- 07 ม.ค. 2565
อัพเดทรายชื่อล่าสุด "พื้นที่สีส้ม 69 จังหวัด" อนุญาตหรือห้ามทำอะไรบ้าง หลักๆคือ "งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้านอาหาร"
จากกรณี แถลงศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) วันศุกร์ที่ 7 ม.ค. 2565 ข้อสรุปการประชุม ศบค. ชุดใหญ่ปรับพื้นที่ควบคุม เป็นพื้นที่สีส้ม 69 จังหวัด ส่วน "พื้นที่สีฟ้า" ที่เป็น "พื้นที่นำร่องการท่องเที่ยว" 8 จังหวัด (และนำร่องบางพื้นที่ 18 จังหวัด) ให้คงไว้ตามเดิม
สรุปมาให้แล้ว พื้นที่สีส้ม 69 จังหวัด ทำอะไรได้-ไม่ได้บ้าง
ที่ประชุม ศบค. ให้ปรับพื้นที่เฝ้าระวังสูง (พื้นที่สีเหลือง) จากเดิม 30 จังหวัด รวมให้เป็นพื้นที่ควบคุม (พื้นที่สีส้ม) ด้วย
ซึ่งมี พื้นที่เฝ้าระวังสูง (สีเหลือง) 30 จังหวัด ที่ปรับเป็นพื้นที่ควบคุม (สีส้ม) ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์, จังหวัดกําแพงเพชร, จังหวัดชัยนาท, จังหวัดชัยภูมิ, จังหวัดนครปฐม, จังหวัดนครพนม, จังหวัดนครสวรรค์, จังหวัดน่าน, จังหวัดบึงกาฬ, จังหวัดบุรีรัมย์, จังหวัดพิจิตร, จังหวัดพะเยา, จังหวัดแพร่, จังหวัดมหาสารคาม, จังหวัดมุกดาหาร, จังหวัดยโสธร, จังหวัดร้อยเอ็ด, จังหวัดเลย, จังหวัดศรีสะเกษ, จังหวัดสกลนคร, จังหวัดสมุทรสงคราม, จังหวัดสิงห์บุรี, จังหวัดสุโขทัย, จังหวัดสุรินทร์, จังหวัดหนองคาย, จังหวัดหนองบัวลําภู, จังหวัดอุตรดิตถ์, จังหวัดอุทัยธานี, จังหวัดอ่างทอง และ จังหวัดอํานาจเจริญ
ทั้งนี้ทำให้ "พื้นที่สีส้ม" หรือ "พื้นที่ควบคุม" 69 จังหวัด มีรายชื่อดังต่อไปนี้
สำหรับมาตรการควบคุมพื้นที่สีส้มยังเป็นไปตามเดิม และ "งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้านอาหาร"
พื้นที่สีฟ้า นำร่องการท่องเที่ยว 8 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี กระบี่ชลบุรี นนทบุรี ปทุมธานี พังงา และ ภูเก็ต
สามารถดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในร้านอาหารได้ ลดเวลาลงเหลือดื่มได้ถึง 21.00 น. (จากเดิม 23.00 น.) และร้านที่ให้บริการต้องเป็นร้านที่ผ่าน “SHA plus” หรือ “thai stop COVID 2 Plus” เท่านั้น
การปรับมาตรการป้องกันโควิด-19 สำหรับสถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการสถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ ให้เปิดในรูปแบบ "ร้านอาหาร" โดยต้องได้รับอนุญาตจาก "คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กทม." ก่อนวันที่ 15 ม.ค. 2565
นอกจากนี้ยังให้ขยายเวลา "Work from home (WFH)" หรือทำงานจากที่บ้าน ออกไปอีกจนถึงวันที่ 31 ม.ค. 65 โดยจะต้องไม่กระทบต่อบริการประชาชนและการดำเนินงานขององค์กร