เช็ก 7 อาการเบื้องต้นโควิดลงปอด ผู้ป่วยกลุ่มไหนเสี่ยงอักเสบรุนแรงที่สุด

เช็ก 7 อาการเบื้องต้นโควิดลงปอด ผู้ป่วยกลุ่มไหนเสี่ยงเกิดปอดอักเสบรุนแรงมากที่สุด ต้องได้รับการรักษาด่วน

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ภายหลังจากที่ประเทศไทยพบผู้ป่วยโควิดติดเชื้อโอมิครอน หรือ โอไมครอน (Omicron) สายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 หลายรายต่อเนื่องก่อนนี้ ทำให้เกิดความกังวลว่าจะมีการระบาดรุนแรงภายในประเทศอีกหรือไม่ ขณะเดียวกันองค์กรอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศให้สายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 เป็นสายพันธุ์ย่อยที่ต้องเฝ้าระวัง (VOC) และคาดว่าจะกลายเป็นสายพันธุ์หลักของการแพร่ระบาดทั่วโลก

 

เช็ก 7 อาการเบื้องต้นโควิดลงปอด ผู้ป่วยกลุ่มไหนเสี่ยงอักเสบรุนแรงมากที่สุด


อันตรายของโควิดอยู่ตรงที่เชื้อไวรัสนี้มีโอกาสลงปอดได้ ฉะนั้นจึงต้องสังเกตอาการป่วยของตัวเอง เพื่อเข้ารับการรักษาโดยเร็ว ทำให้หลายคนสงสัยว่าโควิดลงปอดภายในกี่วัน ซึ่งระยะของการเกิดภาวะปอดอักเสบจากโควิด จะแบ่งออกเป็น 2 ระยะดังต่อไปนี้ 

- ปอดอักเสบระยะแรก : ช่วง 1-5 วัน อาการยังไม่รุนแรงมาก ผู้ป่วยอาจเริ่มมีอาการไอ

- ปอดอักเสบระยะที่สอง : ช่วง 10-15 วัน หากมีอาการรุนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการไอถี่ หอบเหนื่อย หายใจไม่ทัน หายใจไม่สะดวก

สัญญาณเตือนของอาการปอดอักเสบ

- มีไข้ติดต่อกัน 48 ชั่วโมง

- ไอ

- มีเสมหะ

- อาจมีอาการหอบเหนื่อย

- รู้สึกหายใจต้องใช้แรงมาก

- ทำกิจวัตรประจำวันที่ปกติไม่เหนื่อย แต่ตอนนี้ทำอะไรนิดหน่อยเหนื่อยกว่าเก่า


วิธีสังเกตอาการเบื้องต้นว่าเชื้อโควิดลงปอดหรือยัง

- มีอาการไข้มากกว่า 5 องศาเซลเซียส

- มีอาการไอ ทั้งไอแห้ง หรือไอแบบมีเสมหะ ถือเป็นสัญญาณสำคัญที่บอกว่าปอดเริ่มอักเสบ

- หายใจลำบาก

- รู้สึกเหนื่อย หรือหอบ

- เหนื่อยง่ายขึ้น การเดินขึ้นลงบันได้ หรือออกกำลังกายเล็กน้อย จากปกติไม่เหนื่อย ก็อาจจะเหนื่อยได้

- รู้สึกหายใจไม่เต็มปอด แน่นหน้าอก

- สำหรับผู้ที่มีเครื่องวัดออกซิเจน บุคคลปกติจะมีค่าออกซิเจนอยู่ที่ประมาณ 97-100% หากใครมีออกซิเจนต่ำอยู่ที่ 94% หรือต่ำกว่านั้น จะเป็นสัญญาณว่าเชื้อโควิดลงปอดแล้ว


กลุ่มเสี่ยงปอดอักเสบรุนแรงจากการติดเชื้อโควิด-19


กลุ่มที่หากได้รับเชื้อโควิด-19 และมีความเสี่ยงที่ปอดอักเสบรุนแรง เนื่องจากแต่เดิมปอดทำงานไม่มีประสิทธิภาพอยู่แล้ว ได้แก่


- ผู้สูงอายุ เนื่องจากอายุที่มากขึ้นอวัยวะภายในร่างกายจะเริ่มเสื่อมสภาพลงตามไปด้วย

- ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคเกี่ยวกับปอดเรื้อรัง ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายโรค เช่น โรคถุงลมโป่งพอง, หอบหืด, หรือมะเร็งปอด เป็นต้น

- ผู้ที่มีภาวะโรคอ้วน หรือน้ำหนักเกินกว่ามาตรฐาน ระดับดัชนีมวลกาย (Body mass index) หรือ BMI ตั้งแต่ 25 ขึ้นไป

- ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง ที่เพิ่มความเสี่ยงปอดอักเสบ เช่น โรคตับ, ความดันโลหิตสูง, ไตวายเรื้อรัง, โรคเบาหวาน, โรคหัวใจ และมะเร็ง เป็นต้น

 

เช็ก 7 อาการเบื้องต้นโควิดลงปอด ผู้ป่วยกลุ่มไหนเสี่ยงอักเสบรุนแรงมากที่สุด

การปฎิบัติตัวหากเชื้อโควิดลงปอด

- จัดท่านอนให้ปอดทำงานได้ดีขึ้น กอดหมอน นอนคว่ำ เนื่องจากว่าหากนอนหงายปอด 2 ใน 3 อยู่ทางด้านหลัง ทำให้น้ำหนักตัวกับน้ำหนักของหัวใจไปกดบริเวณปอด ทำให้ปอดทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ การนอนคว่ำจะทำให้ปอด 2 ใน 3 ที่อยู่ด้านหลังไม่มีการกดทับ ปอดทำงานได้ดีขึ้น ปริมาณออกซิเจนในร่างกายก็จะสูงขึ้น

- ท่านอนให้กอดหมอนไว้ที่หน้าอก แล้วนอนคว่ำ โดยให้หน้าตะแคงไปด้านใดด้านหนึ่ง

- ถ้านอนคว่ำไม่ได้ นอนตะแคง กึ่งคว่ำ หรือเฉียงตัวประมาณ 45 องศา

- หญิงตั้งครรภ์ แนะนำให้นอนโดยตะแคงด้านซ้ายลง และเฉียงตัวประมาณ 45 องศา เพื่อช่วยให้ปอดทำงานได้ดีขึ้น

- ขยับขาบ่อย ๆ เพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือด เช่น งอเข่าเข้าออก หรือเหยียดปลายเท้าแล้วดึงเข้าหาตัว ให้เกิดการเคลื่อนไหวบริเวณกล้ามเนื้อส่วนน่องและส่วนขา ทำซ้ำ ๆ บ่อย ๆ จะช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ช่วยป้องกันการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน

- ดื่มน้ำมากๆ ประมาณ 2 ลิตรต่อวัน เพื่อให้ร่างกายได้รับน้ำเพียงพอ เลือดไม่ข้น หรือหนืด โอกาสที่จะเกิดลิ่มเลือดก็จะลดลง และช่วยให้ไม่รู้สึกเพลียหรือมีอาการหน้ามืด แต่อย่าทานน้ำมากจนเกินไป เพราะจะทำให้เกลือแร่ในร่างกายเจือจาง ถ้าทานอาหารไม่ได้ควรดื่มน้ำเกลือแร่

- หากมียาที่ต้องทานประจำ แนะนำให้ทานยาให้ต่อเนื่อง อย่าหยุดยาเอง หากไม่มีความจำเป็นป้องกันการกำเริบของโรคประจำตัวที่มีอยู่ สำหรับยาที่อาจจะต้องพิจารณาเป็นพิเศษ หรือควรปรึกษาบุคลากรทางการแพทย์ก่อนการปรับหรือหยุดยา ประกอบไปด้วย ยาขับปัสสาวะ ยาลดความดันโลหิตสูง ยาโรคเบาหวาน

 

ขอบคุณข้อมูล รพ.วิชัยเวชฯ หนองแขม

ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ Thainewsonline