกับเดลตามีโอกาสน้อยลง

ทีมนักวิทยาศาสตร์นำโดย Khadija Khan จากสถาบันวิจัยสุขภาพแอฟริกาเขียนไว้ในผลการวิจัยของพวกเขา ในการวิจัยเกิดจากการติดตามผู้ติดเชื้อจำนวน 13 คน โดย 11 คนในนั้นติดเชื้อด้วยตัวแปรโอมิครอน โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวน 7 ราย ที่ได้รับการฉีดวัคซีน โดยได้ทั้งวัคซีนของ Pfizer, BioNTech และ johnson & johnson โดยการตอบสนองของแอนติบอดีของผู้ที่ติดเชื้อโอมิครอน ดูเหมือนจะเพิ่มการป้องกันตัวแปรเดลตาได้มากกว่า 4 เท่าในสองสัปดาห์ หลังจากที่ผู้เข้าร่วมลงทะเบียนในการศึกษา โดยผู้เข้าร่วมยังแสดงให้เห็นว่า ความสามารถของแอนติบอดีในการสกัดกั้นการติดเชื้อโอมิครอนได้เพิ่มขึ้น 14 เท่า

 

อ.เจษฏา เผยข่าวดี "โอไมครอน" มีแววเป็นวัคซีนธรรมชาติ ยับยั้งโควิดเดลตาได้ อ.เจษฏา เผยข่าวดี "โอไมครอน" มีแววเป็นวัคซีนธรรมชาติ ยับยั้งโควิดเดลตาได้


ดังนั้น หากสายพันธุ์โอมิครอนแทนที่เดลตา และไม่รุนแรงกว่าสายพันธุ์ในอดีต ความร้ายแรงของโควิด-19 จะลดลง และการติดเชื้ออาจเปลี่ยนไปรบกวนบุคคลและสังคมน้อยลง 


อย่างไรก็ตาม การศึกษายังไม่ได้รับการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญคนอื่น ๆ ในสาขานี้ และยังไม่ชัดเจนว่าการป้องกันที่เพิ่มขึ้นนั้นเกิดจากแอนติบอดีที่มาจากโอมิครอน, การฉีดวัคซีน หรือภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อครั้งก่อนหรือไม่ แต่บุคคลที่ได้รับการฉีดวัคซีนแสดงให้เห็นถึงการป้องกันที่แข็งแกร่งขึ้น อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาจากแอฟริกาใต้และสหราชอาณาจักรพบว่า ผู้ที่ติดเชื้อโอมิครอน จะมีอาการป่วยที่ไม่รุนแรง โดยผู้ติดเชื้อโอมิครอนมีโอกาสเกิดโรคร้ายแรงน้อยกว่า 70% เมื่อเทียบกับเดลตา แต่ก็มีการตั้งข้อสังเกตว่า "เป็นข้อมูลเบื้องต้นและมีความไม่แน่นอนสูง" 


เนื่องจากโอไมครอนยังไม่แพร่กระจายอย่างกว้างขวางในกลุ่มอายุสูงอายุและกลุ่มอายุที่มีความเสี่ยงมากขึ้น แต่นักระบาดวิทยาเตือนว่า แม้โอมิครอนจะรุนแรงน้อยกว่าเดลตา แต่ก็ยังสามารถสร้างภาระให้โรงพยาบาลได้ง่าย ๆ ด้วยการแพร่กระจายเร็วกว่าเดลตามาก โดยองค์การอนามัยโลก กล่าวว่า โอมิครอนกำลังแพร่กระจายเร็วกว่าเชื้อโควิดรุ่นก่อน ๆ การศึกษาจากฮ่องกงพบว่าโอมิครอนแพร่กระจายได้เร็วกว่า 70 เท่าในทางเดินหายใจของมนุษย์ แต่การติดเชื้อในปอดนั้นรุนแรงน้อยกว่า

 

ขอบคุณ FB : อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Thailand Web Stat