"หมอธีระ"สรุปชัด ความรู้ 5 ข้อที่สำคัญ ช่วงโควิดระบาด

"หมอธีระ" รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาโพสต์ข้อความ สรุปความรู้เกี่ยวกับโควิด-19 หลังการระบาดที่ผ่านมา

"หมอธีระ" รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ ได้ระบุข้อความว่า 

21 มกราคม 2565

Recap ความรู้ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา

"หมอธีระ"สรุปชัด ความรู้ 5 ข้อที่สำคัญ ช่วงโควิดระบาด

 

1. COVID-19 "โควิด19" ไม่ใช่หวัดธรรมดา และไม่ใช่ไข้หวัดใหญ่

2. COVID-19 นั้นนอกจากแพร่ผ่านทางละอองฝอยน้ำมูกน้ำลายแล้ว ยังติดต่อผ่านทางอากาศ (airborne transmission) ได้

3. COVID-19 เป็นการติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจ แต่ทำให้เกิดผลกระทบและความผิดปกติต่อระบบต่างๆ ของร่างกาย (multi-system disorder) ทั้งระยะเฉียบพลัน กึ่งเฉียบพลัน และระยะยาว

4. ชัดเจนว่า COVID-19 นั้นทำให้เกิดปัญหาภาวะอาการคงค้างระยะยาว หรือ Long COVID ได้ ตั้งแต่อาการน้อยไปถึงรุนแรง ยาวนานไปได้หลายเดือน ปี และมีโอกาสคงอยู่อย่างถาวร

ดังนั้นการป้องกันตัวอย่างเคร่งครัด เป็นกิจวัตร จึงเป็นสิ่งจำเป็น

ไม่ติดเชื้อย่อมดีที่สุด

"หมอธีระ"สรุปชัด ความรู้ 5 ข้อที่สำคัญ ช่วงโควิดระบาด

..Omicron "โอมิครอน" ถล่มเอเชียหนัก

อินเดียติดเพิ่มถึง 344,859 คน หากคุมไม่อยู่โดยเร็ว อาจแซงสถิติเดิมที่สูง 414,433 คน ณ 6 พ.ค. 2564

ในขณะที่ตอนนี้ญี่ปุ่นนั้น ระบาดระลอกที่ 6 ล่าสุดติดเพิ่ม 39,841 คน ถือว่าเป็นสถิติสูงสุดเท่าที่เคยมีการระบาดมา และสูงกว่าระลอกที่ 3 เมื่อต้นปีก่อนถึง 5 เท่า

...อัพเดตความรู้

Spudich S และ Nath A ตีพิมพ์บทความวิชาการในวารสาร Science เมื่อวานนี้ 20 มกราคม 2565

การติดเชื้อโรคโควิด-19 นั้น นอกจากจะเกิดอาการป่วยต่างๆ ดังที่ทราบกันดีอยู่แล้วนั้น ยังทำให้เกิดปัญหาต่อระบบประสาท ทั้งในระยะเฉียบพลัน กึ่งเฉียบพลัน และอาการในระยะยาว

กระบวนการเกิดปัญหาระยะยาวในผู้ป่วยที่เป็น Long COVID นั้น มาจากกระบวนการอักเสบของระบบประสาท (Neuroinflammation) รวมถึงการยังคงค้างของไวรัสหรือชิ้นส่วนของไวรัสในเซลล์สมอง เส้นเลือดฝอยถูกทำลายและรั่วจนนำไปสู่โรคหลอดเลือดสมอง และ/หรือการทำลายเซลล์ประสาทโดยกระบวนการอื่นๆ ที่ยังไม่ทราบสาเหตุ

พยาธิสภาพต่างๆ ข้างต้นนำไปสู่อาการผิดปกติ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง ปัญหาด้านความคิดความจำ ปัญหาทางอารมณ์ ฯลฯ

...ป้องกันตนเองและสมาชิกในครอบครัวอย่างเป็นกิจวัตร ไม่ติดเชื้อย่อมดีที่สุด

ใส่หน้ากากเสมอ สองชั้น ชั้นในเป็นหน้ากากอนามัย ชั้นนอกเป็นหน้ากากผ้า รักษาระยะห่างจากคนอื่นเกินหนึ่งเมตร วางแผนงานและการใช้ชีวิต พบปะเจอหน้ากันเท่าที่จำเป็น ใช้เวลาสั้นๆ และเลี่ยงการกินดื่มร่วมกับคนอื่น...

อ้างอิง

Spudich S and Nath A. Nervous system consequences of COVID-19. Science. 20 January 2022.

"หมอธีระ"สรุปชัด ความรู้ 5 ข้อที่สำคัญ ช่วงโควิดระบาด