"หมอประสิทธิ์" ลั่น ไม่เกินอาทิตย์ยอดติดเชื้อพุ่งทะลุหมื่นแน่

หมอประสิทธิ์ลั่น ไม่เกินอาทิตย์ยอดติดเชื้อพุ่งทะลุหมื่นแน่นอน และภายในสิ้นเดือนมกราคมนี้ จะมียอดผู้ติดเชื้อสูงถึงวันละ 2 หมื่นคน

วันที่ 6 มกราคม 2565 ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในขณะนี้ว่า ไม่เกิน 1 สัปดาห์จะมียอดผู้ติดเชื้อกว่า 1 หมื่นคน และภายในสิ้นเดือนมกราคมนี้ จะมียอดผู้ติดเชื้อสูงถึงวันละ 2 หมื่นคน

โดย หมอประสิทธิ์ เผยว่าขณะนี้ยอดตัวเลขผู้ติดเชื้อทยอยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยคาดการณ์ว่า ภายใน 3-7 วัน จะมียอดผู้ติดเชื้อกว่า 1 หมื่นคน แต่อย่างไรก็ตามแม้ตัวเลขจะดูเยอะก็อย่าไปกังวลยอดตัวเลข ให้ไปดูภาพรวมทั้งหมด 

 

หมอประสิทธิ์ลั่น ไม่เกินอาทิตย์ยอดติดเชื้อพุ่งทะลุหมื่นแน่

ตอนนี้ เรารู้แล้วว่า อาการโอไมครอน เป็นอย่างไร หลังจากที่เรารู้จักมีข้อมูลหลายหลายอย่างดังนี้

1. แพร่กระจายเชื้อได้รวดเร็วมากทั้งในต่างประเทศ อเมริกา และยุโรปเป็นสายพันธุ์หลักไปแล้ว ยอดติดเชื้อหลักแสน หลักล้าน ดังนั้นในไทยจะเป็นหลักหมื่นก็ไม่น่าแปลกใจ

2.เมื่อติดเชื้อแล้วอาการไม่รุนแรง และเจอผู้ติดเชื้อในกลุ่มคนอายุไม่มากและโอกาสที่จะมีอาการหนัก ต้องนอนโรงพยาบาลน้อยลงประมาณ 1 ใน 3
 

3.เมื่ออาการไม่รุนแรง การจัดการบริหาร ก็ง่ายขึ้น เนื่องจากไม่ก่อให้เกิดอาการมาก ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล ภายในหนึ่งสัปดาห์ภูมิต้านทานผู้ป่วยก็จะเริ่มกลับมา สองสัปดาห์ ภูมิก็จะยิ่งมากขึ้น

 

หมอประสิทธิ์ลั่น ไม่เกินอาทิตย์ยอดติดเชื้อพุ่งทะลุหมื่นแน่

4.อาการของเชื้อโอมิครอน มีอาการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนบน จะมีอาการไม่มากส่วนใหญ่คือ อาการไอ จาม ซึ่งแพร่เชื้อได้มากขึ้น โอกาสลงปอดน้อยกว่าเชื้อเดลต้า

นอกจากนี้ หมอประสิทธิ์ ยังเผยต่อด้วยว่าภูมิคุ้มกันในการติดเชื้อโอไมครอน จะเป็นการป้องกันในการป้องกันสายพันธุ์อื่น รวมทั้งสายพันธุ์เดลต้าและเชื่อว่าอีกไม่นานสายพันธุ์เดลต้าแพ้โอไมครอนไป

การที่ยอดตัวเลขผู้ติดเชื้อจะพุ่งสูงนั้น ไม่อยากให้สังคมตื่นตระหนก แต่ก็ไม่อยากให้ผ่อนคลายมากเกินไป การ์ดอย่าตก และย้ำเสมอว่า สายพันธุ์ที่ระบาดในประเทศไทยตอนนี้คือเดลต้า

และยังได้กล่าวอีกด้วยว่า "การรักษายาฟาวิพิราเวียร์ ยังเป็นยาสำคัญในการรักษาผู้ป่วย แต่ผู้ป่วยอาการไม่รุนแรงก็ไม่ต้องนอน รพ. ใช้ระบบรักษาตัวที่บ้านหรือHI แต่ต้องมีการสังเกตอาการเป็นระยะ ดังนั้นระบบการรักษา จะต้องรองรับในส่วนนี้"