หมอยง เตือนเด็กกลุ่มไหนน่าห่วง ติดเชื้อโควิดอาการรุนแรง เสี่ยงเสียชีวิต

หมอยง เตือนเด็กเป็นผู้ขยายกระจายเชื้อได้ดี กลุ่มไหนน่าห่วงติดเชื้อโควิดอาการรุนแรง เสี่ยงเสียชีวิต พร้อมแนะบ้าน-โรงเรียนดูแลเด็กทุกชั้นอย่างไร

เมื่อวันที่ 23 เม.ย. 65 หมอยง หรือ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาโพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว Yong Poovorawan ในประเด็นโควิด-19 การเปิดเรียน โดยได้ระบุข้อความว่า

 

หมอยง เตือนเด็กกลุ่มไหนน่าห่วง ติดเชื้อโควิดอาการรุนแรง เสี่ยงเสียชีวิต

"ใกล้เปิดเทอมแล้ว เด็กต้องไปโรงเรียน หยุดมา 2 ปีแล้ว เรียนทางไกล สิงคโปร์ ปีที่แล้วไม่หยุดเรียน ผู้ปกครองอดห่วงไม่ได้ การระบาดโรคทางเดินหายใจ จะเป็นช่วงเปิดเทอมฤดูฝน มิถุนายน ถึงกันยายน ทุกปี ถ้าเปิดเรียนปกติ โรคทางเดินหายใจ ไข้หวัดใหญ่ ไข้โควิด จะพบเพิ่มขึ้น เด็กเป็นผู้ขยายกระจายเชื้อได้ดี เราต้องช่วยกัน มีความพร้อมทั้งตัวนักเรียน ทางบ้าน และโรงเรียน


เด็กนักเรียน

โรคโควิด-19 ในเด็กจะมีความรุนแรง และที่พบเสียชีวิตได้ ถึงแม้เป็นส่วนน้อยมากเมื่อเทียบกับผู้สูงอายุ ก็เป็นเรื่องสำคัญ ส่วนใหญ่พบในเด็กเล็กน้อยกว่า 5 ขวบ โดยเฉพาะ 2 ขวบปีแรก กลุ่มนี้ไม่มีวัคซีน ในบางประเทศเช่นจีน และอีกหลายประเทศ ให้วัคซีนเชื้อตายตั้งแต่อายุ 3 ขวบขึ้นไป ประเทศไทย อย.ยังไม่อนุมัติให้ในเด็กต่ำกว่า 6 ขวบ ถ้าวัคซีนลดความรุนแรงของโรคได้ น่าจะต้องมีการพิจารณา


เด็กอนุบาล

เป็นเรื่องยากมากในการดูแลทางด้านสุขอนามัย กำหนดระยะห่าง และหน้ากากอนามัย สำหรับเด็กเล็ก ในบางโอกาสก็ไม่เหมาะ จึงต้องช่วยกันโดยเฉพาะเด็กอนุบาลที่จะเปิดเทอม


เด็กประถม

ควรรับวัคซีนให้มากที่สุด เพื่อลดความรุนแรงของโรค เคร่งครัดในระเบียบวินัย เด็กป่วยต้องไม่ไปโรงเรียน มีการตรวจกรองสม่ำเสมอ เพื่อแยกผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อ ด้วยวิธีที่เหมาะสม การใช้ ATK ทั้งประเทศคงเป็นการยาก


เด็กมัธยม

บางโรงเรียน นักเรียนต้องมีการจัดการเป็นรูปธรรม ให้เปิดโรงเรียนได้ โดยเฉพาะโรงเรียนที่มีขนาดใหญ่ และมีนักเรียนต่อห้องจำนวนมาก

 

หมอยง เตือนเด็กกลุ่มไหนน่าห่วง ติดเชื้อโควิดอาการรุนแรง เสี่ยงเสียชีวิต

ทางบ้าน

เด็กมีโอกาสนำเชื้อจากบ้านไปสู่โรงเรียน หรือจากโรงเรียนกลับมาอยู่บ้าน คนในบ้านโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ผู้สูงอายุ ควรได้รับวัคซีนอย่างน้อย 3 เข็ม เพื่อลดความรุนแรงของโรค เพราะมีโอกาสที่จะติดต่อกันในครอบครัว


ด้านโรงเรียน

ต้องมีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจน เป็นที่ยอมรับของทุกคน และปฏิบัติได้ ตรวจกรองเด็กป่วยทุกวัน เด็กป่วยต้องไม่ไปโรงเรียนเพื่อลดการสัมผัสกับนักเรียนอื่น การกักตัวนักเรียนเสี่ยงสูง ในการให้หยุดเรียน มีมาตรการชัดเจน เพื่อลดการระบาดในโรงเรียน เคร่งครัดสุขอนามัย กำหนดระยะห่าง ลดการสัมผัสโรค ใส่หน้ากากอนามัย


สถานที่เรียน

ควรโปร่ง อากาศถ่ายเทดี ในชนบทไม่มีปัญหาอยู่แล้ว ถ้าห้องแอร์ ต้องมีการระบายอากาศ เปิดหน้าต่างเป็นครั้งคราว หรือเปิดไว้เล็กน้อยเพื่อให้อากาศถ่ายเท ดูแลเรื่องความสะอาด มีสถานที่ล้างมืออย่างเพียงพอ


ทุกคนต้องร่วมมือกัน เพื่อการศึกษาไทยได้เดินไปข้างหน้า เราเสียเวลามา 2 ปี มากพอแล้ว"