- 31 มี.ค. 2565
ศบค. สุรินทร์ เลื่อนการขอประกาศให้ โควิด เป็นโรคประจำถิ่น เฝ้าระวังช่วงสงกรานต์ อัตราครองเตียงผู้ป่วยหนักยังสูง
ศบค. สุรินทร์ แผนล่ม ลงมติ เลื่อนประกาศ โควิด เป็นโรคประจำถิ่น พนันเลยว่า โควิด 19 ยังถือว่าเป็นโรคระบาดที่ทำหลายคนขยาดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งข้อมูลล่าสุดถึงยอดผู้ป่วยโควิดวันนี้ระบุว่า 27,560 ราย เสียชีวิตอีก 85 ราย ซึ่งตัวเลขชุดนี้ยังไม่รวมกับผู้ที่ตรวจหาเชื้อด้วย ATK ซึ่งการตรวจหาเชื้อด้วย ATK พบว่ามีผู้ขึ้น 2 ขีดเบื้องต้น 16,079 ราย โดยก่อนหน้านี้ จ.สุรินทร์ ประกาศจะเป็นจังหวัดแรกที่จะปรับโควิดเป็นโรคประจำถิ่น ในวันที่ 1 เม.ย. 2565
ล่าสุดมีรายงานว่า หลังจากที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ ได้มีการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสุรินทร์ครั้งที่ 13/2565 เพื่อติดตามสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งมีนายเสริมศักดิ์ สีสันต์ รอง ผวจ.สุรินทร์ เป็นประธานการประชุม ร่วมกับ นายแพทย์สินชัย ตันติรัตนานนท์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ พร้อมด้วยนายแพทย์วุฒิชัย แป้นทอง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีณรงค์
ได้นำเสนอสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ผลการดำเนินงานฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยที่ประชุมมีมติให้เลื่อนการประกาศโรคโควิด เป็นโรคประจำถิ่นออกไปเป็นหลังเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งมีคณะกรรมการโรคติดต่อ จ.สุรินทร์ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม 30 คน สุรินทร์เลื่อนประกาศเป็นโรคประจำถิ่น
โดยที่ประชุมมีมติให้เลื่อน การส่งเรื่องขอประกาศให้โรค COVID-19 เป็นโรคประจำถิ่นไปก่อน โดยให้เฝ้าระวังช่วงสงกรานต์ก่อน เนื่องจากอัตราครองเตียงผู้ป่วยหนักยังสูง 8% (ต้องไม่เกิน 3%) อัตราการฉีดวัคซีน 608 ยังไม่ถึง 80% อัตราผู้ป่วยยังมีแนวโน้มสูงขึ้น ยังไม่เข้าระยะคงที่หรือลดลง จึงมีมติให้เลื่อนการประกาศให้โรค COVID-19 เป็นโรคประจำถิ่นออกไปก่อน
อย่างไรก็ตาม ทางจังหวัดสุรินทร์เป็นเพียงผู้เสนอ แต่ผู้ที่อนุมัติ คือ ศบค.ส่วนกลาง ว่าเราผ่านเกณฑ์การพิจารณา ทั้ง 13 ข้อหรือไม่ ถ้าไม่ผ่านก็ไม่อนุมัติให้เป็นโรคประจำถิ่น ซึ่งต้องติดตามประเมินสถานการณ์ช่วงสงกรานต์อีก