- 13 มิ.ย. 2565
"อ.เจษฎ์" ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความชี้แจงคลิป พระอาทิตย์ขึ้น 4 ดวง
"อ.เจษฎ์" ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาโพสต์ข้อความ ถามปรากฎการณ์นี้คืออะไรครับ เกิดวงแหวนและเหมือนมีดวงอาทิตย์4 ดวงเลย ต่างดาวบุกโลกหรือเปล่าเนี้ย!!!
อันนี้เรียก ปรากฏการณ์ Sun Dog หรือ สุนัขของพระอาทิตย์ ครับ ... เป็นปราฏการณ์ธรรมชาติที่เห็นได้เรื่อยๆ ในวันที่เมฆชนิดที่มีเกล็ดน้ำแข็งปะปนอยู่เยอะ จึงทำให้แสงอาทิตย์สะท้อนเป็นวงกลม เหมือนพระอาทิตย์ทรงกลด พระจันทร์ทรงกลด ครับ
เอาความรู้เรื่อง ปรากฏการณ์ซันด็อก (Sun Dog) จากเพจ Sci Math มาให้อ่านกันนะครับ (https://www.scimath.org/article-physics/item/7826-3)
(บทความ) ปรากฏการณ์อาทิตย์ 3 ดวง
โดย : ณัฐดนัย เนียมทอง
เมื่อปลายปีที่ผ่านมา (ธันวาคม 2560) พบภาพข่าวการเกิดปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ 3 ดวง ในสวีเดน ทำให้อยากจะนำเสนอเรื่องปรากฏการณ์นี้ให้ทุกคนได้อ่านกัน
ปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ 3 ดวง ไม่ใช่เรื่องใหม่หรือตื่นเต้นอะไร เพราะจริง ๆ ก็เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้บ่อย เช่นตอนที่เราอยู่บนเครื่องบิน ในขณะที่เครื่องบินกำลังทะยานอยู่ในท้องฟ้า ซึ่งเรามักได้ยินชื่อเรียกสั้น ๆ ของปรากฏการณ์นี้ว่า ปรากฏการณ์ซันด็อก (Sun Dog) ด้วยเหตุผลที่ว่าลักษณะแถบแสงที่เกิดขึ้นทั้งทางซ้ายและขวา ราวกับเป็นสุนัขข้างกายเจ้านายไม่หนีห่าง บ้างก็เรียกว่าดวงอาทิตย์จำลอง มีชื่อทางการว่า พาร์ฮีเลีย (Parhelia)
#ปรากฏการณ์ซันด็อก (Sun Dog) เกิดขึ้นได้อย่างไร
นักวิชาการด้านดาราศาสตร์ให้ข้อมูลว่า ปรากฏการณ์ซันด็อกนี้ไม่ใช่ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ แต่เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในชั้นบรรยากาศโลกเพียงเท่านั้น
ปรากฏการณ์ซันด็อก (Sun Dog) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติตามหลักการของการหักเหของแสงอาทิตย์ ผ่านผลึกน้ำแข็งรูปแผ่นหกเหลี่ยมในกลุ่มก้อนของเมฆ ซึ่งมักอยู่ในกลุ่มเมฆชั้นสูงที่เรียกว่า “เซอร์รัส” (Cirrus) ผลึกน้ำแข็งหกเหลี่ยมที่ว่า จะมีด้านกว้างขนานกับแนวระดับ โดยมีความสูงจากพื้นดินราว 10 กิโลเมตร
เมื่อแสงทำมุมกับผลึกน้ำแข็งของเมฆที่ 22 องศา โดยเมื่อแสงอาทิตย์สะท้อนก็จะทำให้เกิดการสะท้อนเป็นคู่ในแนวระนาบขนานกับพื้นดิน แต่ดวงที่เป็นดวงสะท้อนจะมีลักษณะบิดเบี้ยวเป็นแค่กลุ่มก้อน มีแสงสีแดงไล่ไปจนถึงสีส้มจาง ๆ
#เกิดขึ้นในช่วงไหน
ซันด็อก (Sun Dog) มักเกิดในช่วงดวงอาทิตย์ใกล้ขอบฟ้า นั่นก็คือช่วงพระอาทิตย์ขึ้นกับพระอาทิตย์ตก และพบมากในฤดูหนาว ส่วนใหญ่จะมีรายงานข่าวพบในต่างประเทศโซนประเทศที่มีภูมิอากาศเย็น มากกว่าประเทศไทย
จากข้อมูลดังกล่าว จะเห็นเป็นสำคัญได้ว่า ตัวแปรสำคัญนั่นคือลักษณะของแสงหรือลักษณะการหักเหของแสงที่ส่องเข้าไปยังผลึกน้ำแข็ง
ซึ่งจริง ๆ แล้ว ในทางวิทยาศาสตร์ให้ข้อมูลเกี่ยวกับแสงนี้ว่า เป็นแสงกลุ่มเดียวกับที่เกิดปรากฏการณ์พระอาทิตย์ทรงกลด เพราะแสงจากดวงอาทิตย์อาจมีลักษณะการหักเหในรูปแบบที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจทำให้เกิดรูปทรงกลดแบบอื่น ๆ เช่น เส้นโค้งเซอร์คัมชีนิคัล ที่เกิดจากการหักเหภายในผลึกรูปแผ่นทะลุออกทางผิวด้านข้าง ซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นโค้งหงายขึ้นสีรุ้งอยู่เหนือดวงอาทิตย์ และอีกหลายรูปแบบที่อาจพบได้ เช่น เส้นโค้งเซอร์คัมฮร์ไรซัน วงกลมพาร์ฮีลิก พิลลาร์ ซับซัน ซับพาร์ฮีเลีย และเส้นโค้งโลวิตซ์
สามารถอ่านจากเอกสารเพิ่มเติมได้ที่ บทความ "อาทิตย์ทรงกลด ใครว่ามีแค่วงกลมทิตย์ทรงกลด ใครว่ามีแค่วงกลม" (https://www2.mtec.or.th/.../admin/upload/252_61-80.pdf)