- 10 ม.ค. 2565
"หมอธีระ" รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาโพสต์ข้อความ ระบุ โอมิครอน กักตัว 5 วันไม่พอจริงๆ
"หมอธีระ" รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ ระบุว่า
...อัพเดต Omicron "โอมิครอน"
ตอนนี้แพร่ระบาดไปแล้ว 150 ประเทศทั่วโลก (Source: BNO)
จากการประเมินสถานการณ์ล่าสุดของ European Centre for Disease Prevention and Control พบว่า ประเทศต่างๆ ในยุโรปมี Omicron เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลายประเทศนั้นมี Omicron เป็นสายพันธุ์หลักไปอย่างเต็มตัว เช่น
• เบลเยี่ยม: 97.8% (2021-w52)
• ไอร์แลนด์: 96% (5 January 2022)
• เดนมาร์ก: 92.5% (2 January 2022)
• สวีเดน: 91.7% (2021-w52)
• ฝรั่งเศส: 80.3%% (2021-w52)
• เนเธอร์แลนด์: 76.3%-90.8% (2 January 2022)
• โปรตุเกส: 75% (27 December 2021)
• ไอซ์แลนด์: 70% (21 December 2021)
สำหรับไทยเรานั้น ช่วงที่ผ่านมาพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า การระบาดปะทุกลับมารุนแรงขึ้น จากการมีกิจกรรมเสี่ยงต่างๆ ที่มากขึ้น
เน้นย้ำให้ป้องกันตัวอย่างเคร่งครัด ดูแลตนเองและครอบครัว
ใส่หน้ากากเสมอ สองชั้น ชั้นในเป็นหน้ากากอนามัย ชั้นนอกเป็นหน้ากากผ้า
เลี่ยงที่แออัด ระบายอากาศไม่ดี
พบคนอื่นน้อยลง สั้นลง และอยู่ห่างๆ ใส่หน้ากากแม้จะคุ้นเคยกันเพียงใด
กินอาหารในร้านต้องระวัง เวลากินไม่พูด เวลาจะพูดคุยให้ใส่หน้ากาก ซื้อกลับไปแยกกินจะปลอดภัยกว่า
คอยสังเกตอาการ หากไม่สบาย รีบแยกจากคนใกล้ชิด และหาทางตรวจรักษา
เรื่อง Long COVID อาจเป็นปัญหาระยะยาว หากควบคุมการระบาดไม่ได้
ช่วงเวลาที่จับตามองคือ หลังจากกลางเดือนมกราคม แนวโน้มการเพิ่มน่าจะมากขึ้นหากเป็นไปตามธรรมชาติของการระบาดที่เห็นจากต่างประเทศ หวังว่าเราจะสามารถช่วยกันป้องกันและบรรเทาการขยายวงระบาดอย่างพร้อมเพรียง
ไม่มีใครช่วยเราได้ หากเราไม่ทำ...
Omicron กักตัว 5 วันไม่พอจริงๆ
งานวิจัยล่าสุดจากญี่ปุ่น เผยแพร่เมื่อ 5 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา นำเสนอผลชี้ให้เห็นว่าผู้ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ Omicron มีโอกาสที่จะตรวจพบไวรัสได้ถึง 10 วันหลังเกิดอาการ
หากจำกันได้ ก่อนหน้านี้ทางไต้หวันก็ปฏิเสธที่จะใช้แนวทาง 5 วันของ US CDC เพราะไต้หวันพบว่าคนติดเชื้อ Omicron สามารถตรวจพบเชื้อได้นานถึง 8-12 วัน