- 12 ส.ค. 2565
"หมอธีระ" รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกมาแนะนำ การใช้ ATK (Rapid antigen test) ให้ระวังเรื่อง"ผลลบปลอม"
"หมอธีระ" รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ ระบุว่า
การใช้ ATK (Rapid antigen test)
US FDA ออกประกาศเตือนประชาชนล่าสุด 11 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา
ให้ระวังเรื่อง"ผลลบปลอม"
กล่าวคือ ชุดตรวจเองที่บ้านนั้นมักมีปัญหาเรื่องความไว ทำให้เกิดผลลบปลอมได้สูง แปลว่า ติดเชื้อแต่ตรวจได้ผลลบ ทำให้คนเข้าใจผิดคิดว่าตัวเองไม่ติดเชื้อ และมีโอกาสที่จะประมาท ใช้ชีวิตไม่ป้องกันตัว และแพร่ให้คนใกล้ชิดและชุมชนได้
คำแนะนำที่ทาง US FDA แนะนำคือ
หากตรวจแล้วได้ผลบวก มักจะบ่งถึงการติดเชื้อจริง
สำหรับ"คนที่มีประวัติสัมผัสหรือสงสัยว่าจะติดเชื้อ แต่ยังไม่มีอาการ" หากตรวจ ATK แล้วได้ผลลบในครั้งแรก อย่าชะล่าใจ ควรตรวจซ้ำในอีก 48 ชั่วโมง และแม้จะยังได้ผลลบอีกครั้ง ก็ควรตรวจซ้ำเป็นครั้งที่สามในอีก 48 ชั่วโมงถัดมา
ส่วน"คนที่มีอาการป่วย" สงสัยว่าจะเป็นโควิด-19 หากตรวจ ATK แล้วได้ผลลบในครั้งแรก อย่าชะล่าใจ ควรตรวจซ้ำในอีก 48 ชั่วโมง แต่หากได้ผลลบอีกครั้งและยังมีความกังวล ควรตรวจซ้ำเป็นครั้งที่สามในอีก 48 ชั่วโมงถัดมาด้วย ATK หรือหาทางไปตรวจ RT-PCR หรือปรึกษาแพทย์
ถ้าครั้งใดที่ตรวจแล้วได้ผลบวก ก็แปลว่ามีโอกาสติดเชื้อจริง ควรปฏิบัติตัวตามข้อปฏิบัติสำหรับผู้ติดเชื้อ เช่น ไปทำการรักษา และแยกตัวจากคนอื่น
...คำแนะนำข้างต้นจาก US FDA นั้นสอดคล้องกับที่เคยเตือนไว้ตั้งแต่ปีก่อน ตอนช่วงต้นๆ ที่มีการนำ ATK มาใช้ในเมืองไทยยาวมาถึงปัจจุบันว่า ต้องระวังเรื่องผลลบปลอมให้ดี การตรวจซ้ำเป็นระยะๆ นั้นมีความสำคัญมาก
อ้างอิง
At-Home COVID-19 Antigen Tests-Take Steps to Reduce Your Risk of False Negative: FDA Safety Communication. US FDA. 11 August 2022.