- 11 พ.ย. 2565
งานวิจัยชี้ "มลพิษทางอากาศ" ปลุกความเสียหายในเซลล์ได้ หลัง"หมอหนุ่ม"ป่วยมะเร็งปอดระยะสุดท้าย แม้ไม่สูบบุหรี่
จากกรณีหมอหนุ่มซึ่งกำลังเป็นกระแสพูดถึงในโลกออนไลน์ เชื่อว่าในปัจจุบันคงมีหลายๆ คนสงสัยบ้างแล้วว่า ทำไมคนออกกำลังไม่สูบบุหรี่เช่นนี้จึงเป็นโรคร้ายแบบนี้ได้ และมันจะเป็นไปได้ไหมที่มลภาวะจะเป็นสิ่งที่ทำให้คนสุขภาพดีเป็นมะเร็ง สำหรับคำถามนี้ ที่ผ่านมาเราก็มีการยืนยันจากองค์กรอนามัยโลกแล้วว่า
มลภาวะทางอากาศสามารถทำให้เกิด โรคมะเร็งในปอดได้จริงๆ แม้จะไม่เท่าการสูบบุหรี่ก็ตาม (ราวๆ 1 ใน 10) อ้างอิงจากงานวิจัยของสถาบันวิจัยฟรานซิสคริกในลอนดอน การเกิดมะเร็งในคนไม่สูบบุหรี่อาจเกิดขึ้นเพราะเซลล์บางส่วนของพวกเขามีความเสียหายในระดับ DNA ซ่อนอยู่เพียงแต่ไม่ออกอาการ
ปัญหาคือเมื่อ PM 2.5 เข้าไปสู่ร่างกาย จนทำให้ปอดมีอาการอักเสบ ร่างกายเราจะจำเป็นต้องกระตุ้นเซลล์เพื่อซ่อมแซมความเสียหายนี้ และเมื่อเซลล์ที่ DNA เสียหายอยู่แล้ว อาจถูกกระตุ้นบ่อยๆ เข้า ความเสียหายดังกล่าวจึงแสดงตัวจนทำให้เซลล์บางส่วนกลายสภาพเป็นเซลล์มะเร็งไปในที่สุดก็ได้
น่าเสียดายที่ในปัจจุบันมะเร็งรูปแบบที่มักพบในคนไม่สูบบุหรี่ (NSCLC) จะยังถือว่าเป็นหัวข้อที่มีการศึกษาไม่มากนัก กลไกการเกิดมะเร็งชนิดแบบนี้จึงยังเป็นสิ่งที่ไม่ชัดเจนนัก นี่เป็นการค้นพบที่นำมาทั้งข่าวดีและข่าวร้ายเลย นั่นเพราะในปัจจุบันคน 99% หายใจเอาระดับมลพิษทางอากาศสูงกว่าที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ
นี่จึงอาจจะหมายความว่าประชากรเกือบทั้งหมดในโลกล้วนแต่อาจเสียเป็นมะเร็งได้ แต่ในขณะเดียวกันการค้นพบนี้ก็อาจจะนำไปสู่แนวทางใหม่ที่เราจะใช้รักษาหรือป้องกันมะเร็งแบบ NSCLC ได้ในอนาคตเช่นกัน
ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ thainewsonline