เผยแล้ว ระหว่างติดเชื้อ โอไมครอน กับ เดลต้า แบบไหนเสี่ยงเข้ารพ.มากกว่ากัน

เมื่อวันศุกร์ (31 ธ.ค.64) สำนักงานความมั่นคงด้านสุขภาพ (HSA) ของสหราชอาณาจักรเปิดเผยผลการวิจัยประชาชนที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนเทียบกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อสายพันธุ์เดลตา แบบไหนเสี่ยงเข้าโรงพยาบาลมากกว่ากัน

ข้อมูลล่าสุดจาก HSA พบว่า ผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนมีความเสี่ยงน้อยกว่าที่จะต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ที่ติดเชื้อสายพันธุ์เดลตา

ซีเอ็นบีซี รายงานว่า ผลวิจัยดังกล่าววิเคราะห์จากผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนจำนวน 528,000 ราย และผู้ติดเชื้อสายพันธุ์เดลตาจำนวน 573,000 รายตั้งแต่วันที่ 22 พ.ย.-26 ธ.ค.ในอังกฤษ

เผยแล้ว ระหว่างติดเชื้อ "โอไมครอน" กับ "เดลต้า" แบบไหนเสี่ยงเข้ารพ.มากกว่ากัน

ผลวิจัยใหม่ดังกล่าวในสหราชอาณาจักรยังพบว่า วัคซีนโควิดช่วยลดความเสี่ยงของการรักษาตัวในโรงพยาบาลจากการติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอมิครอน แม้ว่าวัคซีนเข็มกระตุ้นจะให้การป้องกันในระดับสูงสุด โดยข้อมูลล่าสุดเพิ่มหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า แม้ว่าวัคซีนจะได้รับผลกระทบจากโอมิครอน แต่ก็ยังคงให้การปกป้องในระดับที่มีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน

ผลการวิจัยบ่งชี้ว่า วัคซีนโดสเดียวมีประสิทธิภาพ 52% ในการป้องกันการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลจากการติดเชื้อไวรัสโอมิครอน ในขณะที่สองโดสมีประสิทธิภาพ 72% อย่างไรก็ตาม หลังจากผ่านไป 25 สัปดาห์ ประสิทธิภาพของวัคซีนสองโดสลดลงเหลือ 52% ในการป้องกันการเข้ารักษาอาการป่วยในโรงพยาบาล

เผยแล้ว ระหว่างติดเชื้อ "โอไมครอน" กับ "เดลต้า" แบบไหนเสี่ยงเข้ารพ.มากกว่ากัน

ส่วนวัคซีนเข็มกระตุ้นหรือบูสเตอร์นั้นช่วยเพิ่มการป้องกันอย่างมาก โดยหลังจาก 2 สัปดาห์ วัคซีนเข็มกระตุ้นจะมีประสิทธิภาพ 88% ในการป้องกันอาการป่วยหนักจนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล