- 12 ก.พ. 2565
"หมอยง" ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ออกมาโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ระบุหัวข้อ โควิด- 19 อัตราการป่วยตายในประเทศไทย
"หมอยง" ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ
โควิด- 19 อัตราการป่วยตายในประเทศไทย
ยง ภู่วรวรรณ 12 กุมภาพันธ์ 2565
นับตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นมา สายพันธุ์ที่ระบาดในประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงจากสายพันธุ์เดลต้ามาเป็นสายพันธุ์โอมิครอน เราจะเห็นได้ชัดเจนว่าอัตราการป่วยตาย หมายถึงจำนวนผู้เสียชีวิตต่อสัปดาห์ กับจำนวนที่ตรวจพบยืนยันด้วย RT PCR จะอยู่ที่ประมาณเกือบ 0.2% แสดงว่ามีผู้ป่วยที่ยืนยันด้วย RT PCR 1,000 ราย จะเสียชีวิตประมาณ 2 ราย ถึงแม้จำนวนผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้น อัตราการป่วยตายก็ยังคงอยู่ที่เดิม จำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น จำนวนผู้เสียชีวิตก็จะเพิ่มขึ้น แต่เมื่อมาคิดเป็นอัตราการป่วยตายแล้ว ตัวเลขยังคงอยู่แบบเดิม ดังแสดงในรูป
หลายคนอาจจะกล่าวอ้างว่าการป่วยเพิ่มวันนี้ กว่าจะป่วยหนักถึงเสียชีวิตใช้เวลาเฉลี่ย 8-12 วัน อัตราการป่วยตายสัปดาห์นี้ อาจจะอยู่เยื้องกับสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่จากข้อมูลนี้เปรียบเทียบให้เห็นตั้งแต่สมัยสายพันธุ์เดลต้า ในรูปแบบเดียวกัน ให้เห็นว่าอัตราการป่วยตาย ของสายพันธุ์โอไมครอน ลดลงมากกว่าสายพันธุ์เดลตา อย่างแน่นอน เพราะในช่วงสายพันธุ์เดลต้าจะอยู่ระหว่าง 1 ถึง 1.5 เปอร์เซ็นต์ ดังแสดงในรูป
เราคงไม่อยากให้มีการป่วยตาย ถึงแม้ว่าจะน้อยลง ส่วนใหญ่ผู้ที่เสียชีวิตก็ยังอยู่ในกลุ่ม 608 หรือกลุ่มเสี่ยงอยู่นั่นเอง กลุ่มเสี่ยงจึงเป็นกลุ่มที่จะต้องดูแลเป็นพิเศษ และมีมาตรการในการป้องกันอย่างเช่นงวด ไม่ให้เกิดการติดเชื้อได้