เจอแล้วรายแรกในไทย ติด โอไมครอน BA.2.75.2 เผยเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุด

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เฝ้าติดตามโควิด-19 “เจเนอเรชัน 3” โอไมครอน“BA.2.75.2” พบแล้วในไทย 1 ราย

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ออกมาโพสต์ข้อความระบุ 

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯ เฝ้าติดตามโควิด-19เจเนอเรชัน 3

โอไมครอนBA.2.75.2” พบแล้วในไทย 1 ราย

เตรียมพร้อมการตรวจกรองรับมือการแพร่ระบาดระลอกใหม่ของโอไมครอนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

 

เจอแล้วรายแรกในไทย ติด โอไมครอน BA.2.75.2 เผยเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุด

สถาบันจีโนมประเทศอินเดีย (India's genome sequencing agency, INSACOG) แถลงเตือนว่าโอไมครอน BA.2.75 ซึ่งเริ่มพบระบาดในอินเดียมาตั้งแต่เดือน พฤษภาคม 2565 คิดเป็นร้อยละ 82.9 ของผู้ติดเชื้อรายใหม่ ฺBA.2.75 มีชื่ออย่างไม่เป็นทางการที่ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านไม่ยอมรับคือ “เซนทอรัส (Centaurus) หรือมนุษย์ครึ่งคนครึ่งม้าในเทพนิยายกรีก” อันมีนัยถึงการกลายพันธุ์ไปมากที่สุดเมื่อเทียบกับไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์อื่นที่เคยมีการระบาดมาก่อนหน้า ขณะนี้พบว่าโอไมครอน BA.2.75 ได้มีการกลายพันธุ์ต่อเนื่องไปอย่างไม่หยุดยั้ง หนึ่งในสายพันธุ์ย่อยที่กลายพันธุ์ไปคือ “BA.2.75.2” โดยมีชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า "เซนทอรัส 2.0" เนื่องจากเป็นลูกคนที่สองของ BA.2.75 (ลูกคนแรกคือ BA.2.75.1)

ผู้เชี่ยวชาญภูมิคุ้มกันวิทยาจากมหาวิทยาลัยปักกิ่งได้ทวีตว่าโอไมครอน BA.2.75.2 เป็นสายพันธุ์ที่หลีกเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุดในปัจจุบัน อาจก่อให้เกิดการแพร่เชื่อได้มากขึ้นไปอีกในอนาคต เป็น "The Super Contagious Omicron Subvariant"

โอไมครอน BA.2.75 กลายพันธุ์มาจาก BA.2 ถือได้ว่าเป็นเจเนอเรชัน 2 ( 2nd generation) โดยมีการกลายพันธุ์ต่างจากไวรัสดั้งเดิม (อู่ฮั่น) 95-100 ตำแหน่ง มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) ประมาณ 37% เมื่อเปรียบเทียบกับสายพันธุ์อื่นที่ระบาดอยู่ในอินเดียในปัจจุบัน (ภาพ1,2)

 

โอไมครอน BA.2.75.2 กลายพันธุ์มาจาก BA.2.75 ถือได้ว่าเป็นเจเนอเรชัน 3 ( 3rd generation) โดยมีการกลายพันธุ์ต่างจากไวรัสดั้งเดิม (อู่ฮั่น) 95 -100 ตำแหน่งเช่นกันแต่มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) ถึง 248% เมื่อเปรียบเทียบกับ BA.2.75 ที่ระบาดอยู่ในอินเดียขณะนี้ (ภาพ1,3) พบการระบาดครั้งแรกในประเทศอินเดีย และแพร่ไปยังประเทศ ชิลี อังกฤษ สิงคโปร์ สเปน เยอรมนี และ ประเทศไทย

โอไมครอน BA.2.75.2 มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) ถึง 90% เมื่อเปรียบเทียบกับ BA.5 (ภาพ 6) และ 148% เมื่อเปรียบเทียบกับ BA.4 ที่ระบาดอยู่ทั่วโลก (ภาพ 7)

โอไมครอน BA.2.75.2 มีการกลายพันธุ์บริเวณส่วนหนาม 3 ตำแหน่งที่ต่างไปจากโอไมครอน BA.2 และ BA.2.75 คือ S:R346T, S:F486S, S:D1199N (ภาพ 4) สามารถใช้เป็นตำแหน่งตรวจกรองด้วยการถอดรหัสพันธุกรรม หรือการตรวจด้วย PCR

จากการสืบค้นจากฐานข้อมูลรหัสพันธุกรรมโควิดโลก “GISAID” พบ “โอไมครอน BA.2.75.2 จากประเทศไทยที่อัปโหลดขึ้นมาบน GISAID เพียงรายเดียว” ยังไม่สามารถคำนวณความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) เปรียบเทียบกับโอไมครอน BA.4 และ BA.5 ที่ระบาดในประเทศไทยได้เพราะจำนวนตัวอย่าง BA.2.75.2 ในประเทศไม่มากพอ (ภาพ5)

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯ มีความจำเป็นที่จะต้องแยกโอไมครอนสายพันธุ์ต่างๆออกจากกันให้ได้อย่างรวดเร็ว ภายใน 24-48 ชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็น BA.2, BA.4, BA.4.6, BA.5, BA.2.12.1, BA.2.75, BA.2.75.2 ฯลฯ เพราะการรักษาโควิด-19 เริ่มมีลักษณะมุ่งเป้า (precision medicine) มากขึ้นเป็นลำดับ ต่างจากการรักษาในช่วงต้นของการระบาดในปี 2019 ซึ่งผู้ป่วยทุกรายรักษาเหมือนกัน (One-size-fits-all) เนื่องจากปัจจุบันพบว่าเวชภัณฑ์ อาทิ วัคซีน (เข็มหลัก และ เข็มกระตุ้น) ยาต้านไวรัส และ แอนติบอดีสังเคราะห์ หลายประเภทมีประสิทธิภาพในการป้องกันหรือรักษาไวรัสโคโรนา 2019 แต่ละสายพันธุ์ ที่แตกต่างกัน

เจอแล้วรายแรกในไทย ติด โอไมครอน BA.2.75.2 เผยเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุด

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมที่ thainewsonline