ทำตามได้เลย เปิดวิธีสังเกตง่ายๆอาหารแช่ฟอร์มาลิน อ.อ๊อด แนะใช้ด่างทับทิม

กินอาหารปนเปื้อนฟอร์มาลิน อันตรายแค่ไหน?? เปิดวิธีสังเกตง่ายๆอาหารที่แช่ฟอร์มาลิน อ.อ๊อด แนะควรแช่ด้วยสารละลายด่างทับทิมเจือจาง


   หลังจากที่ กรมปศุสัตว์ ส่งเจ้าหน้าที่ด่านกักกันสัตว์ชลบุรี บุกตรวจสอบแหล่งลักลอบผลิตวัตถุดิบชิ้นส่วนเนื้อสัตว์แช่ในถังน้ำผสมฟอร์มาลินรายใหญ่ พร้อมยึดของกลางปริมาณน้ำหนักรวม 25,000 กิโลกรัม หรือ25ตัน มูลค่ากว่า 5 ล้านบาท ส่งขายร้านหมูกะทะและร้านอาหารอีสาน กว่า 66 แห่งในพื้นที่ใกล้เคียง   โดยสถานที่ผลิตตั้งอยู่ในพื้นที่ ต.บ่อวิน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 

ทำตามได้เลย เปิดวิธีสังเกตง่ายๆอาหารแช่ฟอร์มาลิน อ.อ๊อด แนะใช้ด่างทับทิม

ผลการเข้าตรวจสอบของเจ้าหน้าที่พบว่าสถานประกอบการดังกล่าว ไม่มีการขออนุญาตผลิตอาหาร ไม่มีเอกสารใบอนุญาตค้าซากสัตว์(ร.10) ไม่มีเอกสารเคลื่อนย้ายซากสัตว์(ร.3) และไม่มีเอกสารรับรองให้จำหน่ายเนื้อสัตว์(รน.) ซึ่งมีความผิดตามพระราชบัญญัติโรคระบาด พ.ศ.2558 พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ.2559 

ทำตามได้เลย เปิดวิธีสังเกตง่ายๆอาหารแช่ฟอร์มาลิน อ.อ๊อด แนะใช้ด่างทับทิม

อีกทั้งยังพบการผลิตวัตถุดิบชิ้นส่วนเครื่องในโค ชิ้นส่วนเครื่องในสุกร มีการใช้สารเคมีในกระบวนการผลิต ประกอบด้วย ฟอร์มาลีน โซดาไฟ และไฮโดรเจนเปอร์อ๊อกไซด์
พนักงานเจ้าหน้าที่จึงได้ทำการยึดอายัดของกลางชิ้นส่วนเนื้อและเครื่องในสุกรและโคที่อยู่ในสถานประกอบการและในตู้แช่เย็นคอนเทนเนอร์ จำนวนกว่า 25,000 กิโลกรัม นอกจากนี้ได้ยึดอายัดของกลางสารเคมีและแกนลอนบรรจุสารฟอร์มาลิน ขนาด 25 ลิตร จำนวนกว่า 50 แกนลอน รวมถึงได้ยึดใบเสร็จกว่า 2,300ใบ ที่มีหลักฐานการขายให้กับลูกค้าร้านหมูกะทะ และร้านอาหารอีสาน จำนวนกว่า 66 ราย

ทำตามได้เลย เปิดวิธีสังเกตง่ายๆอาหารแช่ฟอร์มาลิน อ.อ๊อด แนะใช้ด่างทับทิม


 และในส่วนของชิ้นส่วนสไบนาง ที่ผลิตแปรรูปนั้นแช่อยู่ในถังน้ำผสมสารฟอร์มาลิน พนักงานเจ้าหน้าที่จึงได้สั่งยึดอายัดไว้ และเก็บตัวอย่างเนื้อและเครื่องในสัตว์ นำส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ สำนักตรวจสอบคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ เพื่อตรวจหาเชื้อโรคปนเปื้อนที่เป็นอันตรายและตรวจหาสารเคมีตกค้าง (ฟอร์มาลิน) 

ทำตามได้เลย เปิดวิธีสังเกตง่ายๆอาหารแช่ฟอร์มาลิน อ.อ๊อด แนะใช้ด่างทับทิม

  เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว  อ.อ๊อด รองศาสตรจารย์วีรชัย พุทธวงศ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและกิจการเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ได้ออกมาเปิดวิธีสังเกตง่ายๆอาหารแช่ฟอร์มาลิน  เเละเรื่องของ กินอาหารปนเปื้อนฟอร์มาลิน อันตรายแค่ไหน

อาหารที่มักพบสารฟอร์มาลินปนเปื้อน ได้แก่อาหารทะเล เนื้อสัตว์ ผักสด และผลไม้ ซึ่งวิธีสังเกตง่ายๆ คือ 


-ถ้าเป็นเนื้อสัตว์ หากถูกแสงแดด หรือลมเป็นเวลานาน แล้วยังสดอยู่ก็ไม่ควรซื้อ 
-ถ้าเป็นอาหารทะเลที่เนื้อแข็งบางส่วน เปื่อยยุ่ยบางส่วน ไม่ควรซื้อ 
-ถ้ามีกลิ่นแสบจมูกแสดงว่ามีฟอร์มาลินปนเปื้อน 

ทำตามได้เลย เปิดวิธีสังเกตง่ายๆอาหารแช่ฟอร์มาลิน อ.อ๊อด แนะใช้ด่างทับทิม
-เมื่อซื้ออาหารมาแล้วควรแช่ด้วยสารละลายด่างทับทิมเจือจาง (ในอัตราส่วน ด่างทับทิมประมาณ 20 เกล็ด ผสมน้ำ 4 – 5 ลิตร) ประมาณ 5 – 10 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำ เพราะฟอร์มาลีนทำปฏิกิริยากับด่างทับทิมแล้วได้เกลือฟอร์เมตซึ่งละลายน้ำได้

ทำตามได้เลย เปิดวิธีสังเกตง่ายๆอาหารแช่ฟอร์มาลิน อ.อ๊อด แนะใช้ด่างทับทิม

​สำหรับในเรื่องของภัยอันตรายหากได้รับ สารฟอร์มาลีน

-​ระยะเฉียบพลัน อาจจะทำให้เกิดอาการแพ้ ซึ่งส่วนนี้อาจเป็นด้วยปัจจัยส่วนบุคคล รวมถึงสารเคมีที่ได้รับด้วย

-อาการระยะสั้น หากสูดเข้าไปจะมีผลต่อระบบหายใจ คือ แสบจมูก เจ็บคอ ไอ หายใจไม่ออก หากสูดดมในปริมาณมากอาจทำให้ปอดอักแสบ น้ำท่วมปอด และอาจเสียชีวิตได้

-ด้านผลต่อระบบผิวหนัง คือ ทำให้เกิดผื่นคัน จนถึงผิวหนังอาจไหม้ หรือเปลี่ยนเป็นสีขาวได้หากสัมผัสกับฟอร์มาลินโดยตรง

cr.Weerachai Phutdhawong

  
ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมที่ thainews