ทำลายสินค้าไม่ได้มาตรฐานกองมหึมา 1 ล้านชิ้นกว่า 40 ล้านบาท

ผู้สื่อข่าวรายงาน วันที่ 18 ก.พ. 2565 บก.ปคบ.ร่วม สมอ. ทําลายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ได้มาตรฐานกว่าล้านชิ้น มูลค่ารวมกว่า 40 ล้านบาท

ผู้สื่อข่าวรายงาน วันที่ 18 ก.พ. 2565 บก.ปคบ.ร่วม สมอ. ทําลายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ได้มาตรฐานกว่าล้านชิ้น มูลค่ารวมกว่า 40 ล้านบาท ระบุว่าตามนโยบายของสำนักงานตำรวจแห่งชาติและกองบัญชาการสอบสวนกลาง ร่วมกับ สำนักงานมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้บูรณาการร่วมกันในการป้องกันไม่ให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ได้มาตรฐาน ไปถึงมือผู้บริโภค และปราบปรามผู้ทำ นำเข้า จำหน่ายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ได้รับใบอนุญาตหรือไม่ได้มาตรฐาน อย่างต่อเนื่อง เพื่อความปลอดภัยและประโยชน์ของผู้บริโภคเป็นสำคัญ

วันที่ 18 ก.พ. 2565  ดร.จุลพงษ์ ทวีศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายบรรจง สุกรีฑา เลขาธิการสานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นายปิยะ ท้วมเกร็ด ผู้อำนวยการกองกฎหมาย พล.ต.ต.อนันต์ นานาสมบัติ ผบก.ปคบ. และ พ.ต.อ.วริษฐ์ ปทุมารักษ์ ผกก.3 บก.ปคบ. พร้อมผู้บริหาร บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์ จำกัด เข้าร่วมพิธีทำลายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ที่บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์ จำกัด โรงไฟฟ้ามาบตาพุด อีโค่-เอ็นเนอร์ยี แพลนท์ ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง

 

ทำลายสินค้าไม่ได้มาตรฐานกองมหึมา มูลค่ากว่า 40 ล้านบาท

 

โดยมีผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม จำนวนหลายรายการ เช่น ท่อไอเสียรถจักรยานยนต์, หมวกกันน็อค, ของเล่น, หลอดแอลอีดี, ปลั๊กพ่วง, เพาเวอร์แบงค์, เตาย่างเตาปิ้ง, เตาไมโครเวฟ, หม้ออบลมร้อน, พัดลมไฟฟ้า, ลำโพงพร้อมเครื่องขยายเสียง, เตารีด, ไดร์เป่าผม, ฝักบัวอาบน้ำ, ก๊อกน้ำ เป็นต้น จำนวนรวมกว่า 1 ล้านชิ้น มูลค่ารวมกว่า 40 ล้านบาท

สำหรับกระบวนการทำลาย ได้ร่วมกับบริษัท เอสซีจี ซิเมนต์ จำกัด โรงไฟฟ้ามาบตาพุด อีโค่-เอ็นเนอร์ยี แพลนท์ ซึ่งเป็นโรงกำจัดกากอุตสาหกรรมและหน่วยผลิตไฟฟ้า ที่สามารถรองรับขยะอุตสาหกรรมได้หลากหลายประเภท และหลายขนาด ทั้งที่เป็นอันตรายและไม่เป็นอันตราย โดยกระบวนการดำเนินงานทุกขั้นตอนเป็นแบบระบบปิด มีระบบ การควบคุมมลพิษ และของเสียตามมาตรฐานสากล ตั้งแต่การรับขยะอุตสาหกรรมจากผู้ประกอบการ การขนส่งไปยัง จุดคัดแยกประเภทเพื่อเตรียมกำจัด การเข้าสู่กระบวนการกำจัดด้วยเทคโนโลยีแก๊สซิฟิเคชั่น ร่วมกับแอชเมลติ้ง (Gasification with Ash Melting) ซึ่งเศษวัสดุที่ได้จากการเผาไหม้ เช่น อะลูมิเนียม เหล็ก เถ้าลอย ยังนำกลับไปใช้ใหม่ ได้ ส่วนวัสดุเผาไหม้ไม่ได้ (Incombustible) สามารถนำไปใช้เป็นวัตถุดิบแทนการก่อสร้างถนนได้ โดยกระบวนการนี้ ทำให้ไม่เหลือขยะอุตสาหกรรมที่ต้องกำจัดเพิ่ม นอกจากวัสดุที่เป็นผลพลอยได้ ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์อื่นๆ ได้อีก ตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน

ทำลายสินค้าไม่ได้มาตรฐานกองมหึมา มูลค่ากว่า 40 ล้านบาท

โดย สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) และ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิด เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) ได้ฝากประชาสัมพันธ์ถึงผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า ภายในครัวเรือน ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าที่บังคับให้เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (ต้องมี มอก.) ควรเลือกซื้อสินค้าที่มีคุณภาพ และมีเครื่องหมาย มอก.

 

ทำลายสินค้าไม่ได้มาตรฐานกองมหึมา มูลค่ากว่า 40 ล้านบาท

โดยผู้บริโภคสามารถตรวจสอบว่าผลิตภัณฑ์ประเภท ใดบ้างที่ต้องได้รับอนุญาตให้มี มอก. ได้จากคู่มือผู้ซื้อภายในเว็ปไซต์ของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม (สมอ.) www.tisi.go.th และหากประชาชนผู้บริโภคพบเห็นหรือมีเบาะแสเกี่ยวกับการนำเข้า ผลิต กักเก็บ หรือลักลอบจาหน่ายสินค้าไม่มี มอก. สามารถแจ้งเบาะแสหรือข้อมูลผ่านทางสายด่วน บก.ปคบ. หมายเลข 1135 หรือ ทางหน้าเพจ facebook : กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค